กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุง ปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุง ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

กลุ่มอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1

1.นางจำเริญ ศรประดิษฐ์
2.นางชุติมา ทองทวี
3.นางปนิดา จิตราคม
4.นางวรรณา ช่วยชู
5.นางสาวสุธารัตน์ รัตตินันท์

ต.ทุ่งใหญ่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออก นับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันควบคุมมาโดยตลอด ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดสงขลา ข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2565 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวนทั้งสิ้น 333 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 23.65 ต่อประชากรแสนคน กลุ่มที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10 - 14 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 5 - 9 ปี พบผู้ป่วยสูงสุดในเดือนตุลาคม เท่ากับ 80 ราย รายงานเดือน มกราคม 8 ราย กุมภาพันธ์ 10 ราย มีนาคม 3 ราย เมษายน 11 ราย พฤษภาคม 24 ราย มิถุนายน 39 ราย กรกฎาคม 39 ราย สิงหาคม 61 ราย และกันยายน 58 ราย จากสถานการณ์การแพร่ระบาด จะเห็นได้จากอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน พฤษภาคม ถึง กันยายน ของทุกปีซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดีและลักษณะนิสัยของยุงลายชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ในชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้ง จากบ้าน วัดโรงเรียนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมในชุมชน ให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเองพร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของประชาชนในพื้นที่

อัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะในพื้นที่ต่อแสนประชากร

20.00
2 เพื่อป้องกันการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของประชากรในชุมชน
  • ร้อยละของการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของประชากรในชุมชน
100.00

1.เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของประชาชนในพื้นที่
2.เพื่อป้องกันการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของประชากรในชุมชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำทะเบียนกลุ่มผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยง โดยประสานข้อมูลจากรพ.สต.ในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
จัดทำทะเบียนกลุ่มผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยง โดยประสานข้อมูลจากรพ.สต.ในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย เพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย เพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พ่นหมอกควันเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกของบ้านผู้ป่วยในรัศมี 100 เมตร/ โรงเรียน / ศูนย์เด็กเล็ก 1. ค่าจ้างเหมาพ่นหมอกควัน เพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออกในรัศมี 100 เมตร นับจากจุดเกิดโรค จำนวน 50 ครั้ง ครั้งละ 200 บาท/คน เป็นเงิน 10,000 บาท
2. ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (น้ำมัน) สำหรับใช้กับเครื่องพ่นหมอกควัน เป็นเงิน 10,000 บาท
3. ค่าสารเคมีสำหรับฉีดพ่นควบคุมโรคไข้เลือดออก เป็นเงิน 10,000 บาท
4. ค่าอุปกรณ์ป้องกันสารเคมี เป็นเงิน 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมรณรงค์ป้องกันลูกน้ำยุงลายและโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ป้องกันลูกน้ำยุงลายและโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านลงพื้นที่รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
3.2 จัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์สำหรับการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลาย 1. ทรายทีมีฟอส 1% เอส จี จำนวน 6 ถัง ๆ ละ 4,500 บาท เป็นเงิน 27,000 บาท
2. โลชั่นยุงชนิดพกพา จำนวน 600 ซอง ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
3. สเปรย์กำจัดยุง ขนาด 300 ml จำนวน 80 กระป๋อง ๆ ละ 75 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 72,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ไม่มีการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของประชากรในชุมชน
- อัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะในพื้นที่ลดลง


>