กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิด ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ

กลุ่ม SRRT ตำบลท่าเรือ

พื้นที่ตำบลท่าเรือ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในทุกๆปีจะมีคนมากกว่า ๑ ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคที่ยุงเป็นพาหะ และมีหลายร้อยล้านคนที่เจ็บป่วยด้วยโรคที่ยุงเป็นพาหะ โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกที่เกิดจากยุงลาย ในทุกปีจะมีผู้เสียชีวิตมากกว่า ๒๐,๐๐๐ ราย สถานการณ์ไข้เลือดออก ตั้งแต่ต้นปี 2566 จนถึงปัจจุบัน (16 สิงหาคม 2566) พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกแล้วรวม 65,552 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 99.05 ต่อประชากรแสนคน เพิ่มขึ้นสัปดาห์ละกว่า 5,000 ราย ยิ่งมีผู้ป่วยมากก็ยิ่งมีผู้เสียชีวิตมาก ถึงขณะนี้มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้แล้ว ในประเทศไทยโรคที่มียุงลายและยุงทั่วไปเป็นพาหะ มีดังนี้ ไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัส ซิกา ไข้มาลาเรียหรือไข้จับสั่น ไข้ติดเชื้อสมองอักเสบ โรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ซึ่งในพื้นที่ตำบลท่าเรือ มีครัวเรือนทั้งหมดจำนวน 1,660 ครัวเรือนจากข้อมูลสถิติการเกิดโรคพื้นที่ตำบลในปีงบประมาณ2561พบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไป ไข้เลือดออก จำนวน 52 ราย โรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาจำนวน 50 ราย และ ไข้มาลาเรียจำนวน 1 รายปีงบประมาณ2562 พบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไป ที่เป็นไข้เลือดออก จำนวน 52 ราย ในปีงบประมาณ ๒๕๖3 พบว่า มีผู้ป่วยที่เกิดจากโรคยุงลายที่เป็นไข้เลือดออก จำนวน 4 ราย ในปีงบประมาณ ๒๕๖4 พบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไป ที่เป็นไข้เลือดออก จำนวน 0 ราย ในปีงบประมาณ ๒๕๖5 พบว่า มีผู้ป่วยที่เกิดจากโรคยุงลายที่เป็นไข้เลือดออก จำนวน 5 ราย และในปีงบประมาณ ๒๕๖6 พบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไป ที่เป็นไข้เลือดออก จำนวน 47 ราย
ที่ผ่านมาทีมป้องกันและควบคุมโรคตำบลท่าเรือ ได้ร่วมกันดำเนินงานป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อย่างเข้มแข็งแล้วก็ตาม ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องรีบเร่งปลุกจิตสำนึกให้กับประชาชนหรือครัวเรือนในพื้นที่ รวมถึงกลุ่มหรือองค์กรต่างๆ ได้แก่ โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศาสนสถาน ให้เกิดความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่เกิดจากยุงให้มากขึ้น เพื่อที่จะลดอัตราการป่วยและตายจากโรคดังกล่าวได้
ดังนั้น กลุ่ม SRRT ตำบลท่าเรือ จึงเล็งเห็นถึงอันตรายของการแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิดและความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เพื่อให้การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย และยุงทั่วไปมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิด ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖6 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิดทั้งของโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศาสนสถาน และครัวเรือนทั้งหมดของผู้ป่วยและผู้ส่งสัยป่วยพื้นที่ตำบลท่าเรือ

๑. ร้อยละ 70 ลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิดทั้งของโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศาสนสถาน และครัวเรือนทั้งหมดของผู้ป่วยและผู้ส่งสัยป่วยพื้นที่ตำบลท่าเรือ

0.00
2 ๒. เพื่อให้การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปมีประสิทธิภาพ และลดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิด

๒. ร้อยละ 70 สามารถควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปมีประสิทธิภาพ และลดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิด

0.00
3 ๓. เพื่อเดินประชาสัมพันธ์และแนะนำวิธีป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิดแก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าเรือ

