กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะพานไม้แก่น

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลสะพานไม้แก่น ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะพานไม้แก่น

สำนักงานเลขานุการกองทุน

ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลสะพานไม้แก่น /โรงแรมในพื้นที่จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ (ปีที่ผ่านมา)

 

5.00

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เป็นหน่วยงานที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานสำคัญสำหรับการประสานภาคีเครือข่ายในพื้นที่ และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลสะพานไม้แก่น มุ่งเน้นการส่งเสริมให้ประชาชนในกลุ่มที่ต้องได้รับการบริการด้านสาธารณสุขเป็นกรณีพิเศษ อาทิ กลุ่มแม่และเด็ก กลุุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง รวมถึงกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง โดยปฏิบัติตามแนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น ที่กำหนดลักษณะกิจกรรมที่จะขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุน ได้เป็น 6 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ประเภทที่ 2 สนับสนุนกิจกรรมด้านากรสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชนในพื้นที่ ประเภทที่ 3 สนับสนุนกิจกรรมด้านการสาธารณสุขในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้สูงอายุและผู้พิการ ประเภทที่ 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ ประเภทที่ 5 สนับสนุนกรณีโรคระบาดหรือภัยพิบัติ และประเภทที่ 6 สนับสนุนการใช้เงินตามมติบอร์ด โดยกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลสะพานไม้แก่น ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ มาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มดำเนินการ

เพื่อให้การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลสะพานไม้แก่น ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อนำงบประมาณที่ได้รับมาบริหารจัดการกองทุนฯ จัดเตรียมวัสดุที่จำเป็นมาใช้ในการดำเนินงานของกองทุนฯต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะกรรมการกองทุน/คณะอนุกรรมการและคณะทำงาน 22
คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวฯ 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การประชุมคณะกรรมการกองทุน /คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน/เจ้าหน้าที่กองทุน

ชื่อกิจกรรม
การประชุมคณะกรรมการกองทุน /คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน/เจ้าหน้าที่กองทุน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.การประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลสะพานไม้แก่น 2.การประชุมคณะอนุกรรมการ LTC

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.การประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลสะพานไม้แก่นจำนวน 4 ครั้ง 2.การประชุมคณะอนุกรรมการ LTCจำนวน 1 ครั้ง ค่าใช้จ่ายประกอบด้วย 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม/อาหารกลางวันเป็นเงิน 5,000 บาท 2. ค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน/เจ้าหน้าที่กองทุนเป็นเงิน 30,000 บาท 3. ค่าวัสดุสำนักงานเป็นเงิน 6,835 บาท 4. ค่าจัดซื้อครุภัณฑ์ประจำสำนักงาน เป็นเงิน 3,000 บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
44835.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการอบรมจัดทำแผนสุขภาพชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการอบรมจัดทำแผนสุขภาพชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การจัดกิจกรรมอบรมการจัดทำแผนสุขภาพชุมชน และแผนการเงิน ประจำปีงบประมาณ 2567

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 สิงหาคม 2567 ถึง 27 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การจัดกิจกรรมอบรมการจัดทำแผนสุขภาพชุมชน และแผนการเงิน ประจำปีงบประมาณ 2567 จำนวน 1 ครั้ง
มีค่าใช้จ่าย ประกอบด้วย 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม /ค่าอาหารกลางวัน /ค่าห้องประชุม/ค่าตอบแทนวิทยากร  เป็นเงิน 25,000 บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25000.00

กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และเจ้าหน้าที่กองทุน

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และเจ้าหน้าที่กองทุน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การเข้าร่วมการอบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และเจ้าหน้าที่กองทุน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การเข้าร่วมการอบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และเจ้าหน้าที่กองทุน มีค่าใช้จ่าย ประกอบด้วย ค่าลงทะเบียน ค่าที่พัก ค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าพาหนะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 84,835.00 บาท

หมายเหตุ :
ทั้งนี้ให้ถัวเฉลี่ยกันได้ตามความจริง กรณียอดใดยอดหนึ่งไม่เพียงพอ แต่ไม่เกินวงเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ สามารถเปลี่ยนแปลงรายละเอียดค่าใช้จ่ายได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องขออนุมัติเพิ่มเติม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลสะพานไม้แก่นสามารถดำเนินงานได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
2. สามารถใช้จ่ายเงินตามประเภทกิจกรรม 1-6 ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
3.คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงานและแกนนำสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานและบริการจัดการกองทุนฯ


>