กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันวัณโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเนียง

ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย องค์การอนามัยโลกจัดให้เป็น 1 ใน 14 ประเทศของ
โลกที่มีภาระวัณโรค วัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี และวัณโรคดื้อยาหลายขนานสูง จากรายงานองค์การอนามัยโลกปี 2559 คาดประมาณว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยวัณโรค 120,000 ราย ผู้ป่วยวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี 15,000 รายและผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน 4,500 ราย จากผลการดำเนินงานวัณโรคของประเทศไทยปี 2559 พบว่าผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรค 73,756 ราย โดยมีอัตราสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคร้อยละ 77.6 จำเป็นต้องเร่งรัดความสำเร็จการรักษาให้ได้ตามเป้าหมายที่ร้อยละ 90 โดยเร่งรัดลดการตายลดการขาดยา และพัฒนาระบบส่งต่อและติดตามผลการรักษา (สำนักวัณโรค กลุ่มยุทธศาสตร์และประเมินผล ปรับปรุงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2560) สำหรับสถานการณ์วัณโรคในเขตสุขภาพที่ 12 พบว่า อัตรารักษาวัณโรคสำเร็จ คิดเป็นร้อยละ 81.5 เสียชีวิตร้อยละ 5.2ปัจจุบันสถานการณ์โรควัณโรคในจังหวัดยะลา คาดประมาณจำนวนผู้ป่วยวัณโรค 1,242 ราย ขึ้นทะเบียนจำนวน 425 ราย คิดเป็นร้อยละ 51.6(ข้อมูล NTIP 22 สิงหาคม 2562)โดยพบว่ามีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี และยังไม่มีแนวโน้มลดลง สำหรับตำบลเปาะเส้ง ในปีงบประมาณ 2565 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ จำนวน 3 ราย รักษาหายจำนวน 3 รายไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนจึงเป็นการตัดวงจรการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคได้เป็นอย่างดีและยังทำให้ผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคได้รับการขึ้นทะเบียนรักษาด้วยยาวัณโรคอย่างถูกต้องและถูกวิธีตลอดการรักษาจนหายและใช้ชีวิตร่วมกับอื่นในชุมชนได้อย่างเป็นปกติสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเปาะเส้ง จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาวัณโรค ปี 2566 ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อสร้างความตระหนักของชุมชนในการควบคุมป้องกันวัณโรค อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
2.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง
3.เพื่อลดการติดต่อของโรคระหว่างผู้ป่วยกับผู้สัมผัสร่วมบ้าน
4.เพื่อลดอัตราป่วยของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา/จิตอาสา

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา/จิตอาสา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวันจำนวน40คน X 50 บาท X 1 มื้อเป็นเงิน 2,000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน40คน X 25 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บาท ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ตามที่จ่ายจริง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้แก่ผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรค

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่ผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน       จำนวน  40  คน X 50 บาท X 1 มื้อ      เป็นเงิน 2,000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน  40  คน X 25 บาท X 2 มื้อ      เป็นเงิน 2,000 บาท                     ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ตามที่จ่ายจริง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ชุมชนสามารถป้องกันการติดต่อของโรควัณโรคได้
2.การค้นหากลุ่มเสี่ยงวัณโรคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3.ลดการติดต่อของโรคระหว่างผู้ป่วยสัมผัสร่วมบ้าน
4.ลดอัตราป่วยของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่


>