กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนบ้านหารบัวร่วมใจ ห่างไกลโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านป่าบาก

1.นายสมบัติ ช่อคง
2.นางนี เลี่ยนกัตวา
3.นางดารา ทองอินทร์
4.นายวิเชียร จงรัตน์
5.นางทัศนีย์ ดำชุม

บ้านหารบัวหมู่ที่ 9 ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การระบาดของโรคไข้เลือดออก

 

4.00

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
จากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2565 ภาพรวมประเทศการควบคุมโรคไข้เลือดออกในจังหวัดพัทลุง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565 ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคจำนวนทั้งสิ้น 179 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 35.30 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคืออำเภอตะโหมด อัตราป่วยเท่ากับ 139.69 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ อำเภอ เขาชัยสน , อำเภอ ควนขนุน, อำเภอ ศรีนครินทร์, อำเภอ บางแก้ว, อำเภอ ป่าบอน, อำเภอ เมืองพัทลุง, อำเภอ ปากพะยูน, อำเภอ กงหรา, อำเภอ ศรีบรรพต, อำเภอ ป่าพะยอม, อัตราป่วยเท่ากับ 53.9 , 49.98 , 32.02 , 26.12 , 21.40 , 19.84 , 18.07 , 12.37 , 9.52 ตามลำดับ
จากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2565 ของอำเภอป่าบอน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคจำนวนทั้งสิ้น 12 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 26.12 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ตำบลที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคือตำบลป่าบอน อัตราป่วยเท่ากับ 71.40 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ ตำบล วังใหม่ , ตำบล โคกทราย , ตำบล หนองธง , ตำบล ทุ่งนารี อัตราป่วยเท่ากับ 30.01 , 19.33 , 10.39 , 0 ตามลำดับ
(ที่มา:ข้อมูลHDC มกราคม 2566)
จากสถานการณความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกใน หมู่ที่ 9 ตำบลทุ่งนารี ตั้งแต่ 1 กันยายน 2566 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 ได้รับรายงานผู้ป่วยโรค ( Index case ) จำนวน 10 คน อัตราป่วยเท่ากับ 9.51 และผู้ป่วยโรค ( Generation 2 ) จำนวน 5 คน อัตราป่วยเท่ากับ4.76
จากข้อมูลดังกล่าว ภาคีเครือข่ายภาครัฐ เชี่ยวชาญการงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก จึงได้จัดทำกิจกรรมโครงการชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2567 เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนมิให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไปในวงกว้าง ป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดและดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชนสถาบันต่าง ๆ โรงเรียน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไปได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคและร่วมกับชุมชน บริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำลาย เช่น กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก กิจกรรมเดินรณรงค์ให้ประชาชนกำจัดลูกน้ำยุงลายด้วยมาตราการ 3 เก็บ 3 โรค และกิจกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันทีที่เกิดโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม 2. เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในการรักษาความสะอาดภายในบ้านเรือนและชุมชนตนเอง
  1. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังได้รับความรู้ เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก
  2. ร้อยละ 90 ของค่าดัชนี House Index (HI) และค่าดัชนี Container Index (CI) ลดลงหลังเข้าร่วมโครงการ มีค่าดัชนี House Index (HI) น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 10 และค่าดัชนี Container Index (CI) น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 0
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 31/01/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ป้ายโครงการ ขนาด 1.5*2 เมตร 200 บาท x  3 ตารางเมตร = 600 บาท
  • ป้ายรณรงค์ ขนาด 1.5*2 เมตร 200 บาท x  3 ตารางเมตร = 600 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ 50 บาท x 70 คน = 3,500 บาท
  • เอกสารให้ความรู้ ชุดละ 10 บาท x 70 ชุด = 700 บาท
  • แบบทดสอบความรู้ก่อน - หลัง ชุดละ 2 บาท x 70 ชุด = 140 บาท
  • ค่าปากกาลูกลื่น 5 บาท x 70 เล่ม = 350 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 70 คน = 3,500 บาท
  • ชุดตรวจ Dengue NS1 Ag Test 1 กล่อง x 3,700 บาท = 3,700 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13090.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมเดินรณรงค์ให้ประชาชนกำจัดลูกน้ำยุงลายด้วยมาตรการ3 เก็บ 3 โรค

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมเดินรณรงค์ให้ประชาชนกำจัดลูกน้ำยุงลายด้วยมาตรการ3 เก็บ 3 โรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เเจกโลชั่นกันยุง 35 บาท x 70 ขวด = 2,450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออกเเละให้ความสำคัญในการทำลายเเหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2450.00

กิจกรรมที่ 3 3.การจัดการสิ่งแวดล้อมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
3.การจัดการสิ่งแวดล้อมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม้กวาดทางมะพร้าว 35 บาท x 70 คน = 2,450 บาท
ถุงขยะสีดำ ขนาด 30*40 นิ้ว 100 บาท x 8 แพ็ค = 800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90 ของค่าดัชนี House Index (HI) และค่าดัชนี Container Index (CI) ลดลงหลังเข้าร่วมโครงการ มีค่าดัชนี House Index (HI) น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 10 และค่าดัชนี Container Index (CI) น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 0

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,790.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม
2. ประชาชนมีความร่วมมือกันในการรักษาความสะอาดภายในและนอกของบ้านเรือนและชุมชนตนเอง


>