กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดาโต๊ะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรู้รอดปลอดเด็กจมน้ำ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเปียะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดาโต๊ะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเปียะ

ต.ดาโต๊ะ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กปฐมวัย 2-4 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับเบา ปานกลาง และมาก สะสมอย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน)

 

68.63
2 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

91.80
3 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

54.32
4 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

50.00
5 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

 

100.00
6 ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน

 

42.29
7 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

47.50
8 ร้อยละของเวลาในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)

 

42.86

ด้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเปียะ พบว่า กลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปีที่เสียชีวิตจากการจมน้ำ มักเกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การไม่มีรั้วรอบแหล่งน้ำ เพื่อแบ่งแยกเด็กออกจากแหล่งน้ำ การจัดให้มีพื้นที่เล่นที่ไม่เหมาะสมให้แก่เด็ก และการที่ผู้ปกครองผู้ดูแลเด็กและเด็กไม่มีความรู้ในการเอาตัวรอด/ปฐมพยาบาลผิดวิธี เป็นต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการบรรจุเรื่องการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไว้ในกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง เน้นการสอน "อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม" และการตะโกนขอความช่วยเหลือ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กถือว่า มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ต้องมีความรู้ ในการสอนเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้รู้จักแหล่งน้ำเสี่ยงและหากเด็กจมน้ำต้องมีความรู้ความเข้าใจในการเอาตัวรอด/ปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธี ผู้จัดโครงการตระหนักถึงความสำคัญของการให้ความรู้ต่อเด็ก ซึ่งมีผลกระทบต่อความเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างเป็นองค์รวมของเด็ก จึงจัดโครงการนี้ขึ้น

การที่จมน้ำเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กไทยเสียชีวิต ในช่วงหลายปรที่ผ่านมาช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน เป็นช่วงเดือนที่เด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด เนื่องจากตรงกับช่วงปิดภาคเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเปียะ จึงได้จัดทำโครงการ รู้รอดปลอดเด็กจมน้ำขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนและผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รู้ถึงหลักการปฏิบัติเพื่อเอาชีวิตรอดเมื่ออยู่ในสถานกาณ์อันตรายในน้ำ รวมถึงแนวทางการเฝ้าระวังและป้องกันระหว่างผู้ปกครองกับบุตรหลาน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตจากการจมน้ำได้ ทั้งนี้ ตามโครงการมีการสาธิตวิธีว่ายน้ำ ที่ใช้อุปกรณ์อย่างง่ายและใกล้ตัวในการป้องกันการจมน้ำ สาธิตวิธีการช่วยเหลือเด็กจมน้ำอีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนและผู้ปกครอง มีความรู้ความสามารถในการป้องกันตนเองจากการจมน้ำ

 

63.00 70.00
2 เพื่อให้เด็กนักเรียนและผู้ปกครอง ได้รับรู้ตระหนักถึงอันตรายและวิธีการป้องกันมิให้เกิดความสูญเสียจากการจมน้ำ

 

63.00 70.00
3 เพื่อให้เด็กนักเรียนและผู้ปกครอง รู้ถึงวิธีปฏิบัติเพื่อเอาชีวิตรอดเมื่ออยู่ในสถานการณ์อันตรายจากน้ำ

 

63.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 63
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 สอนเด็กว่ายน้ำ

ชื่อกิจกรรม
สอนเด็กว่ายน้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จํานวน 4 คน *5 ชั่วโมงๆละ 500 บาท เป็นเงิน 10,000บาท
  • ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร ในราคาตารางเมตรละ 250 บาท เป็นเงิน 720 บาท
  • ค่าใช้บริการสระกว้าง 220 ซม. x 450 ซม. x 84 ซม. เป็นเงิน 4,000 บาท
  • ค่าอุปกรณ์ฝึกว่ายน้ำ เป็นเงิน 2850 บาท (ชุดว่ายน้ำพร้อมหมวกจำนวน 15 ชุด * 130 บาท เป็นเงินบาท ห่วงยาง จำนวน 15 ลูก * 60 บาท เป็นเงิน 900 บาท )
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17570.00

กิจกรรมที่ 3 ประเมินผลและสรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลและสรุปโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินผลและสรุปโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,570.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กนักเรียนและผู้ปกครอง มีความรู้ความสามารถในการป้องกันตนเองจากการจมน้ำ
2.เด็กนักเรียนและผู้ปกครอง ได้รับรู้ตระหนักถึงอันตรายและวิธีการป้องกันมิให้เกิดความสูญเสียจากการจมน้ำ
3.เด็กนักเรียนและผู้ปกครอง รู้ถึงวิธีปฏิบัติเพื่อเอาชีวิตรอดเมื่ออยู่ในสถานการณ์อันตรายจากน้ำ


>