กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรกรสุขใจ ห่างไกลสารเคมี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลสุไหงปาดี

หอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลสุไหงปาดี ตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1.ปัจจุบันมีการใช้สารเคมีทางการเกษตรในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชมากขึ้น ทำให้ประชาชนมีอัตราการป่วยและมีผลกระทบต่อสุขภาพจำนวนมากขึ้น

 

20.00

ในฤดูกาลผลิตปี 2565/66 ตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 33,972 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่นาข้าว จำนวน 930 ไร่ พื้นที่ปลูกไม้ผล จำนวน 3,450 ไร่ พื้นที่ปลูกไม้ยืนต้น จำนวน 28,239 ไร่ พื้นที่ปลูกพืชไร่ จำนวน 138 ไร่ พื้นที่ปลูกพืชผัก จำนวน 200.5 ไร่ และพื้นที่อื่นๆ จำนวน 1,014.5 ไร่ โดยประชาชนส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพหลักคืออาชีพเกษตรกร ซึ่งในการประกอบอาชีพทางการเกษตรมีความจำเป็นที่จะต้องสัมผัสกับสารเคมีเพื่อการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ถึงแม้ว่าจะมีข้อบ่งชี้ในการใช้สารเคมีระบุไว้อย่างชัดเจนถึงระยะเวลาการใช้งานและปริมาณที่ใช้ที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้อย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามเกษตรกรก็ยังคงต้องมีการใช้สารเคมีดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จึงอาจมีการสะสมสารเคมีเหล่านั้นในร่างกายและเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว นอกจากนี้ เกษตรกรบางส่วนยังไม่มีการป้องกันตนเองจากสารเคมีอย่างถูกวิธี เช่น ไม่มีการสวมถุงมือ ไม่สวมใส่หน้ากาก ไม่สวมหมวกและรองเท้าหุ้มส้น ในขณะที่สัมผัสกับสารเคมี จึงทำให้อาจจะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรในระยะยาวได้ ดังนั้น งานส่งเสริมการเกษตร สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลสุไหงปาดี จึงตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการเฝ้าระวังความเสี่ยงอันตรายจากสารเคมีให้แก่เกษตรกร โดยการตรวจเลือดเพื่อหาสารเคมีตกค้างในเลือด เพื่อให้เกษตรกรได้รับทราบถึงระดับของสารพิษที่อยู่ในเลือดของตนเอง เพื่อที่จะได้มีการเฝ้าระวังและปฏิบัติตนให้ถูกต้องเพื่อการลดความเสี่ยงจากอันตรายของสารเคมีทางการเกษตร ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรให้แก่เกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

อัตราการป่วยจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรลดลง ร้อยละ 60

30.00 20.00
2 เพื่อแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพและการปฏิบัติตนที่เหมาะสมและปลอดภัยในการใช้สารเคมีทางการเกษตรให้แก่เกษตรกรและประชาชน ในพื้นที่ตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติได้จริง ร้อยละ 70

30.00 25.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/02/2024

กำหนดเสร็จ 27/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินความเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
การรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินความเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจและรวบรวมข้อมูลเกษตรกรด้วยแบบประเมินความเสี่ยงการใช้สารเคมีทางการเกษตร เพื่อสืบค้นความผิดปกติเบื้องต้นและลดความเสี่ยงจากผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้น

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 27 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการคัดกรองตามแบบประเมินความเสี่ยงการใช้สารเคมีทางการเกษตร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การเจาะเลือดตรวจคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
การเจาะเลือดตรวจคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การเจาะเลือดผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อวิเคราะห์หาระดับสารเคมีตกค้างในเลือด (ตรวจหาเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส) ด้วยชุดทดสอบ และอ่านวิเคราะห์ผลการทดสอบเทียบกับค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ 1. ถุงมือยางทางการแพทย์1กล่อง x 250 บาท เป็นเงิน 250 บาท 2.ชุดทดสอบสารเคมีตกค้างในเลือด 1 ชุด x 2100 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 2,350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 27 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการเจาะเลือดเพื่อวิเคราะห์หาระดับสารเคมีตกค้างในเลือด (ตรวจหาเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส) และรับทราบผลการตรวจเลือด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2350.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีทางการเกษตรและโทษของสารเคมีต่อสุขภาพ
1.ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน × คนละ 2 ชม.× 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท 2.ค่าไวนิล ขนาด 100 x 200 เซนติเมตร จำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 500 บาท
3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน×25 บาท×1 มื้อ เป็นเงิน 1,000 บาท 4.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คน × 50 บาท เป็นเงิน2,000 บาท 5.ค่าปากกา 40 ด้าม ×5 บาท เป็นเงิน 200 บาท 6.ค่าสมุด 40 เล่ม ×10 บาท เป็นเงิน400 บาท
7.ค่ากระเป๋า 40 ใบ x 65 บาท เป็นเงิน 2,600 บาท 8. กระดาษ A4 1 รีม เป็นเงิน 150 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 27 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้อบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารเคมีทางการเกษตร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกษตรกรและประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับอันตรายต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรและสามารถป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจาการใช้สารเคมีทางการเกษตรได้
2. เกษตรกรและประชาชนได้รับคำแนะนำการดูแลสุขภาพและสามารถลดอัตราการป่วยจากการเกษตรได้


>