กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ เด็กปาตาสุขภาพดีประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

โรงเรียนชุมชนบ้านปาตา

นางซูลยาณี สาและ
นางสาวรุสนี สาเมาะ
นางสาวอาซีซะ สาเมาะ
นางสาวร็อยยาน อาลี
นายมะรูดิง อาลี

โรงเรียนชุมขนบ้านปาตา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครู บุคลากร และนักเรียน ตระหนักและมีความรู้ในการเก็บดูแลรักษานมโรงเรียนให้คงคุณภาพจนถึงนักเรียนผู้บริโภค

 

5.00
2 ร้อยละของครู บุคลากร และนักเรียน ป.1-ป.6 ให้ความรู้และฝึกทักษะในการส่งเสริมสุขภาพอนามัยเพิ่มขึ่น

 

5.00
3 ร้อยละของนักเรียนได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี และมีความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง

 

5.00
4 ร้อยละของครู บุคลากร และนักเรียน มีกิจกรรมทางกาย วันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน

 

5.00
5 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีปัญหาฟันผุ

 

40.00
6 ร้อยละของเด็กปฐมวัย 2-4 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับเบา ปานกลาง และมาก สะสมอย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน)

 

50.00
7 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

 

5.00

หลักการและเหตุผล
การเสริมสร้างสุขภาพกับการศึกษา เป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป การพัฒนาเด็กและเยาวชน จึงอยู่ที่กระบวนการจัดการศึกษาและการสร้างสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ซึ่งจะต้องมีการประสานความร่วมมือ ประสานประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัย ซึ่งโรงเรียนก็เป็นสถาบันหนึ่งของสังคมมีหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาคนให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดีสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากการให้การศึกษาแล้วการส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียน เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า การส่งเสริมสุขภาพ การดูแลสุขภาพอนามัยแก่นักเรียน การให้บริการด้านสุขภาพอนามัย การให้ความรู้ด้านสุขภาพตามสุขบัญญัติ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โรงเรียนชุมชนบ้านปาตา ตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียน จากเบื้องต้นสู่การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน จึงได้จัดทำโครงการเด็กปาตาสุขภาพดี ประจำปี 2567ขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การดูแลรักษาสุขภาพได้ถูกต้อง การป้องกันโรคระบาด ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นกับนักเรียนได้หากไม่ป้องกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี และมีความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง

ร้อยละของนักเรียนได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี และมีความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง

5.00 60.00
2 เพื่อให้ครู บุคคลากร และนักเรียน มีกิจกรรมทางกาย วันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน

ร้อยละของครู บุคลากร และนักเรียน มีกิจกรรมทางกาย วันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน

5.00 50.00
3 เพื่อลดภาวะฟันผุของเด็กวัยเรียน (6 ขึ้นไป) ลง

ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีปัญหาฟันผุ

40.00 80.00
4 เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

5.00 10.00
5 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กปฐมวัย

ร้อยละของเด็กปฐมวัย 2-4 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับเบา ปานกลาง และมาก สะสมอย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน)

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 194
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี และให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี และให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี และให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม194 คน ๆ ละ 30 บาท * 1 มื้อเป็นเงิน 5,820 บาท(นักเรียน ป.4 - 6 จำนวน 162 คน บุคลากร จำนวน 32 คน)
- ค่าวิทยากร 2 คน คนละ 600 บาท จำนวน 3 ชม.เป็นเงิน 1,800 บาท
- ยาสีฟัน จำนวน 5 โหล ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 600 บาท
- แปรงสีฟันนักเรียนเพื่อการสาธิตการแปรงฟัน 50 คน ละ 1 ด้าม ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรมเป็นเงิน 9,970 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี และมีความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9970.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรม อบรมให้ความรู้ ครู บุคลากร นักเรียนและส่งเสริมกิจกรรมทางกาย วันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรม อบรมให้ความรู้ ครู บุคลากร นักเรียนและส่งเสริมกิจกรรมทางกาย วันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรม อบรมให้ความรู้ ครู บุคคลากร นักเรียนและส่งเสริมกิจกรรมทางกาย วันละ 30 นาทีอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม 194 คน * คนละ 30 บาท * 1 มื้อ เป็นเงิน 5,820 บาท (นักเรียน ป.4-6 จำนวน 162 คน บุคลากร จำนวน 32 คน)
- ค่าวิทยากร 2 คน คนละ 600 บาท จำนวน 3 ชม. เป็นเงิน 1,800 บาท
- ไวนิลอบรมการส่งเสริมสุขภาพทางกาย ขนาด 1*5 เมตร 1 แผ่นๆละ 750 บาท เป็นเงิน 750 บาท
- ค่าวัสดุที่ใช้ประกอบการจัดอบรมฯ เป็นเงิน 7,200 บาท
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรมเป็นเงิน15,570 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครู บุคคลากร และนักเรียน มีกิจกรรมทางกาย วันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15570.00

กิจกรรมที่ 3 ถอดบทเรียน และติดตามการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ถอดบทเรียน และติดตามการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีการสรุปผลการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพของเด็กนักเรียน ทั้งเรื่องสุขภาพร่างกาย และสุขภาพทางช่องปาก และมีการเสนอแนะแนวทางการดูแลรักษา และการส่งเสริมสุขภาพที่สามารถปฏิบัติงานได้จริงในชีวิตประจำวัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 เด็กโรงเรียนชุมชนบ้านปาตา มีสุขภาพแข็งแรง และ
ร้อยละ 60 เด็กโรงเรียนชุมชนบ้านปาตา มีสุขภาพช่องปากที่สะอาด และลดอาการฟันผุ เป็นต้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,540.00 บาท

หมายเหตุ :
ถัวเฉลี่ยทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครู บุคลากร และนักเรียนร้อยละ 80 ตระหนักและมีความรู้ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพของเด็กที่ถูกต้อง
2. ครู บุคลากร และนักเรียน ป4.-ป.6 ร้อยละ 90 ให้ความรู้และฝึกทักษะในการส่งเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้น
3. นักเรียนร้อยละ 100 ได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี และมีความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง
4. ครู บุคลากร และนักเรียน ร้อยละ 80 มีกิจกรรมทางกาย วันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน


>