กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงลายเป็นพาหะเทศบาลตำบลบ้านสวน ปี2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัด ทต.บ้านสวน

1.นางสมทรง ประยูรวงศ์ ปลัดเทศบาล
2.นางสาวอุไรวรรณ แก้วนก หัวหน้าสำนักปลัด
3.นางฐิติพร เนื่องเม่ง หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ
4.นางกัญญาภัค สว่างรัตน์ พยาบาลวิชาชีพ 0897741537
5.นางสาวฐิติมา วิเชียรโชติ นักวิชาการสาธารณสุข

เขตเทศบาลตำบลบ้านสวน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

90.00

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือยุงลาย ลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวน ขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ จากข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลตำบลบ้านสวน มีแนวโน้มสูงขึ้น ประชาชนส่วนใหญ่มุ่งแก้ปัญหาไปที่การกำจัดยุงตัวเต็มวัย การพ่นหมอกควัน เป็นต้น โดยไม่ได้กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และไข่ลูกน้ำยุงลาย จึงทำให้มียุงรุ่นใหม่เกิดได้ตลอดช่วงเวลา จึงไม่สามารถขจัดโรคไข้เลือดออกให้หมดไปจากชุมชนได้
งานสาธารณสุขเทศบาลตำบลบ้านสวนจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงลายเป็นพาหะเทศบาลตำบลบ้านสวนขึ้น เนื่องจากได้รับการประสานงานจาก รพ.สต. ในพื้นที่ให้ลงพื้นที่บ้านผู้ป่วยไข้เลือดออก มีสถิติ ต.ค.2565- ก.ย.2566 ในพื้นที่เขตบ้านสวนมีผู้ป่วยจำนวน 13 คน ที่รับการรักษาที่ดรงพยาบาล เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไปในวงกว้าง ป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดโรคและดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นการกระตุ้น ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก และช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ลดอัตราการป่วยและลดค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย สามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ด้วยตนเอง โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหนะนำโรคและร่วมกับชุมชน บริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหนะนำโรคและร่วมกับชุมชนบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

90.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงาน(นายกเทศมนตรี/เลขานายก/ที่ปรึกษา/งานสาธารณสุข/เจ้าหน้าที่สาธารณสุข/รพ.สต.ในพื้นที่/ท้องที่และประชาชน) เพื่อวางแผนรับมือกับไข้เลือดออกในพื้นที่

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ตุลาคม 2566 ถึง 2 ตุลาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ประชุมคณะทำงาน ได้แผนการทำงานรับมือไข้เลือดออกปี 2567

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์โรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์โรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ในชุมชนทั้ง 9 หมู่บ้าน ผ่านเสียงตามสาย การประชุมหมู่บ้าน กิจกรรมประเพณีต่างๆ กิจกรรมของทางเทศบาล โดยงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลบ้านสวน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อสม เจ้าหน้าที่รพ.สต.ในพื้นที่ ประชาชนในพื้นที่ นักเรียนและเยาวชน 2.กิจกรรมรณรงค์ดูเเลความสะอาดรอบๆโรงเรียนก่อนเปิดภาคเรียน

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่ได้ความรู้ัเรื่องไข้เลือดออก การดูเเลจัดการความสะอาดบ้าน
โรงเรียนสะอาดไม่เป็นเเหล่งเพาะพันธ์ุยุง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมลงพื้นที่ฉีดพ่นสารเคมีละอองฝอยก่อนเปิดภาคเรียนและในพื้นที่เสี่ยง ตารางการพ่นยุงปี 2567 ลำดับที่ สถานที่ ว/ด/ป เวลา 1. ศพด.เทศบาลตำบลบ้านสวน 19/12/67 15.00-16.00 น 2. รร.วัดประดู่เรียง 22/12/67 15.00-16.00 น 3. รร.วัดดอนศาลา 26/12/67 15.00-16.00 น 4. รร.ดอนศาลานำวิทยา 29/12/67 15.00-16.00 น 5. รร.วัดบ้านสวน 9/01/67 15.00-16.00 น 6. รร.วัดเขาอ้อ 13/01/67 15.00-16.00 น 7. วัดดอนศาลา 17/01/67 15.00-16.00 น 8. วัดเขาอ้อ 20/01/67 15.00-16.00 น 9. วัดบ้านสวน 23/01/67 15.00-16.00 น 10. วัดมะกอกเหนือ 27/01/67 15.00-16.00 น 11. วัดศักดิ์สิทธิ์ 2/02/67 15.00-16.00 น 12. วัดเขาดิน 6/02/67 15.00-16.00 น 13. ชุมชนพื้นที่หมู่6 10/02/67 15.00-16.00 น 14. บริเวณปั้มน้ำมัน ชุมชนใกล้เคียงบ้านผู้ใหญ่วิรัตน์ หมู่ที่ 8 15/02/67 15.00-16.00 น 15. บริเวณชุมชนซอยศรีสาคร หมู่ที่ 8 20/02/67 15.00-16.00 น 16.ื บริเวณชุมชนหน้าวัดดอนศาลา หมู่ที่ 8 24/02/67 15.00-16.00 น 17. ชุมชนบริเวณริมถนนหน้าวัดมะกอกเหนือ 28/02/67 15.00-16.00 น 18. ชุมชนห้องแถววัดบ้านสวน 6/03/67 15.00-15.30 น 19. บริเวณซอยปากพลีออก 15.30-16.00 น 20. ชุมชนบ้านเขาดินและเขาผี 16.00-17.30 น -ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่พ่นสารเคมีครั้งละ 200 บาท ( สถานศึกษา 6 แห่ง / 9 หมู่บ้านและพื้นที่เสี่ยง) งบประมาณ 27,000 บาท - โลชั่นกันยุง 60 cc จำนวน 200 ขวดๆละ 65 บาท เป็นเงิน 13000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่ได้รับการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40000.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมกรณีเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมกรณีเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมกรณีเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ 1. ลงพื้นที่พ่นหมอกควันในพื้นที่บ้านเกิดโรคและบ้านใกล้เคียง 2. แจกทรายอะเบทไว้ใส่บริเวณคูน้ำขัง 3. ให้โลชั่นทากันยุง

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนได้รับอุปกรณ์ในการป้องกันการระบาดในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมเยี่ยมบ้านต้นเเบบปราศจากลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเยี่ยมบ้านต้นเเบบปราศจากลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เยี่ยมบ้านต้นเเบบที่เคยได้รับป้ายบ้านต้นแบบแล้ว โดยทีมงานสาธารรสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาล รพ.สต.ในพื้นที่/ท้องที่และ อสม. ในพื้นที่

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กันยายน 2567 ถึง 20 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ครัวเรือนต้นแบบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีการประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กันยายน 2567 ถึง 27 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ลดจำนวนผู้ป่วยป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 50
2. ดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายลดลง และลดอัตราป่วยผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง
3. มีครัวเรือนต้นแบบในการใช้เป็นตัวอย่างแก่บ้านข้างเคียงได้1.


>