กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

อสม.รพ.สต.นาหว้า

1.นางเยาวรัสชฎารัตน์ โทร 081-0934187
2.นางมณฑาบินดุเหล็ม โทร 095-9141801
3.นางนิตยา หนุหรีม โทร 065-0483219
4.นางขอรีเย๊าะหมานยอ โทร 093-6852442
5.นางสมนึกคงแก้ว โทร 081-6098761

พื้นที่หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 และ 12 ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนร้านชำที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพและได้มาตรฐานความปลอดภัยต่อสุขภาพ (ร้าน)

 

15.00
2 จำนวนอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคที่มีในพื้นที่ (คน)

 

30.00
3 จำนวนของแผงลอยจำหน่ายอาหารสดที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารสด (ร้าน)

 

5.00

ด้วยกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายดำเนินการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง รวมทั้งอาหารเสริมในร้านชำ วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคในชุมชน เนื่องจากพบว่าในหมู่บ้าน ยังพบว่ามีร้านค้าในชุมชน หรือรถเร่นำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ไม่มีฉลากภาษาไทยมาจำหน่ายแก่ชาวบ้าน ประกอบกับในปัจจุบันมีการโฆษณาชวนเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง ผู้บริโภคที่ขาดความรู้ในการบริโภค อาจตกเป็นเหยื่อหรือเกิดอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานจากการหลงเชื่อโฆษณาดังกล่าว
การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบัน มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย รวมไปถึงการจัดหาและเลือกที่จะรับประทานอาหาร จากอดีตที่มีการจัดหาวัสดุอาหารมาดำเนินการปรุง การประกอบอาหารเองที่บ้านหรือในครัวเรือน อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จาเป็นต่อการดารงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัย ไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จาเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการ ในปัจจุบันมีการจัดตั้งร้านอาหาร และแผงลอยจาหน่ายอาหาร ไว้บริการอาหารปรุงสำเร็จแก่ประชาชน สะดวกต่อการเลือกซื้อมาเพื่อการบริโภคทั้งในครัวเรือน หรือการจัดเลี้ยงอาหารในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นการควบคุม ดูแล ให้การประกอบกิจการการจัดบริการอาหารโดยสถานประกอบการด้านอาหารเป็นไปอย่างเหมาะสม เน้นความสะอาดและปลอดภัยแก่ผู้บริโภค จึงเป็นงานสำคัญที่ต้องดาเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญและให้ความร่วมมือในการปรับปรุงและพัฒนายกระดับสถานประกอบการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และดาเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยได้
ดังนั้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.นาหว้า จึงมีแผนที่จะให้มีโครงการอาหารปลอดภัย 2566 วัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน การโฆษณาชวนเชื่อ การเฝ้าระวังร้านชำขายยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน การตรวจร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารสด ร้านขายของชำ ฯลฯ ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของชาวบ้านในชุมชน เพื่อให้ชุมชนปลอดภัยจากบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนร้านชำที่มีผลิตภัณฑ์สุขภาพ ความปลอดภัยด้านอาหาร

จำนวนร้านชำที่มีผลิตภัณฑ์สุขภาพ ความปลอดภัยด้านอาหารเพิ่มขึ้น

15.00 27.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่

จำนวนอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่เพิ่มขึ้น

30.00 50.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนของแผงลอยจำหน่ายอาหารสดที่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร

จำนวนแผงลอยจำหน่ายอาหารสดที่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารเพิ่มขึ้น

5.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 15
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ร้านค้า/แผงลอยในชุมชน 10
ร้านชำ 27
อาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 29/09/2023

กำหนดเสร็จ 31/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าใช้จ่าย

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 16 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
29 กันยายน 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
400.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมฟื้นฟูความรู้ พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
อบรมฟื้นฟูความรู้ พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด

  1. กิจกรรมการอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่

  2. กิจกรรมการลงสุ่มตรวจร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารสด ครั้งที่ 1

ค่าใช้จ่าย

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 65 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,625 บาท

  2. ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 65 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 3,250 บาท

  3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

  4. ค่าวัสดุ/เอกสารการอบรม จำนวน 50 ชุดๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน เป็นเงิน 1,500 บาท (ประกอบด้วยดินสอ ปากกา กระเป๋าใส่เอกสาร สมุด และเอกสารในการตรวจ)

  5. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 x 2.5 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท เป็นเงิน 375 บาท

  6. ค่าชุดอุปกรณ์ตรวจสารปนเปื้อนในอาหารสด จำนวน 2 ชุด ๆละ 1,000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

  7. ค่าสารตรวจสารปนเปื้อนในอาหารสด จำนวน 2 ชุด ๆละ 3,200 บาท เป็นเงิน 6,400 บาท

  8. ค่าอาหารตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (SI2) จำนวน 2 ลังๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

หมายเหตุ 1. แกนนำอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ จำนวน 50 คน 2. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้นำชุมชน จำนวน 15 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 ตุลาคม 2566 ถึง 18 ตุลาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้และเฝ้าระวังฯ ในพื้นที่ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19950.00

กิจกรรมที่ 3 ออกตรวจร้านชำ ร้านจำหน่ายอาหารและแผงลอยเพื่อให้คำแนะนำการปฏิบัติที่ถูกต้องให้แก่ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารสด

ชื่อกิจกรรม
ออกตรวจร้านชำ ร้านจำหน่ายอาหารและแผงลอยเพื่อให้คำแนะนำการปฏิบัติที่ถูกต้องให้แก่ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารสด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ลงพื้นที่เพื่อตรวจและให้คำแนะนำการปฏิบัติที่ถูกต้องให้แก่ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารสด

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 ตุลาคม 2566 ถึง 23 ตุลาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนร้านชำ ร้าน/แผงลอยจำหน่ายอาหารและแผงจำหน่ายอาหารได้รับการตรวจแนะนำ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 การลงตรวจร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารสด ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
การลงตรวจร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารสด ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด

กิจกรรมการลงสุ่มตรวจร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารสด ครั้งที่ 2

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 65 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,625 บาท

กลุ่มเป้าหมาย 1. อาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ จำนวน 50 คน 2. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้นำชุมชน จำนวน 15 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 พฤศจิกายน 2566 ถึง 6 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • จำนวนของร้านชำที่ปฏิบัติได้ถูกต้องและเป็นแบบอย่างได้
  • ร้อยละของร้าน/แผลงลอยจำหน่ายอาหาร ได้มาตรฐาน Clean food good tatse
  • ร้อยละของแผงจำหน่ายอาหารสด ได้มาตรฐาน Good safety
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1625.00

กิจกรรมที่ 5 การมอบป้ายร้านชำปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
การมอบป้ายร้านชำปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าใช้จ่าย

ค่าป้ายสติกเกอร์ฟิวเจอร์บอร์ดร้านชำปลอดภัย ขนาด 25 ซม. x 40 ซม. จำนวน 27 ป้ายๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 พฤศจิกายน 2566 ถึง 24 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนร้านที่ได้รับป้ายมาตรฐานรับรอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,375.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้านชำมีผลิตภัณฑ์สุขภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร
2. จำนวนอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ (คน) ผ่านการอบรมและสามารถตรวจร้านได้
3. แผงลอยจำหน่ายอาหารสดผ่านเกณฑ์การตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร


>