กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคุ้มครองผู้บริโภค และอาหารปลอดภัยในชุมชน ปี 2567 รพ.สต.บ้านลำพด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ม.7บ้านโต้นนท์

1. นางสาวหัทยา พาหุพันโต
2. นางสาวชื่นตา แซ่ตัน
3. นางดวงใจ แก้วไพรัตน์
4. นางปฎิมา ดอเลาะ
5. นางอภิญญาชัยเชื้อ

โรงเรียนวัดลำพดจินดาราม , รพ.สต.บ้านลำพด,พื้นที่ ม.3,4,6,7

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละร้านชำยังขาดความรู้ความเข้าใจของการใช้ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการสุขภาพและอาหารปลอดภัย

 

100.00
2 ร้านอาหาร/แผงลอยยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย

 

100.00
3 สร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน และเครือข่าย อย.น้อย ในโรงเรียน

 

100.00

ตามที่ งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นร้านที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยและซื้อสินค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้าน สะดวกในการซื้อสินค้า และเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด เช่น ยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป บุหรี่และแอลกอฮอล์ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำในหมู่บ้าน รวมถึงเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร เพื่อเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมอันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัยต่อไป รวมถึง นโยบายเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหาร(FoodSafety)โดยมีเป้าหมายให้อาหารที่ผลิตและบริโภคในประเทศไทยนั้นมีความปลอดภัยในระดับสากลและให้เป็นครัวของโลกจึงมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลักในการผสานยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยด้านอาหารของประเทศและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมรับผิดชอบโดยบูรณการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนประกอบกับสถานการณ์ปัจจุบันนี้มีความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจโดยทั่วไปของประเทศได้มีการพัฒนาจากสังคมเกษตรเป็นสังคมอุตสาหกรรมดังนั้นจึงเป็นส่วนที่สำคัญอย่างมากที่จะให้ผู้บริโภคได้เลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและผู้จำหน่ายจะได้จำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพด้วย

ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานโครงการดังกล่าวบรรลุเป้าหมายงานคุ้มครองผู้บริโภคโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่บ้านลำพดจึงได้จัดทำโครงการโครงการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำและอาหารปลอดภัยในชุมชน ปี 2567 ขึ้นในบริบทพื้นที่ หมู่ที่ 3 ,4 ,6,7ครอบคลุม ครัวโรงเรียน และศูนย์เด็กเล็ก ตลอดจนการสร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน เครือข่าย อย.น้อย และ ร้านค้าในชุมชน เพื่อส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยในการบริโภคอาหารเพื่อที่จะนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีและห่างไกลโรค ของประชาชนในเขตพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำพด ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านขายของชำ/แผงลอยในหมู่บ้านมีความรู้เกี่ยวกับอาหารยาเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการสุขภาพและอาหารปลอดภัย

ผู้ประกอบการร้านขายของชำ/แผงลอยในหมู่บ้านมีความรู้เกี่ยวกับอาหารยาเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการสุขภาพและอาหารปลอดภัย ร้อยละ 95

14.00
2 เพื่อให้ร้านอาหาร/แผงลอย/โรงอาหารมีความรู้เกี่ยวกับอาหารปลอดภัย

ร้านอาหาร/แผงลอยมีความรู้เกี่ยวกับอาหารปลอดภัย ร้อยละ 100

7.00
3 เพื่อสร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน และเครือข่าย อย.น้อย ในโรงเรียน

เครือข่าย อย.น้อย ในโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ร้อยละ 100

60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 58
กลุ่มวัยทำงาน 85
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1 จัดอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนกิจกรรมเครือข่าย อย.น้อย ในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
1 จัดอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนกิจกรรมเครือข่าย อย.น้อย ในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 1 เมตร x 2 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน500บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 คน*30 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน3 ชม.*600 บาทเป็นเงิน3,600 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม จำนวน 60 ชุดๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าจ้างทำไวนิล แบบ Roll up จำนวน 3 ชุดๆละ 1,800 บาทเป็นเงิน 7,200 บาท
  • ชุดทดสอบเกลือ ไอ-คิด (i-kit) จำนวน 2 ชุดๆละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท
  • ชุดทดสอบเครื่องสำอาง จำนวน 2 ชุดๆละ 980 บาทเป็นเงิน 1,960 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำ อย.มีความรู้ ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17360.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม อบรมให้ความรู้ อสม. ผู้ประกอบการร้านชำและร้านอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อบรมให้ความรู้ อสม. ผู้ประกอบการร้านชำและร้านอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 83 คน*30บาท เป็นเงิน 2,490 บาท
  • ค่าวิทยากรให้ความรู้จำนวน 3 ชม.*600 บาท เป็นเงิน1,800 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรมจำนวน 83 ชุดๆละ 30 บาท เป็นเงิน 2,490 บาท
  • ค่าชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร(SI2) เป็นเงิน 3,600บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจแบคทีเรียในอาหารเป็นเงิน500 บาท
  • ค่าป้าย CFGT ๗ ป้ายๆละ ๑๕๐ บาท เป็นเงิน 1050 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ประกอบการร้านขายของชำ/แผงลอยในหมู่บ้านมีความรู้เกี่ยวกับอาหารยาเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการสุขภาพและอาหารปลอดภัย ร้อยละ 95

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11930.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอยโดยใช้แบบประเมินตรวจร้านอาหารและน้ำยา SI2

ชื่อกิจกรรม
ตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอยโดยใช้แบบประเมินตรวจร้านอาหารและน้ำยา SI2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันมื้อละ 60 บาท * 2 มื้อ* 4 คน เป็นเงิน 480 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 30 บาท 4 มื้อ4คน เป็นเงิน 480 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านอาหาร/แผงลอย ผ่านการตรวจแบบประเมินตรวจร้านอาหารและน้ำยา SI2 ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
960.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,250.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำ อย.มีความรู้ ร้อยละ 100

2. ร้านชำมีความรู้ร้อยละ 100

3. ร้านอาหาร/แผงลอย ผ่านการตรวจแบบประเมินตรวจร้านอาหารและน้ำยา SI2 ร้อยละ 100


>