กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลตะโละกาโปร์ ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะโละกาโปร์

นางนัสรีณี ศรีท่าด่าน
นางสาวบังอรเนาวบุตร
นางสาวตูแวสาลีฮ๊ะนิตะเงาะ
นางสาวเจะรอฮานีสาแม
นางสาวตูแวเยาะสาเระ

ตำบลตะโละกาโปร์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม

 

40.00
2 ร้อยละของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)

 

3.00
3 ระบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์

 

50.00
4 ประชาชนในเขตพื้นที่มีความรู้และเกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

 

30.00
5 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

 

5.00

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นของประเทศไทยที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและมักจะระบาดในช่วงฤดูฝน การระบาดของโรคไข้เลือดมักขึ้นอยู่กับสภาพดิน ฟ้า อากาศและความพร้อมในการเตรียมการรับสถานการณ์ของโรค ซึ่งในปัจจุบันไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าแนวโน้มการะบาดของโรคจะเกิดขึ้นในปีใด จังหวัดปัตตานีถือเป็นนโยบายสำคัญอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดที่จะลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาสาธารณสุขของจังหวัดปัตตานีอีกต่อไป โดยมุ่งเน้นความพร้อมในการป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโรค และดำเนินการระงับเหตุรำคาญและความชุกของชุมของยุงลายในพื้นที่อย่างต่อเนื่องในรูปแบบการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวแก่ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกอำเภอยะหริ่ง เมื่อต้นเดือนตุลาคม 2566 ที่ผ่านมาอำเภอยะหริ่งได้เผชิญกับปัญหาโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมาก ทั้งอำเภอมีจำนวนผู้ป่วยแล้ว 12 ราย อาจเป็นไปได้ว่าเป็นช่วงฤดูฝนทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลายได้เป็นอย่างดี ประกอบกับเป็นช่วงปิดเทอมของโรงเรียนต่างๆ ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ในส่วนของตำบลตะโละกาโปร์มีผู้ป่วยในเดือนนี้มาแล้ว 2 ราย ซึ่งถ้าดูแนวโน้มแล้วมีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากว่ารอบๆตำบลตะโละกาโปร์ มีจำนวนผู้ป่วยเริ่มระบาดมากขึ้น เช่น ตำบลยามู หนองแรต และแหลมโพธิ์ ล้วนมีจำนวนผู้ป่วยเกิน 5 ราย ในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา
ดังนั้น ทางอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสิรมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์ เล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อให้การดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมีความยั่งยืน โดยสนับสนุนให้ชุมชนสามารถเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ด้วยตนเอง ให้ชุมชนพัฒนาศักยภาพ มีความเข้มแข็ง สามารถวิเคราะห์ปัญหา วางแผน ดำเนินการแก้ไขปัญและประเมินผลการดำเนินการได้ด้วยตนเอง รวมถึงสามารถการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคได้ระดับหนึ่ง แต่ในพื้นที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูง จำเป็นต้องมีมาตรการดำเนินการที่เข้มงวด เพื่อเร่งรัดการควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนด กลยุทธ์ สร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินการลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและทำลายตัวเต็มวัย เพื่อตัดวงจรชีวิตพาหะนำโรคให้ลดลงมากที่สุด ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิ์ภาพการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในระดับพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาความพร้อมของระบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ให้สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้

1.กลุ่,เป้าหมายมีความรู้ ความสามารถในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 80

50.00 80.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนในเขตพื้นที่มีความรู้และเกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

2.ค่า HI/CI ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (HI ไม่เกินหรือเท่ากับ ร้อยละ10, CI เท่ากับร้อยละ 0)

30.00 50.00
3 3. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

3.จำนวนผู้ป่วยยืนยันโรคไข้เลือดออก ไม่เกินค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (2552-2566)

5.00 50.00
4 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด

3.00 0.00
5 เพื่อแก้ปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม

สามารถลดปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นและบรรเทาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม(ร้อยละ)

40.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงแนวทางในการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงแนวทางในการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 65 คนๆละ 30 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,950 บาท
  • ค่าวัสดุที่ใช้ในการอบรมฯ เป็นเงิน 3,250 บาท
  • ค่าไวนิล ขนาด 1.25 X 2.4 เมตร (ตร.เมตรละ 250 บาท) จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 750 บาท
    รวมเป็นเงิน 5,950 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 65 คน มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน ร้อยละ 70
  2. กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 65 คน สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ถูกต้อง และสามารถเป็นแบบอย่างให้คนในชุมชนได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5950.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการเกิดโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการเกิดโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 30 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 2 รุ่น เป็นเงิน 3,000 บาท(รุ่นละ 50 คน รวมเป็น 100 คน)

  • ค่าไวนิล ขนาด 1.25 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน750 บาท

รวเป็นเงิน 3750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมอบรมฯ มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือกออกได้ในครัวเรือนของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3750.00

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวนหมู่ละ 100 คนๆละ 30 บาท จำนวน 5 หมู่ๆละ 1 ครั้ง เป็นเงิน 15,000 บาท
  • ป้ายรณรงค์ให้ความรู้ ขนาด 1 x 2 เมตร จำนวน 2 ผืนๆละ 750 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท รวมเป็นเงิน 16,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90 ประชาชนในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ เห็นความสำคัญในเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16500.00

กิจกรรมที่ 4 ค่าวัสดุในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
ค่าวัสดุในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าสเปรย์ฉีดยุงไบก้อน ขนาด 600 มล. โหลละ 420 บาท X 15 โหล เป็นเงิน 6,300 บาท
  • ค่าทรายเคลือบสารทีมีฟอส1% ซอง50กรัม จำนวน 2 ถังบรรจุ 500 ซองถังละ 3000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
  • ค่าน้ำยาเคมี ขวดละ 950 บาท จำนวน 10 ขวด เป็นเงิน 9500 บาท
  • ค่าน้ำมันดีเซล ลิตรละ 30 บาท จำนวน 100 ลิตร เป็นเงิน 3000 บาท

รวมรวมเป็นเงิน 24,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 แหล่งเพาะพันธ์ุยุงลายในชุมชนลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 51,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้ ความสามารถในการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก
2.ประชาชนให้ความร่วมมือในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
3.ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในตำบลตะโละกาโปร์


>