กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชุมพล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน ในผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชุมพล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุุขภาพตำบลบ้านลำกะ

หมูที่ 1 ,3,5,6,7,10 และหมู่ที่ 11 ตำบลชุมพล อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป สวนทางกับอัตราการเกิดที่ต่ำลง ส่งผลให้ประชากรวัยทำงานดูแลประชากรวัยผู้สูงอายุมากขึ้น จึงอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจ รวมถึงปัญหาสุขภาพได้ เพราะผู้สูงอายุนี้ถือเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ ทั้งสภาพร่างกาย และจิตใจ จึงมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่าย และในปี พ.ศ. 2566 กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เป็น ปีแห่งสุขภาพสูงวัยไทย โดยได้ตระหนักเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จึงได้พัฒนาระบบการคัดกรองผู้สูงอายุในชุมชน ออกให้บริการภายใต้นโยบาย 3 หมอ ในฐานะหมอคนที่ 1 ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ออกค้นหา คัดกรองสุขภาพ 9 ด้าน ให้กับผู้สูงอายุทั่วประเทศ อย่างน้อย 10 ล้านคน ซึ่งการคัดกรองสุขภาพ 9 ด้าน ประกอบด้วย 1. ด้านความคิดความจำ 2.ด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย 3.ด้านการขาดสารอาหาร 4.ด้านการมองเห็น 5.ด้านการได้ยิน 6.ด้านภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 7.ด้านการกลั้นปัสสาวะ 8.ด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และ 9.ด้านสุขภาพช่องปาก
ในปีงบประมาณ2566 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำกะ มีจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด853 คน ได้รับการประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน จำนวน 847 คน คิดเป็นร้อยละ 99.30 พบว่า เป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม จำนวน 839 คน เป็นกลุ่มติดบ้าน จำนวน 6 คน และติดเตียงจำนวน 2 คนโดยได้รับการคัดกรองผู้สูงอายุ 9 ด้าน จำน วน 806 คนคิดเป็นร้อยละ 94.49 จากการสำรวจพบว่า มีปัญหาด้านการมองเห็น 22 คน 1. ด้านความคิดความจำ0 คน 2.ด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย5 คน 3.ด้านการขาดสารอาหาร1 คน 4.ด้านการมองเห็น 22 คน 5.ด้านการได้ยิน 0 คน6.ด้านภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 0 คน 7.ด้านการกลั้นปัสสาวะ 1คน8.ด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน9 คน และ 9.ด้านสุขภาพช่องปาก 0 คน
ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำกะ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและสุขภาพจิตใจที่ดี ไม่ให้เป็นภาระแก่ครอบครัว ชุมชน และสังคมต่อไป จึงได้จัดทำโครงการนี้เพื่อตอบสนองนโยบายดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพือให้แกนนำผู้สูงอายุมีความรู้ในการส่งเเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน

แกนนำผู้สูงอายุมีคความรู้้ในการส่งเเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน อยางน้อยร้อยละ 80

30.00 50.00
2 2.ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองและส่งเเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน

ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองและส่งเเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน อยางน้อยร้อยละ 80 ผู้สูงอายุ 850 คน กลุ่มเป้าหมาย 400 คน

10.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 400
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมแกนนำผู้สูงอายุ/ อสม.ให้มีความรู้้ในการส่งเเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน

ชื่อกิจกรรม
อบรมแกนนำผู้สูงอายุ/ อสม.ให้มีความรู้้ในการส่งเเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.รับสมััครแกนนำผู้สูงอายุ / อสม.
2.อบรมให้้ความรู้้ในการส่งเเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน เพื่อให้แกนนำปนพี่เลี้ยงในการส่งเเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน
โดยมีคาใช้จ่่ายดังนี้้
- ค่่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ัเข้าอบรม จำนวน 70 คน ๆละ 1 มื้อๆๆละ 80 บาท เป็นเเงิน 5,600 บาท
- ค่่าอาหารว่างและเครื่องดืมสำหรับผู้ัเข้าอบรม จำนวน 70 คน ๆละ 2 มื้อๆๆละ 25 บาท เป็นเเงิน 3,500 บาท
- ค่าวิทยากร จำนวน 5 ชัั่วโมงๆละ 600บาท เป็นเเงิน 3,000 บาท
รวมเป็น 12,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มกราคม 2567 ถึง 29 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำมีความรู้ในการส่งเเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12100.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมพร้อมตรวจคัดกรองและส่งเเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน

ชื่อกิจกรรม
อบรมพร้อมตรวจคัดกรองและส่งเเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ตรวจคัดรองและส่งเเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน โดยลงไปในชุมชนแตต่ละหมู่บ้าน
  2. ให้ความรู้และคัดกรองให้คำแนะนำรายบุคคล
  3. แจกสมุดคู่มือส่งเเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน ให้เป็นแนวทางปฏิบัติ
    โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้้
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ัเข้ารวมอรม จำนวน 400 คนๆ ละ 1 มื้อๆๆละ 25 บาท เป็นเเงิน 10,000 บาท
  • ค่าจ้างจัดทำคู่มือส่งเเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน จำนวน 400 เล่มๆ ละ 19 บาท เป็นเเงิน 7,600 บาท รวมเป็นเงิน 17,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
7 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุไดรับการตรวจคัดกรองและส่งเเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้สูงอายุมีคุุณภาพชีวิตทีดีติดบ้านติดเตียงลดลง


>