กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลอ่างทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรปลอดภัยในโรงเรียนวัดร่มเมือง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลอ่างทอง

โรงเรียนวัดร่มเมือง

โรงเรียนวัดร่มเมือง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

 

55.00
2 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

5.71

ในปัจจุบันเด็กในวัยเรียนอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง ทั้งนี้เนื่องจากเด็กต้องบริโภคอาหาร ประเทภเนื้อสั้ตว์ พืช ผัก และผลไม้ที่ไม่ปลอดภัย หรือไม่เพียงพอ ทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายเป็นระยะเวลานานอาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคชนิดต่างๆได้ และบางคนเกิดปัญหาภาวะทุพโภชนาการและการเจ็บป่วยโดยไม่จำเป็นและปัญหาอื่นๆในบริบทของสังคมไทยที่ส่งผลกระทบต่อเด็กทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมซึ่งเป็นการบั่นทอนทรัพยากรมนุษย์ระยะยาว แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะความเสี่ยงด้านสุขภาพต้องให้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ที่กระตุ้นให้เด็กเยาวชน และประชาชนเห็นคุณค่าและความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพสามารถปฎิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์

ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

55.00 60.00
2 เพื่อลดภาวะทุพโภชนกาารของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ลง

ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

5.71 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 155
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/01/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตร

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้ เรื่อง การทำเกษตรเพื่ออาชีพ ให้กับตัวแทนนักเรียนแต่ละชั้นเรียน จำนวน 55 คน ค่าใช้จ่ายดังนี้
- ค่าอาหารว่างให้กับนักเรียน ครู และวิทยากร จำนวน 60 ชุด ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มกราคม 2567 ถึง 10 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 60 คน
  2. นักเรียนได้รับความรู้เรื่องการทำเกษตรเพื่ออาชีพและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3300.00

กิจกรรมที่ 2 แปลงผักของหนู

ชื่อกิจกรรม
แปลงผักของหนู
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ปุ๋ยคอก 10 กระสอบ ๆละ 70 บาท รวม 700 บาท
  2. เมล็ดพันธุ์ผักบุ้ง 1 ถุงๆละ 200 บาท รวม 200 บาท
  3. เมล็ดพันธุ์ผักผักกาดขาว 2 ซอง ๆ ละ ุ30 บาท รวม 60 บาท
  4. เมล็ดพันธุ์ผักกว้างตุ้ง 2 ซอง ๆ ละ ุ30 บาท รวม 60 บาท
  5. เมล็ดพันธุ์ผักมะเขือ 2 ซอง ๆ ละ ุ25 บาท รวม 50 บาท
  6. เมล็ดพันธุ์ผักถั่วฝักยาว 2 ซอง ๆ ละ ุ25 บาท รวม 50 บาท
  7. เมล็ดพันธ์ุบวบ 2 ซอง ๆ ละ ุ30 บาท รวม 60 บาท
  8. เมล็ดพันธ์ุผักกะหล่ำปลี 2 ซอง ๆ ละ ุ30 บาท รวม 60 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤศจิกายน 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนได้รับความรู้และมีทักษะการปลูกผักปลอดสารพิษ
  2. นักเรียนได้บริโภคผักปลอดสารพิษ จากการนำมาทำอาหารกลางวันให้กับนักเรียน
  3. นักเรียนได้นำผักปลอดสารพิษไปประกอบอาหารที่บ้าน
  4. โรงเรียนมีแปลงเกษตรที่ปลอดสารพิษ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1240.00

กิจกรรมที่ 3 เลี้ยงปลาโอน

ชื่อกิจกรรม
เลี้ยงปลาโอน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ลูกปลาโอน จำนวน 1,000 ตัว ๆ ละ 13 บาท เป็นเงิน 13,000 บาท
  2. อาหารปลา จำนวน 3 กระสอบ ๆ ละ 820 บาท เป็นเงิน 2,460 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มกราคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนได้บริโภคเนื้อปลาโอน จากการนำมาทำอาหารกลางวันให้กับนักเรียน
  2. นักเรียนได้นำปลาโอนไปประกอบอาหารที่บ้าน
  3. นักเรียนได้ความรู้และทักษะการเลี้ยงปลาโอน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15460.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปและรายงานผล

ชื่อกิจกรรม
สรุปและรายงานผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานของโครงการร่วมกันกับคณะครู ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ สรุปจุดเด่นและจุดด้อย หรือสิ่งที่ต้องปรับปรุงในครั้งต่อไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผลการดำเนินงานตามโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนได้บริโภคเนื้อปลาโอน
2. นักเรียนได้บริโภคเห็ดนางฟ้าและผักที่ปลอดสารพิษ
3. นักเรียนมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาโอน การเพาะเห็ดนางฟ้าและการปลูกผักปลอดสารพิษ
4. นักเรียนได้นำผลผลิตจากการทำเกษตรมาจำหน่ายให้กับชุมชน ทำให้นักเรียนมีรายได้เสริมจากการเรียน
5. โรงเรียนมีแปลงเกษตรปลอดสารพิษ ให้นักเรียนได้ศึกษาและเรียนรู้


>