กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งปลอดยาเสพติด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

1. นายมูฮะมัดนาเซ มูซอ ประธารชมรมอิหม่ามตำบลนาประดู่
2. นายอิบรอเหม อิสมิง
3. นายอับดุลฮาดี ใบหมัด
4. นายมะรอมลีแมวาโซะ
5. นายยูโซะบือราเฮง
6. นายอับดุลเลาะมะยีแต

เขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่มีปัญหาหลายอย่างที่ตนไม่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ด้วยตนเอง ซึ่งบางครั้งอาจจะแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการผิด ๆ คิดวิธีการแก้ไขปัญหาที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยเริ่มจากการให้ความสำคัญกับพวกเขา ให้พวกเขาได้มีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาวัยรุ่น เด็กและเยาวชนที่มักจะประสบปัญหา ส่วนใหญ่เกิดจากการไม่มีความรู้ในเรื่องของสิ่งที่ถูกหรือผิด ไม่มีคนมาให้ความรู้ให้คำปรึกษาที่ถูกต้อง และชี้แนะแนวทางการแก้ไขปัญหาหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ปัญหาส่วนใหญ่ที่มักจะตามมา เช่น ติดยาเสพติด ติดเกมส์ มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาความรุนแรงของเด็กและสตรี เป็นต้น เมื่อประสบพบเจอกับปัญหาต่าง ๆ เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่มักปรึกษาเพื่อนเพราะคิดว่าเพื่อน เป็นที่พึ่งให้แก่ตนได้ ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด ความจริงแล้วเมื่อเกิดปัญหาคนที่ควรไปขอคำปรึกษามากที่สุด คือ พ่อ แม่ หรือผู้ปกครอง เพราะเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับเรามากที่สุดและสามารถให้คำปรึกษาได้ในทุกเรื่อง
ในปัจจุบันสารเสพติดเป็นสิ่งที่ทำลายทรัพยากรบุคคลของชาติ โดยเฉพาะกลุ่มของเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตพร้อมที่จะเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศ ผลจากยาเสพติดจะทำลายสมอง ทำลายชีวิต ทำลายอนาคต จนไปถึงการทำร้ายร่างกายบุคคลใกล้ชิด แม้กระทั่งบุพการี และปัญหาที่ตามมาหลาย ๆ อย่าง เช่น การข่มขืน และทารุณกรรมทางด้านจิตใจ ทำให้เสื่อมเสียทั้งญาติ พี่น้อง ผู้ปกครอง และวงศ์ตระกูล ดังนั้นเราจึงควรมีวิธีป้องกันในกลุ่มเด็กและเยาวชนให้พ้นภัยจากสารเสพติด การปฏิเสธเป็นทักษะหนึ่งที่สามารถป้องกันตนเองได้หากเรารู้และมีสติ เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงต่อการเสพยาเสพติด วัยรุ่นทั้งชายและหญิงมีความหลากหลายทางความคิด พื้นฐานทางครอบครัว การอบรมเลี้ยงดูและอุปนิสัยใจคอ ซึ่งบางคนเป็นเด็กตั้งใจเรียน บางคนเป็นเด็กเที่ยว ซึ่งทั้งหมดล้วนทำให้มีประสบการณ์ชีวิตเกี่ยวกับเรื่องมุมมองของการใช้ชีวิตในช่วงวัยรุ่นต่อไป
ทางชมรมอิหม่ามตำบลนาประดู่ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งปลอดยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น โดยให้เด็กและเยาวชนในชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ เข้าใจ และร่วมมือจัดการ ป้องกันพฤติกรรมของกลุ่มเด็กและเยาวชนให้มีทิศทางและปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมร่วมกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของยาเสพติด

เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของยาเสพติด

70.00 70.00
2 เพื่อป้องกันเยาวชนไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

เยาวชนไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และไม่มั่วสุมกันทดลอง

70.00 70.00
3 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและส่งเสริมสุขภาพเยาวชนในชุมชนในการป้องกัน ยาเสพติด

ชุมชนมีความตื่นตัวในการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว

70.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและวิทยากร 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางการป้องกันการทดลองสารเสพติด/โรคติดต่อในการเสพยาร่วมกัน และเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเด็กให้แสดงความคิดเห็นออกเป็นกลุุ่ม ๆ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางการป้องกันการทดลองสารเสพติด/โรคติดต่อในการเสพยาร่วมกัน และเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเด็กให้แสดงความคิดเห็นออกเป็นกลุุ่ม ๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางการป้องกันการทดลองสารเสพติด/โรคติดต่อในการเสพยาร่วมกัน และเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเด็กให้แสดงความคิดเห็นออกเป็นกลุุ่ม ๆ

รายละเอียดงบประมาณ ดังนี้

  1. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1×3 เมตร จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 600 บาท

  2. ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

  3. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน ๆ ละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ (เช้า/บ่าย)เป็นเงิน5,600 บาท

  4. ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน ๆ ละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 4,800 บาท

  5. ค่าจ้างเหมาเครื่องเสียง เป็นเงิน 3,000 บาท

  6. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการฝึกอบรม เช่น ปากกา สมุด กระดาษไข ปากกาเคมี เป็นต้นเป็นเงิน 3,700 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 21,300 บาท (เงินสองหมื่นหนึ่งพันสามร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการจัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางการป้องกันการทดลองสารเสพติด/โรคติดต่อในการเสพยาร่วมกัน และเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเด็กให้แสดงความคิดเห็นออกเป็นกลุุ่ม ๆ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของยาเสพติด

2. เยาวชนไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และไม่มั่วสุมกันทดลอง

3. ชุมชนมีความตื่นตัวในการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว


>