กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเก้าเลี้ยว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำตำบลเก้าเลี้ยว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเก้าเลี้ยว

เทศบาลตำบลเก้าเลี้ยว

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ตำบลเก้าเลี้ยว

ตำบลเก้าเลี้ยว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยเทศบาลตำบลเก้าเลี้ยว ได้ดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุข ในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสภาพสำหรับประชาชน ทุกคนมาอย่างต่อเนื่องและตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 ข้อ 10 (5) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ได้ ปัจจุบันปัญหาสาธารณภัย ภัยพิบัติเกิดขึ้นมากมายได้ทุกพื้นที่ของประเทศและของโลกยังพบว่าแนวโน้มการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำมีเพิ่มขึ้น เช่น อหิวาตกโรค ไข้เลือดออก ไทฟอยด์ มือเท้าปาก ฯลฯ ซึ่งจากข้อมูลจาก รพ.เก้าเลี้ยว โรคที่ต้องเฝ้าระวังทางด้านระบาดวิทยาตำบลเก้าเลี้ยว ได้แก่ ท้องเสีย ไข้เลือดออก ตาแดง ไข้หวัดใหญ่ มือเท้าปาก ปอดบวม อีสุกอีใสเป็นต้น ทั้งนี้สาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของตัวเชื้อโรค ภาวะโลกร้อนทำให้การแพร่ระบาดของโรคเป็นไปได้รวดเร็วและกว้างขวาง และยังพบปัญหาหมอกควันจากการเผาไร่อ้อย ซึ่งจะส่งผลกับประชาชนที่มีโรคทางเดินหายใจ หายใจไม่สะดวก และมีอาการแสบตาได้เพื่อให้การปฏิบัติงานสอดคล้องกับนโยบายด้านสาธารณสุข กองทุนหลักประกันสุขภาพ ชมรม.อสม.รพ.เก้าเลี้ยว ภายใต้การกำกับดูแลของ รพ.เก้าเลี้ยว ร่วมกับเทศบาลตำบลเก้าเลี้ยว ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพของประชาชน จึงได้ดำเนินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติฉุกเฉินในพื้นที่ เพื่อป้องกันควบคุมโรคไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้างและให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อลดผลกระทบจากการเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติต่าง ๆ ด้านสาธารณสุขในพื้นที่ สืบเนื่องจากปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ยังคงมีการแพร่ระบาดและจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกยังคงสูงขึ้นทุกวัน
ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุม สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุข(กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างในเขตพื้นที่ตำบลเก้าเลี้ยว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.1 เพื่อการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 1.2 เพื่อให้การช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานอื่น ๆ ในการดูแลสุขภาพประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติได้ทันสถานการณ์และทั่วถึง 1.3 เพื่อลดอัตราป่วย ภาวะแทรกซ้อนและผลกระทบจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ : สามารถควบคุมและป้องกันการเกิดโรคระบาดในพื้นที่ได้มากกว่าร้อยละ 80
ตัวชี้วัดความสำเร็จ : ร้อยละ 80 ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติได้รับช่วยเหลือ บรรเทาปัญหาความเดือดร้อน สนับสนุนการดำเนินงานอื่น ๆ ในการดูแลสุขภาพได้อย่างทันสถานการณ์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ : อัตราการป่วยด้วยโรคและภัยสุขภาพลดลง

10.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณที่ได้รับจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเก้าเลี้ยว จำนวน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) - ควบคุมและป้องกันการระบาดของโรค/ภัยพิบัติ เป็นเงิน 50,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น50,000.- บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายแต่ละรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อโรคระบาดได้
  2. ประชาชนในพื้นที่ตำบลเขาปู่ไม่ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากการเกิดโรคระบาด/โรคติดต่อ
  3. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อโรคระบาดได้
2. ประชาชนในพื้นที่ตำบลเขาปู่ไม่ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากการเกิดโรคระบาด/โรคติดต่อ
3. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ


>