กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาสจังหวัดนราธิวาส

องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาสจังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 หญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง (คน)

 

50.00

ภาวะคลอดก่อนกำหนด คือ การคลอดที่เกิดขึ้นก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ หรือภาวะที่ทารกแรกเกิดที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ ซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตสูง มีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เเละยังพบว่ามีทารกที่คลอดก่อนกำหนดประมาณ 6-7 ใน 100 คน จะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม ซึ่งส่วนใหญ่ทารกจะตัวเล็ก อวัยวะต่าง ๆ ยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ เช่น ปอดไม่เติบโตพอที่จะหายใจได้ตามปกติ ตับยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้ตัวเหลือง หรือทารกดูดนมไม่ค่อยเก่ง เป็นต้น เเละอาจทำให้ทารกมีความพิการในช่วงหลังคลอด ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของทารก ครอบครัว เเละชุมชน เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ เนื่องจากต้องใช้ทรัพยากร เเละค่าใช้จ่ายสำหรับการดูเเลรักษาทารกกลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก
ดังนั้น การสร้างความตระหนักรู้ การรับรู้ให้กับประชาชน เริ่มตั้งเเต่ก่อนการตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ จนถึงเมื่อเกิดมาเป็นทารก โดยเฉพาะการสร้างการรับรู้ให้กับเด็ก เเละเยาวชน รวมทั้งคนหนุ่มสาวที่กำลังวางแผนมีบุตร ว่าต้องมีการตรวจโรค หรือความเสี่ยง หรือความสมบูรณ์ของร่างการก่อนที่จะตั้งครรภ์ เเละเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ ต้องรีบไปฝากครรภ์ที่สถานพยาบาล เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีเเละสร้างพัฒนาการให้แก่เด็กทารก
ด้วยเหตุนี้สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงอันตรายของภาวะคลอดก่อนกำหนดและตัดสินใจไปพบแพทย์โดยเร็ว ส่งผลให้สามารถรักษาภาวะคลอดก่อนกำหนดได้อย่างรวดเร็วต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดทำทะเบียนฐานข้อมูลหญิงตั้งครรภ์

สามารถจัดทำทะเบียนฐานข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ได้ครบ 100 เปอร์เซ็น

80.00 100.00
2 เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันที่ดีขณะตั้งครรภ์ตลอดอายุการตั้งครรภ์ ลดการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด

หญิงตั้งครรภ์สามารถคลอดทารกได้ครบตามกำหนด

45.00 50.00
3 เพื่อลดอัตราการคลอดก่อนกำหนด

สามารถลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

50.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดทำทะเบียนฐานข้อมูลหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดทำทะเบียนฐานข้อมูลหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมจัดทำทะเบียนฐานข้อมูลหญิงตั้งครรภ์
1. การสำรวจข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส 2. จัดทำฐานข้อมูลหญิงตั้งครรภ์

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถจัดทำทะเบียนฐานข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ได้ครบ 100 เปอร์เซ็น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องการส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ลดการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องการส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ลดการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันวางแผนดำเนินการอบรมให้ความรู้ เรื่อง กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ 2.จัดอบรมให้ความรู้แก่ หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 50 คน
งบประมาณ 1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆละ 60 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาทเป็นเงิน 2,500 บาท
3.ค่าตอบเเทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
4.ค่ากระเป๋าเอกสารพร้อมอุปกรณ์เครื่องเขียน จำนวน 50 ชุดๆ ละ 85 บาท เป็นเงิน 4,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output) : จำนวนหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คน
ผลลัตธ์ (Outcome) : มีความรู้ เรื่อง เรื่องการส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ลดการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13350.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกกรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความรู้เเละความตระหนัก เรื่อง อันตรายของการคลอดก่อนกำหนด

ชื่อกิจกรรม
กิจกกรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความรู้เเละความตระหนัก เรื่อง อันตรายของการคลอดก่อนกำหนด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด : ดำเนินการประชาสัมพันธ์ ในหัวข้อ ดังต่อไปนี้ 1. อันตรายของการคลอดก่อนกำหนด 2. สัญญาณเตือนที่ควรไปโรงพยาบาล3.การฝากครรภ์ภายใน 12 สัปดาห์เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ให้
งบประมาณ 1. ค่าป้ายไวนิลโครงการฯขนาด 1*3 เมตรๆละ 250 บาท เป็นเงิน 750 บาท 2. ค่าสติกเกอร์ข้อความขนาด A4 จำนวน 50 เเผ่นๆละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถสร้างความการรับรู้เเละความตระหนักให้แก่หญิงตั้งครรภ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,850.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถจัดทำทะเบียนฐานข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ได้ครบ 100 เปอร์เซ็น
2. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ ความตระหนักในการดูเเลสุขภาพตนเองขณะการตั้งครรภ์
3. สามารถลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ 50


>