กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลจะนะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียนอนุบาลเมืองจะนะส่งเสริมสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลจะนะ

โรงเรียนอนุบาลเมืองจะนะ สังกัด กองการศึกษา เทศบาลตำบลจะนะ

ผู้รับผิดชอบ นางวิภารัตน์ประเทพ ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ

โรงเรียนอนุบาลเมืองจะนะ 84 หมู่ที่ 2ตำบลบ้านนาอำเภอจะนะจังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน

 

21.43

สุขภาพอนามัยของเด็กเล็กมีความสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในทุก ๆ ด้าน การพัฒนาเด็กให้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มี่คุณภาพ สามารถพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน อันดับแรกของการพัฒนาเด็กเด็กเล็กควรได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ การเสริมสร้างสุขภาวะของเด็กนักเรียนให้มีสุขภาพแข็งแรง ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ การอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข อีกทั้งการดำเนินงานด้านโภชนาการและสุขาภิบาล เป็นการเฝ้าระวังภาวะการเจริญเติบโตที่มีผลต่อพัฒนาการที่สมวัย ส่งผลให้บรรลุผลเป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียนคือ “โรงเรียนอนุบาลเมืองจะนะส่งเสริมสุขภาพ”เด็กนักเรียน มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร ผลสำเร็จส่งผลให้เด็กนักเรียนมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย เป็นเด็กดี มีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ ร่าเริงแจ่มใส ปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่วและมีความสุข ผ่านกิจกรรมตามแผนการดำเนินงานการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน
ดังนั้น โรงเรียนอนุบาลเมืองจะนะ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลจะนะจึงได้เสนอแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน คือโครงการโรงเรียนอนุบาลเมืองจะนะส่งเสริมสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ และสุขภาพเด็กนักเรียน เพื่อบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืน ตามผลที่คาดหวังของโครงการส่งผลต่อประสิทธิภาพ ประสิทธิผลพัฒนาการการเรียนรู้ปฐมวัย คือมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน พัฒนาการด้านร่างกาย พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ พัฒนาการด้านสังคม และพัฒนาการด้านสติปัญญาเหมาะสมตามวัยเป็นเด็กดี มีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ ร่าเริงแจ่มใส ปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่วและมีความสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กได้รับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์และมีสุขนิสัยในการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของเด็กทีมีปัญหาทุพโภชนาการ น้ำหนักน้อย ค่อนข้างน้อย หรือผอมมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น

25.00 20.00
2 เพื่อเฝ้าระวังภาวะการเจริญเติบโตที่มีผลต่อพัฒนาการที่สมวัย

เด็กนักเรียนมีสุขภาพแข็งแรงและสุขภาพจิตที่ดี มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน เหมาะสมตามวัย

0.00
3 เพื่อให้เด็กนักเรียน มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร

เด็กนักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร ร้อยละ 85

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 140
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 170
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.สำรวจข้อมูลเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ที่มีปัญหาโภชนาการเด็ก
    2.จัดทำทะเบียน/คู่มือเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการ เด็กที่มีน้ำหนักน้อย ค่อนข้างน้อย หรือผอม
    3. จัดจ้างทำอาหารเช้า เฉพาะกลุ่มเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ คือ         - จำนวนนักเรียน    25 คนๆละ    20 บาท
        - จำนวนวัน      60 วัน
        - เป็นเงิน      30,000 บาท(-สามหมื่นบาทถ้วน-)     4. ติดตาม ชั่งน้ำหนักเด็กนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการเดือนละ 1 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เชิงปริมาณ  : ร้อยละ  80 ของเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการ น้ำหนักน้อย ค่อนข้างน้อย หรือผอมมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
เชิงคุณภาพ : เด็กนักเรียนมีสุขภาพกายแข็งแรงและสุขภาพจิตที่ดีมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านเหมาะสมตามวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.สำรวจข้อมูลเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก
    2.จัดทำทะเบียน/คู่มือสุขภาพช่องปาก     3.เคลือบฟลูออไรด์ฟัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เชิงปริมาณ  : ร้อยละ  100 ของเด็กนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเมืองจะนะได้รับการตรวจฟัน เคลือบฟลูออไรด์ฟัน เชิงคุณภาพ : เด็กนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเมืองจะนะทุกคนได้รับการตรวจฟัน เคลือบฟลูออไรด์ฟัน และมีฟันสะอาด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจะนะ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจะนะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจะนะ ให้ความรู้และให้คำแนะนำดังนี้ 1. การป้องกันและควบคุมโรคทั่วไปในเด็ก ได้แก่ โรคหวัด โรคตาแดง โรคอีสุกอีใส โรคอ้วน โรคติดเชื้อต่าง ฯลฯ เรื่องโรคติดต่อที่พบบ่อยในเด็กและแนวทางปฏิบัติในการป้องกัน
2. การดูแลรักษาและปฏิบัติตนเบื้องต้นเมื่อเด็กเจ็บป่วย 3. หลักโภชนาการที่ถูกสุขลักษณะที่ดี
4. พัฒนาการของเด็ก ทั้ง 4 ด้าน ช่วงอายุ 3-5 ปี และกิจกรรมเกมเพื่อการทดสอบ และพัฒนาด้านพัฒนาการของเด็ก ทั้ง 4 ด้าน การติดตามประเมินผล 1.สังเกตผลจากการตรวจสุขภาพประจำวัน และประจำปีเด็กและการเจริญเติบโตของร่างกาย น้ำหนักส่วนสูง 2.ซักถามความรู้ความเข้าใจของเด็กเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในการรักษาสุขภาพอนามัย 3.การติดตามและเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของกรมอนามัย
4.แบบประเมินความพึงพอใจ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เชิงปริมาณ  : ร้อยละ  80 ของผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจหลักโภชนาการ สุขภาพอนามัย และพัฒนาการเด็กปมวัยได้ดีมากขึ้น         : ร้อยละ  80 ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องโรคต่างๆ และสามารถดูแลเด็กเบื้องต้นได้ถูกวิธี เมื่อมีไข้ หรือเด็กมีอาการเจ็บป่วยเป็นโรคอื่นๆได้ดีมากขึ้น เชิงคุณภาพ : ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจหลักโภชนาการ สุขภาพอนามัย และพัฒนาการเด็ก และมีความรู้เรื่องโรคต่างๆ และสามารถดูแลเด็กเบื้องต้นได้ถูกวิธี เมื่อมีไข้ หรือเด็กมีอาการเจ็บป่วยเป็นโรคอื่นๆได้ดีมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ถัวเฉลี่ยทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กนักเรียนรับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์และมีสุขนิสัยในการรับประทานอาหาร
2.เด็กนักเรียนได้รับการเฝ้าระวังภาวะการเจริญเติบโตที่มีผลต่อพัฒนาการที่สมวัย
3.เด็กนักเรียน มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร
4.ผู้ปกครอง ชุมชน ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างสุขภาวะของเด็กนักเรียนให้มีสุขภาพที่ดีเหมาะสมตามวัย


>