กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเก้าเลี้ยว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ขับขี่ปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเก้าเลี้ยว

ประชาชนตำบลเก้าเลี้ยว

ตำบลเก้าเลี้ยว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จากการวิเคราะห์สถานการณ์การเสียชีวิตในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ปี ๒๕๖๓ของศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ( ศวปถ.) พบว่าในช่วงเทศกาลวันสงกราต์ที่ผ่านมาถึงจะบังคับใช้กฎหมายเพิ่มขึ้น ๓๔.๓ %โดยจับกุมข้อหาขับรถเร็วเพิ่ม๑๓๕ % เมาแล้วขับเพิ่ม ๑๕.๑% แต่ผู้เสียชีวิ

 

10.00

จากการวิเคราะห์สถานการณ์การเสียชีวิตในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ปี ๒๕๖๓ของศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ( ศวปถ.) พบว่าในช่วงเทศกาลวันสงกราต์ที่ผ่านมาถึงจะบังคับใช้กฎหมายเพิ่มขึ้น ๓๔.๓ %โดยจับกุมข้อหาขับรถเร็วเพิ่ม๑๓๕ % เมาแล้วขับเพิ่ม ๑๕.๑% แต่ผู้เสียชีวิตยังอยู่ที่ ๔๖๓ คนส่วนวันเริ่มต้นวันสงกรานต์วันที่๑๓ เมษายน ๒๕๖๓มียอดผู้เสียชีวิตสูงสุด ๙๑ คนสาเหตุเกิดจากขับรถเร็ว ๓๘.๒ %เมาแล้วขับ ๒๙.๖ % โดยพบ ๕๓ % ของผู้เสียชีวิตมีแอลกอฮอล์เกินกฎหมายกำหนดอุบัติเหตุทางถนนถือเป็นปัญหาสำคัญที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงได้ให้ความสำคัญกับการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแบบองค์รวม พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนนควบคู่ไปกับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยกำหนดให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนเป็นนโยบายสำคัญที่ต้องขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องทั้งในช่วงปกติและช่วงเทศกาลสำคัญ ในส่วนของการขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่ ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ( ศวปถ.) ได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดได้จัดทำโครงการเสริมสร้าง “ตำบลขับขี่ ปลอดภัย” เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย กรอบแนวคิด ยุทธศาสตร์ มาตรการและแผนงานด้านความปลอดภัยทางถนนไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนน รวมถึงผู้ขับขี่ยานพาหนะ และประชาชนในพื้นที่ระดับตำบล มีความปลอดภัยในการสัญจร สามารถลดอุบัติเหตุทางถนนลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายให้พื้นที่ตำบลสามารถลดผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลงได้อย่างน้อย ๑ รายซึ่งจะช่วยทำให้ภาพรวมของประเทศมีสถิติการเสียชีวิตจากการใช้รถใช้ถนนลดลงได้อย่างเป็นรูปธรรม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ เห็นความสำคัญในการป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน 2. เพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุบนท้องถนน
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจป้ายเตือน สัญญาณจารจรเพิ่มมากขึ้น
  2. ลดจำนวนผู้ประสบอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลเปรียบเทียบกับปี ๒๕๖๓
10.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดอบรมให้ความรู้แก่เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการเป็นระยะเวลา ๑ วัน /2.กิจกรรมขับขี่รถจักรยานยนต์ เปิดไฟใส่หมวกนิรภัยตามระยะทางที่กำหนด ( ช่วงบ่าย )

ชื่อกิจกรรม
1. จัดอบรมให้ความรู้แก่เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการเป็นระยะเวลา ๑ วัน /2.กิจกรรมขับขี่รถจักรยานยนต์ เปิดไฟใส่หมวกนิรภัยตามระยะทางที่กำหนด ( ช่วงบ่าย )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดอบรมให้ความรู้แก่เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการเป็นระยะเวลา ๑ วัน
1.1 ค่าป้ายไวนิล ขนาด1*3 เมตร เป็นเงิน 500 บาท 1.2 ค่าวิทยากร ให้ความรู้ จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1800 บาท 1.3 ค่าอาหารกลางวันผู้อบรม จำนวน 100 คนๆละ 90 บาท เป็นเงิน 9000 บาท 1.4 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2500 บาท 2.กิจกรรมขับขี่รถจักรยานยนต์ เปิดไฟใส่หมวกนิรภัยตามระยะทางที่กำหนด (ช่วงบ่าย) 2.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายและป้ายเตือนบนท้องถนน ๒.ลดจำนวนผู้ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราการเกิดอุบัติทางถนนด้วยจักรยานยนต์น้อยกว่าร้อยละ 8


>