กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพกาย/จิตผู้สูงวัยตำบลจวบ ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ

ตำบลจวบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข ทำให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนมากกว่าหลายๆปีที่ผ่านมาพร้อมๆกับการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้วิถีชีวิต และการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุเปลี่ยนไปด้วยเช่นกันส่งผลให้การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุเปลี่ยนไป เริ่มตั้งแต่การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมตั้งแต่วัยรุ่น วัยทำงาน การขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำให้กลายเป็นผู้สูงอายุที่อายุยืน แต่มีภาวะของโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน ข้อเข่าและโรคสมองเสื่อม ฯลฯ จากการเก็บข้อมูลยอดผู้สูงอายุในตำบลจวบพบว่าปี พ.ศ.2565 มียอดผู้สูงอายุทั้งหมด 1039คน ปีพ.ศ 2566 1093 คน สถิติ การเกิด และการตายของประชากรตำบลจวบมีน้อยดังนั้นจึงสามารถคาดคะเนได้ว่า ประชากรในกลุ่มของผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็น เนื่องจากผู้สูงอายุในพื้นที่กลับมีปัญหาด้านสุขภาพมากขึ้น ทั้งทางด้านร่างกาย และสุขภาพทางด้านจิตใจ ที่มีผลสืบเนื่องมาจากสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และสถานการณ์ความไม่สงบใน 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ดังนั้นผู้สูงอายุตำบลจวบ จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุคคลรอบข้างและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนปัญหาด้านสุขภาพจะมีมากกว่านี้ ถ้าครอบครัวให้ความสำคัญและเล็งเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุด้วยแล้วครอบครัวและสังคมไทยจะมีความสุข และทุกคนมีสุขภาพจิตที่ดีส่งผลให้ร่างกายดีตามมาเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ การที่ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายใจ ที่ดีขึ้น คลายความรู้สึกหดหู่ และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าต่อชุมชน ผู้สูงอายุสามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่เป็นภาระแก่ลูกหลาน เพื่อให้ผู้สูงอายุตำบลจวบ สามารถดำรงชีวิตชีวิตอยู่กับครอบครัวและบุตรหลานอย่างปกติสุขและมีสุขภาพสมบูรณ์ตามควรแก่วัย องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา
ดังนั้น งานสาธารณสุข สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ ได้เล็งเห็นความสำคัญของกลุ่มผู้สูงวัยในการดูแลสุขภาพกายและใจที่เหมาะสมกับช่วงวัย จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและลดภาวะเสี่ยงของโรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนได้รับความรู้และสร้างเสริมทักษะการดูแลสุขภาพกายและใจที่เหมาะสมกับช่วงวัย 2.เพื่อลดภาวะเสี่ยงของโรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุ

1.ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพกายใจ 2.ผู้สูงอายุไม่มีปัญหาจากภาวะซึมเศร้าสาเหตุของการติดบ้านร้อยละ100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 800
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/09/2023

กำหนดเสร็จ 29/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 60 บาท x 800คน = 48,000.- บาท
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อๆละ25บาท x 1 วัน x 800คน = 40,000.- บาท
  • ค่าวัสดุจำนวน 800 x 70 บาท = 56,000.- บาท
  • ค่าวิทยากร 600 บาท x 2 ชั่วโมง = 1,200.-บาท
  • ค่าวิทยากร 1,200 บาท x 3 ชั่วโมง = 3,600.-บาท
  • ค่าไวนิล 2.4 x 4.8 เมตร = 2,880.- บาท
  • ค่าเช่าเต็นท์/เก้าอี้รวมค่าติดตั้งและรื้อถอนขนาด 3 เมตร x 6 เมตร เต็นท์ละ 800 บาท x จำนวน 14 เต็นท์ = 11,200.- บาท
  • ค่าเช่าเวทีใหญ่ตกแต่งพร้อมเครื่องเสียงขนาด 6 เมตร x 4 เมตร รวมค่าติดตั้งและรื้อถอน = 10,000
  • รวมทั้งสิ้น 172,880.- บาท ( หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นสองพันแปดร้อยแปดสิบบาทถ้วน
ระยะเวลาดำเนินงาน
13 กันยายน 2566 ถึง 13 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้สูงอายุมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีสามารถดำรงชีวิตในสังคมด้วยความปกติสุข 2.ผู้สูงอายุปลอดภัยจากโรคซึมเศร้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
172880.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 172,880.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีสามารถดำรงชีวิตในสังคมด้วยความปกติสุข
2.ผู้สูงอายุปลอดภัยจากโรคซึมเศร้า


>