กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและลดอุบัติเหตุจราจรบนท้องถนน ตำบลชะมวง ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

ชมรมอสม. รพ.สต.บ้านหัวถนน

1.นางอุไร สงนุ้ย
2.นางปาริชาต อ่อนประเสริฐ
3.นางโสภัคดี ณ พัทลุง
4.นางสาวยุวดี เกื้อรุ่ง
5.นางจำเรียง แก้วมาก

หมู่ที่ 1,2,4,5,6,9,10,11 และ 13 ตำบลชะมวง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ขับขี่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน

 

60.00

ปัจจุบันอุบัติภัยจากการจราจรก่อให้เกิดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในปีหนึ่งๆ อย่าง
มหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุบัติเหตุจราจรอันเนื่องมาจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ ซึ่งมีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และ
พิการ อันเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่าในการพัฒนาประเทศและจากการวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ
รถจักรยานยนต์ในประเทศไทย พบว่าสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจราจร คือ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์มีพฤติกรรมการขับ
ขี่ที่ไม่ปลอดภัย มีการเสพสารเสพติด มึนเมา ประมาท คึกคะนอง และไม่เคารพกฎจราจร ประกอบกับสภาพของ
รถจักรยานยนต์ไม่ปลอดภัย สิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยก่อให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว
จากข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย ปี พ.ศ.2566 พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ จำนวน 13,536 ราย ผู้บาดเจ็บ 874,443 ราย จำนวนผู้ประสบภัยจำแนกตามเพศ พบว่าเพศชายมีอัตราเกิดอุบัติเหตุ ร้อยละ 61.92 เพศหญิง ร้อยละ 38.08 จำนวนผู้ประสบภัยจำแนกตามกลุ่มอายุ พบว่ากลุ่มอายุที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือช่วงอายุ 36-60 ปี ร้อยละ 26.62,รองลงมาคือช่วงอายุ 1-14 ปี ร้อยละ23.53 อันดับ 3 คือช่วงอายุ 25-35 ปี ร้อยละ 18.09 อันดับ 4 คือช่วงอายุ 19-24 ปี ร้อยละ 13.27 อันดับ 5 คือช่วงอายุ 15-18 ปี ร้อยละ 10.14 และกลุ่มสุดท้ายคือช่วงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 8.35 และจำนวนผู้ประสบภัยจำแนกประเภทรถ พบผู้ประสบภัยจากรถจักรยานยนต์ ร้อยละ 54.82 รถยนต์ร้อยละ 45.18

สำหรับจังหวัดพัทลุง พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร ในปี 2566 มีจำนวน 14 ราย ผู้บาดเจ็บ 4,632 ราย จำนวนผู้ประสบภัยจำแนกตามเพศ พบว่าเพศชายมีอัตราเกิดอุบัติเหตุ ร้อยละ 58.82 เพศหญิง ร้อยละ 47.18 จำนวนผู้ประสบภัยจำแนกตามกลุ่มอายุ พบว่ากลุ่มอายุที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือช่วงอายุ 36-60 ปี ร้อยละ 28.53,รองลงมาคือช่วงอายุ 1-14 ปี ร้อยละ27.73 อันดับ 3 คือช่วงอายุ 25-35 ปี ร้อยละ 14.05 อันดับ 4 คือช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 10.76 อันดับ 5 คือช่วงอายุ 15-18 ปี ร้อยละ 10.37 และกลุ่มสุดท้ายคือช่วงอายุ 19-24 ปี ร้อยละ 8.55 และ จำนวนผู้ประสบภัยจำแนกประเภทรถ พบผู้ประสบภัยจากรถยนต์ ร้อยละ 59.37 รถจักรยานยนต์ร้อยละ 40.68
ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านหัวถนนได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและลดอุบัติเหตุจราจรบนท้องถนน ต.ชะมวง ปีงบประมาณ 2567 เพื่อสร้างความรู้ความตระหนักและปลูกจิตสำนึก ลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน ให้กับประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 1,2,4,5,6,9,10,11 และ 13 ตำบลชะมวง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องขับขี่ปลอดภัย

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องขับขี่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 80

60.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถให้บริการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ณ จุดเกิดเหตุ

ผู้เข้าร่วมโครงการให้บริการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80

60.00 80.00
3 เพื่อรณรงค์ขับขี่ปลอดภัยโดยการสวมหมวกนิรภัยบนถนน

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ขับขี่ปลอดภัย มีการสวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 100

60.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/04/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการฯ 2.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ แก่ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 1 วัน - ความรู้เรื่องขับขี่ปลอดภัย - การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุ 1.ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5 x 2.0 ตร.ม. เป็นเงิน 500 บาท
2.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรม ผู้จัดการอบรมและวิทยากร จำนวน 53 คน จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 70 บาทเป็นเงิน 3,710 บาท
3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้ารับการอบรม ผู้จัดการอบรมและวิทยากร จำนวน 53 คน จำนวน 2 มื้อ มื้อละ 25 บาทเป็นเงิน 2,650 บาท
4.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 เมษายน 2567 ถึง 11 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สมัครผู้เข้าร่วมโครงการฯ เข้าร่วมประชุม จำนวน 50 คน / ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องขับขี่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 และผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9960.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ขับขี่ปลอดภัยสวมหมวกนิรภัยบนถนนพื้นที่ตำบลชะมวง

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ขับขี่ปลอดภัยสวมหมวกนิรภัยบนถนนพื้นที่ตำบลชะมวง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์ขับขี่ปลอดภัยสวมหมวกนิรภัยบนถนนพื้นที่ตำบลชะมวง / ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 เมษายน 2567 ถึง 12 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 50 คน ร่วมรณรงค์ขับขี่ปลอดภัยสวมหมวกนิรภัยบนถนนพื้นที่ตำบลชะมวง  / ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 50 คน มีการสวมหมวกนิรภัยเมื่อขับขี่รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,960.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการฯมีความรู้เรื่องขับขี่ปลอดภัยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
2..ผู้ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการฯสามารถสาธิตวิธีการช่วยฟื้นคืนชีพและการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80
3.ผู้ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ สวมหมวกนิรภัยเมื่อขัยขี่รถจักยายนต์ ร้อยละ 100


>