กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กนักเรียนโรงเรียนวัดบ่วงช้าง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

โรงเรียนวัดบ่วงช้าง (นายอาคม เส้งเอียด 0848507308)

โรงเรียนวัดบ่วงช้าง หมู่ที่ 9 ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

จำนวนนักเรียนวัดบ่วงช้างทั้งหมด 59 คน จำนวนนักเรียนวัดบ่วงช้างท่ี่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ(60 นาที/วัน) 40 คน

67.80

การดูแลสุขภาพร่างกายนับเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตระหนัก และดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจัง เพื่อการมีสุขภาพที่ดี แต่ทุกวันนี้ประเทศไทยกลับมีปัญหาด้านสุขภาพร่างกายเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะเด็กไทยในวันนี้น่าห่วง เพราะต้องเผชิญปัญหาอ้วน เตี้ย ผอม ส่งผลให้เรียนรู้ช้า ภูมิต้านทานต่ำ เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เด็กที่มีภาวะอ้วน เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ เป็นต้น สาเหตุสำคัญส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมโภชนาการที่ไม่ถูกต้อง ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในด้านการจัดกิจกรรมออกกำลังกายของนักเรียน โรงเรียนได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายให้กับนักเรียนตอนเย็นก่อนเลิกเรียน แต่ยังขาดความต่อเนื่อง และยังได้ไม่ครบ 60 นาทีต่อวัน ครูไม่ได้บูรณาการด้านการออกกำลังกายในการจัดการเรียนการสอนในสาระต่างๆเท่าที่ควร เนื่องจากให้ความสำคัญกับด้านการเรียนมากกว่าการทำกิจกรรม
การที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เด็ก ได้ขยับร่างกาย เล่นกีฬา เพื่อลดปัญหาเด็กอ้วนนั้น โรงเรียนจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการออกกำลังกายของนักเรียน โดยการนำกิจกรรมที่มีความหลากหลายและมีความดึงดูดใจผู้เรียน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมากที่สุด การจัดหาอุปกรณ์กีฬาให้เพียงพอสำหรับการส่งเสริมการออกกำลังกายของนักเรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ออกกำลังวันละ 60 นาที รวมถึงการสร้างครูแกนนำ นักเรียนแกนนำ ประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมากอย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

67.80 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 59
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 24/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ประชุมกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยครู 2 คน นักเรียน 59 คน เพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินโครงการ/กิจกรรม โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1. ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2*2.4 ตารางเมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 600 บาท
2. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 61 คน คนละ 25 บาท เป็นเงิน 1,525 บาท
3. ค่าสมุดบันทึกประจำตัวนักเรียน จำนวน 59 เล่ม เล่มละ 5 บาท เป็นเงิน 295 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 พฤษภาคม 2567 ถึง 24 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
นักเรียนเข้าร่วมประชุม 59 คน
ผลลัพธ์
นักเรียนรับทราบแนวทางการดำเนินโครงการ
นักเรียนมีสมุดบันทึกประจำตัว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2420.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมทางกายตามแผนงาน

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมทางกายตามแผนงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมจัดเก็บขยะและทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน (ระยะเวลา 7.45 - 8.00 น.)
เด็กนักเรียนทุกระดับชั้น จำนวน 59 คน ร่วมเก็บขยะและทำความสะอาดบริเวณพื้นที่ภายในโรงเรียน โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
-ไม้กวาดทางมะพร้าว ไม้กวาดมือเสือ จำนวน 20 ด้าม ด้ามละ 65 บาท เป็นเงิน 1300 บาท
-ภาชนะเก็บขยะ(เข่ง) จำนวน 5 ใบ ใบละ 125บาท เป็นเงิน 625 บาท

2.กิจกรรมออกกำลังกายหน้าเสาธง (8.15-8.30น.)
เด็กนักเรียนร่วมกิจกรรมทางกายหน้าเสาธง(กิจกรรมเข้าจังหวะ เต้นประกอบเพลง)

3.กิจกรรมออกกำลังกายกลางแจ้ง(30 นาที) (ห้วงเวลาตามความเหมาะสม) โดยมีกิจกรรมต่างๆ เช่น ฟุตบอล ฟุตซอล แบตมินตัน บาสเก็ตบอล เปตอง โดยมีค่าใช้จ่ายด้งนี้
-ลูกฟตบอลหนังเย็บ เบอร์ 5จำนวน 3 ลูก ลูกละ 490 บาท เป็นเงิน 1470 บาท
-ลูกฟุตซอลหนังเย็บ จำนวน 3 ลูกลูกละ 750 บาท เป็นเงิน 2250 บาท
-ไม้แบตมินตัน จำนวน 8 อัน อันละ 190 บาท เป็นเงิน 1520 บาท
-ลูกขนไก่ จำนวน 1 โหล โหลละ 300 บาท เป็นเงิน 300 บาท
-ตาข่ายแบตมินตัน จำนวน 1 ชุด ชุดละ 140 บาท เป็นเงิน 140 บาท
-ลูกบาสเก็ตบอล จำนวน 2 ลูก ลูกละ 550 บาท เป็นเงิน 1100 บาท
-ลูกบาเปตอง จำนวน 4 ชุด ชุดละ 320 บาท เป็นเงิน 1280 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 พฤษภาคม 2567 ถึง 15 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
นักเรียนมีักิจกรรมทางกาย อย่างน้อยวันละ 60 นาที จำนวน 59 คน
ผลลัพธ์
นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรงอัตราการเจ็บป่วยลดลง
นักเรียนมีค่า BMI เป็นไปตามเกณฑ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9985.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจสอบพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียน จากสมุดประจำตัวนักเรียน พร้อมบันทึกผล

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 สิงหาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
มีข้อมูลการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 59 คน
ผลลัพธ์
โรงเรียนสามารถนำข้อมูลการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนไปพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,405.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ เพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 85
นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น อัตราการเจ็บป่วยลดลง
โรงเรียนสามารถนำข้อมูลการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียน ไปพัฒนารวมถึงให้ความช่วยเหลือนักเรียนในด้านต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสม
นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินสมรรถภาพทางกายระดับปานกลางขึ้นไป อย่างน้อยร้อยละ 70


>