กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการวัยรุ่นยุคใหม่ใส่ใจสุขภาพจิตโรงเรียนบ้านควนหมอทอง ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

โรงเรียนบ้านควนหมอทอง

โรงเรียนบ้านควนหมอทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 นักเรียน รร.บ้านควนหมอทองจำนวน 2 คนกินยาเกินขนาดและขาดเรียนบ่อย , นักเรียนจำนวน 1 คนทำร้า่ยตนเอง และนักเรียนจำนวน 3 คน เป็นคนไข้รักษาอาการซึมเศร้าของ รพ.เขาชัยสน

 

4.00

วัยรุ่นเป็นวัยที่มีความสำคัญเนื่องจากเป็นช่วงวัยของการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกายจิตใจอารมณ์และสังคมเพื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงจึงถือเป็นสิ่งสำคัญและอาจกล่าวได้ว่าเป็นวิกฤตแห่งชีวิตหากไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม
โรงเรียนบ้านควนหมอทอง เป็นโรงเรียนขยายโอกาสเปิดสอนตั้งแต่ชั้น อ.2-ม.3 มีนักเรียนทั้งหมด 148 คนแยกเป็นอนุบาล 2-3 จำนวน 24 คนป.1-3จำนวน 46 คนป.4-6 จำนวน 48 คน และ ม.1-3 จำนวน 28 คน จากสถานการณ์สุขภาพจิตของนักเรียนโดยเฉพาะนักเรียนที่มีอายุย่างเข้าสู่วัยรุ่น ตั้งแต่ชั้น ป.4-ม.3 พบว่า นักเรียนมีภาวะเครียดและซึมเศร้าเนื่องจากปัญหาต่าง ๆ เช่น กำพร้าพ่อแม่ อาศัยอยู่กับผู้สูงอายุ พ่อแม่หย่าร้าง พ่อแม่ทะเลาะกัน ปัญหาการถูกบูลลี่ ถูกเพื่อนกลั่นแกล้ง และถูกคุกคามทางเพศ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่า นักเรียนหลายคนใช้เวลากับโลกโซเชียลมากเกินไปและปัญหาชู้สาวจากปัญหาข้างต้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน โดยพบว่า ในปีการศึกษาปัจจุบัน นักเรียนบ้านควนหมอทองจำนวน 3 คน ขาดเรียนบ่อย จำนวน 2 คน กินยาเกินขนาด นักเรียนจำนวน 1 คน กรีดแขนทำร้ายตัวเอง และนักเรียนจำนวน 3 คน เป็นคนไข้รักษาอาการซึมเศร้าของโรงพยาบาลเขาชัยสน จ.พัทลุง นอกจากนั้นยังพบนักเรียนหลายคนถูกกลั่นแกล้งและหลายคนชอบแกล้งเพื่อน รังแกและด่าทอเพื่อนด้วยถ้อยคำหยาบคาย
จากสถานการณ์และปัญหาสุขภาพจิตดังกล่าว โรงเรียนบ้านควนหมอทองจึงได้จัดทำ โครงการวัยรุ่นยุคใหม่ใส่ใจสุขภาพจิต เพื่อเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการด้านต่างๆ ทั้งด้านสุขอนามัยการปฏิบัติตัวการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และทักษะการใช้ชีวิตโดยให้ความรู้เชิงปฏิบัติการและการทำกิจกรรมต่าง ๆเมื่อสิ้นสุดโครงการผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันปรับตัวให้ผ่านภาวะวิกฤตและก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ได้อย่างมีคุณค่าต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการมีสุขภาพจิตที่ดี

ร้อยละของนักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการมีสุขภาพจิตดี

80.00
2 เพื่อประเมินภาวะสุขภาพจิตของนักเรียน

ร้อยละของนักเรียนได้รับการประเมินภาวะสุขภาพจิต

100.00
3 เพื่อให้นักเรียนสามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ร้อยละของนักเรียนมีผลการประเมินสุขภาพจิตอยู่ในระดับปกติ

98.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 76
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพจิตของวัยรุ่น

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพจิตของวัยรุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพจิตของวัยรุ่น
1. ค่าวิทยากรจำนวน 2 คน x 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 1 มื้อๆละ 25 บาท 30 คน เป็นเงิน 750 บาท
3. ค่าไวนิลโครงการ เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กรกฎาคม 2567 ถึง 5 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4850.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมลดความเครียด ใช้เวลาว่างอย่างสร้างสรรค์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมลดความเครียด ใช้เวลาว่างอย่างสร้างสรรค์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมลดความเครียด ใช้เวลาว่างอย่างสร้างสรรค์
- เกมส์ต่อคำศัพท์ 3ชุดๆละ 1,520 เป็นเงิน 4,560 บาท
- หนังสือคู่มือเกมส์ต่อคำศัพท์ 1 เล่มเป็นเงิน 180 บาท
- คลอสเวิร์ด 2 ชุดๆละ695 บาท เป็นเงิน 1,390
- เอแมทประถม1 ชุด เป็นเงิน 685 บาท
- เอแมทมัธยม 1ชุดเป็นเงิน1,335 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 17 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8150.00

กิจกรรมที่ 3 ประเมินภาวะสุขภาพจิต

ชื่อกิจกรรม
ประเมินภาวะสุขภาพจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินภาวะสุขภาพจิต
- ใช้แบบประเมินSDQ ของกรมสุขภาพจิต ศูนย์สุขภาพจิตที่ 5 กระทรวงสาธารณสุข
1.นักเรียนประเมินตนเอง
2.ครูประเมินนักเรียน
3.ผู้ปกครองประเมิน

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2567 ถึง 28 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามเยี่ยมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ติดตามเยี่ยมบ้านนักเรียน
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2567 ถึง 24 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการมีสุขภาพจิตดี
2.นักเรียนมีสุขภาพจิตดีมีวิธีลดความเครียดอย่างเหมาะสม
3.นักเรียนใช้เวลาว่างให้มีประโยชน์
4.นักเรียนรู้จักปรับตัวและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข


>