กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฝึกอบรมให้ความรู้ รณรงค์ ป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

นางสาวสูซานา ดือราแม หัวหน้าสำนักปลัดอบต.ตะบิ้ง
นางสาวฟิรดาวส์ มายีซา เจ้าพนักงานสาธารณสุข

ณ หน้าที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง อ.สายบุรี จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยข้อมูลจากรายงาน 506 กองระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 -11 มกราคม 2567พบผู้ป่วยสะสม จำนวน 158,705 ราย (รายงานเพิ่มขึ้น 2,608 ราย) อัตราป่วย 239.86 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยสูงกว่าปีที่ผ่านมา 3.5 เท่า 5 จังหวัดแรกที่มีอัตราป่วยสูงในช่วง 4 สัปดาห์ล่าสุด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี(ศรีราชาบางละมุง เมือง) จังหวัดระยอง (เมือง บ้านฉาง) จังหวัดเพชรบุรี(เมือง ท่ายาง บ้านแหลม) จังหวัดสงขลา(หาดใหญ่ เมือง) และจังหวัดสมุทรสาคร (เมือง) ตามลำดับ และมีอำเภอที่ระบาด 623 อำเภอ ใน 76 จังหวัด ผู้ป่วยเสียชีวิตยืนยัน 190 ราย
จากแนวโน้มข้างต้นมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ทั้งประเทศเริ่มลดลง แต่ยังพบผู้ป่วยสูงในบางพื้นที่ ทางภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ และมีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตต่อเนื่องทุกสัปดาห์ และจากข้อมูล สถานการณ์การระบาดของโรค และการประเมินความเสี่ยง แนวโน้มผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในกรุงเทพมหานคร ยังมี แนวโน้มสูงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนสิงหาคม - ธันวาคม 2566 และในช่วงเดือนมกราคม 2567 สถานการณ์จำนวน ผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลง แต่ยังดำเนินการตามมาตรการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มข้น นอกจากนี้ยังเฝ้าระวัง ผู้ป่วยที่มีอาการไข้ออกผื่น โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย โดยประสานความร่วมมือกับสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เพื่อสนับสนุนทรัพยากรในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก สื่อสารความเสี่ยงให้ประชาชน รับทราบในการป้องกันควบคุมโรค กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และควบคุมโรคตามมาตรการ 3-3-1 เพื่อลดความ รุนแรงของการระบาด และจำนวนผู้เสียชีวิต หากมีอาการสงสัยโรคไข้เลือดออก ควรพบแพทย์ ที่สถานบริการ สาธารณสุขใกล้บ้าน
จากข้อมูลดังกล่าว องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้งได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญในการป้องกันก่อนเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลตะบิ้ง จึงได้จัดทำ “โครงการฝึกอบรมให้ความรู้ รณรงค์ ป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ2567” เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทั้งในพื้นที่ชุมชน พื้นที่สาธารณะ โรงเรียน และศาสนสถานต่าง ๆ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
2. เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
3. เพื่อลดอัตราการป่วยและอัตราการตายด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลตะบิ้ง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดฝึกอบรมให้ความรู้ รณรงค์ ป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
จัดฝึกอบรมให้ความรู้ รณรงค์ ป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีการดำเนินงาน/แผนปฏิบัติงาน
1. ประชุมวางแผนการดำเนินงานและกำหนดแนวทาง
2. เขียนโครงการเสนอผู้บริหารอนุมัติโครงการ
3. มอบหมายหน้าที่ให้กับผู้รับผิดชอบงาน
4. ดำเนินการตามแผนงาน 5. สรุปการดำเนินโครงการ
งบประมาณดำเนินงาน
- ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 1 ป้ายๆละ 1,050 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆละ 80 บาท เป็นเงิน 6,400 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 80 คน เป็นเงิน 5,600 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่ากระเป๋าผ้าพร้อมสกรีน ใบละ 80 บาท จำนวน 80ใบ เป็นเงิน 6400

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 เมษายน 2024 ถึง 30 สิงหาคม 2024
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23050.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินกิจกรรมการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในพื้นที่ชุมชน พื้นที่สาธารณะ โรงเรียน และศาสนสถานต่าง ๆดังนี้

1) เดินรณรงค์รวมพลังชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออก

  • แจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก

  • ปิดป้ายประชาสัมพันธ์ตามสถานที่สำคัญ

2) คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง

งบประมาณดำเนินงาน

  • ค่าทรายอะเบท 50 ชุดๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

  • ค่าป้ายเดินรณรงค์ จำนวน 1 ป้ายๆละ 1,050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 เมษายน 2024 ถึง 30 สิงหาคม 2024
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
2. กลุ่มเป้าหมายได้ร่วมทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
3. ลดอัตราการป่วยและอัตราการตายด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลตะบิ้ง


>