๓. ร้อยละ 60 ได้มีประชาสัมพันธ์และแนะนำวิธีป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิดแก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าเรือ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 500
กลุ่มวัยทำงาน 1,000
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ๔.1 กิจกรรมเดินรณรงค์และประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
๔.1 กิจกรรมเดินรณรงค์และประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 1x2 เมตรๆละ 150 บาท จำนวน  2  ป้าย เป็นเงิน      600.-  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เดินรณรงค์และประชาสัมพันธ์ เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิด ในชุมชนทุกครัวเรือน มัสยิด สำนักสงฆ์ โดยอาสาสมัครสาธารณสุข ประชาชน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  3 เดือน/ครั้ง ในพื้นที่ตำบลท่าเรือ พร้อมสนับสนุนทรายอะเบท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าสารกำจัดลูกน้ำยุงลาย(ทรายอะเบท) จำนวน 3 ถังๆ ละ 5,000 บาท
                                              เป็นเงิน 15,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและยุงทั่วไปในโรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ร่วมกับครูและนักเรียนพร้อมสนับสนุนทรายอะเบทแก่โรงเรียน เพื่อใช้ในโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

กิจกรรมที่ 3 พ่นหมอกควันในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
พ่นหมอกควันในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าจ้างพ่นหมอกควันในโรงเรียน จำนวน ๓ โรงเรียนๆ ละ 4 ครั้ง/ปี (ช่วงปิดเทอมจำนวน 2 ครั้ง และช่วงเดือนแรกของการเปิดเทอม จำนวน 2 ครั้ง) ครั้งละ ๕๐๐ บาท เป็นเงิน6,๐๐๐.-บาท ๒. ค่าจ้างพ่นหมอกควันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๓ แห่งๆ ละ 4 ครั้ง/ปี ครั้งละ ๓๐๐ บาทเป็นเงิน3,6๐๐.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

พ่นหมอกควันในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 4 ครั้ง ต่อปี (ช่วงปิดเทอมจำนวน 2 ครั้ง และช่วงเดือนแรกของการเปิดเทอม จำนวน 2 ครั้ง)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

กิจกรรมที่ 4 พ่นหมอกควันในกรณีที่มีผู้ป่วยและผู้สงสัยจะป่วยในพื้นที่ตำบลท่าเรือ

ชื่อกิจกรรม
พ่นหมอกควันในกรณีที่มีผู้ป่วยและผู้สงสัยจะป่วยในพื้นที่ตำบลท่าเรือ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าจ้างในการพ่นหมอกควันในกรณีมีผู้ป่วยและผู้ที่สงสัยจะป่วยที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิด จำนวน   ๒ ครั้ง ๆละ 250 บาท  (หรือพ่นจำนวน  ๓ ครั้ง  ในกรณีมีการระบาดในพื้นที่เดิม) ตลอดทั้งปีคาดว่าจะมีผู้ป่วย จำนวน 50 ราย    เป็นเงิน 25,000.-บาท
  2. ค่าน้ำมันดีเซลและเบนซิล ในการพ่นหมอกควันตามเป้าหมาย เป็นเงิน 10,000.-บาท
  3. ค่าน้ำยาเคมีพ่นหมอกควัน จำนวน 2 ขวด ๆ ละ ๑,๒๐๐ บาท  เป็นเงิน  2,400.- บาท
  4. ชุดควบคุมโรค (สเปรย์) ขนาด ๖๐๐ มล. ขวดละ ๘๕ บาท จำนวน 50 ขวด เป็นเงิน  4,250.- บาท
  5. ชุดควบคุมโรค (โลชั่น) ขนาด ๗๐ มล. ขวดละ ๖๕ บาท จำนวน 50 ขวด เป็นเงิน  3,250.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

พ่นหมอกควันในกรณีที่มีผู้ป่วยและผู้สงสัยจะป่วยในพื้นที่ตำบลท่าเรือ โดยพ่นหมอกควันในบ้านผู้ป่วยและรอบบริเวณบ้านผู้ป่วยในรัศมี ๑๐๐ เมตร จำนวน ๒ - ๓ ครั้ง ในช่วงระหว่าง             วันที่ ๑ - ๗ โดยทีม SRRT ตำบลท่าเรือ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
44900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 70,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศาสนสถาน และครัวเรือนในพื้นที่ตำบลท่าเรือ ได้รับการควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิด
๒. การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และลดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิดได้
๓. ประชาชนมีความรู้ ในเรื่องการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิดและตระหนักถึงอันตรายของโรค
๔. ประชาชนมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิด


>