กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเสมียน

ประชาชนในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.นาเสมียน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไม่ติดต่อเป็นกลุ่มโรคที่มีความสัมพันธ์กับนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น การรับประทานอาหารหวานมัน เค็มจัด การไม่ออกกำลังกาย ความเครียด การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก ประกอบกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป รวมถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในวิถีชีวิตมากขึ้น ทำให้การเข้าถึงปัจจัยเสี่ยงโรค NCD เป็นสิ่งง่าย ส่งผลให้กลุ่มโรค NCD เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของโลกและประเทศไทย โดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 14 ล้านคน (ร้อยละ 25.4) เท่ากับว่า 1 ใน 4 ของคนไทย ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โดยเกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 48.8) ไม่ทราบว่าตนเองป่วย พร้อมกันนั้นยังพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานถึง 5 ล้านคน (ร้อยละ 9.5) 1 ใน 3 คน (ร้อยละ 30.6) ไม่ทราบว่าตนเองเป็นเบาหวานมาก่อนและมีเพียง 1 ใน 4 คน (ร้อยละ 26.3) เท่านั้นที่สามารถควบคุมสภาวะของโรคได้
ประเทศไทยระหว่างปี 2559-2563 มีแนวโน้มการตายด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจาก 12.1 ต่อ 100,000 ประชากรเป็น 19.4 ต่อ 100,000 ประชากร และการเพิ่มขึ้นของอัตราตายจากภาวะความดันโลหิตสูงจาก 5.7 ต่อ 100,000 ประชากร เป็น12.1 ต่อ 100,000 ประชากรสถานการณ์โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในตำบลนาเสมียน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา คิดเป็นรอยละ19.31 ในกลุ่มประชากร 35 ปีขึ้นไป เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงหน่วยงาน รพ.สต. นาเสมียน จึงจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงปีงบประมาณ 2567 นี้ขึ้น เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติที่ถูกต้องในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและเป็นบุคคลต้นแบบด้านพฤติกรรมสุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติที่ถูกต้องในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ร้อยละ 80 ของ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีระดับคะแนนของแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ อย่างน้อยร้อยละ 60 จากคะแนนเต็ม

60.00 80.00
2 2. เพื่อสรรหากลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นบุคคลต้นแบบด้านพฤติกรรมสุขภาพ

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นบุคคลต้นแบบด้านพฤติกรรมสุขภาพ อย่างน้อย 3 คน

3.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 80

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
1. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ชี้แจงกลุ่มเป้าหมายแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับภาวะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  2. เสริมพลังพฤติกรรมสุขภาพ โดยค้นหาปัญหารายบุคคลและวางแผนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
    • แบบทดสอบ pre-test และ post- test
    • ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 1 ท่าน x วันละ 2ชั่วโมง x จำนวน 1 วัน x 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ร่วมกิจกรรม80 คน x 30 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,400 บาท
    • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ร่วมกิจกรรมจำนวน 80 คน x 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 4,800 บาท
    • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1x2 เมตรx 1 ป้าย เป็นเงิน 500 บาท
    • ค่าสมุดประจำตัวสุขภาพ จำนวน80 คน x 30 บาท x 1 เล่ม เป็นเงิน2,400 บาท
    • ค่าวัสดุสำนักงานเป็นเงิน 1,000 บาท หมายเหตุสามารถถัวเฉลี่ยรายจ่ายในหมวดเดียวกันได้ทุกรายการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับภาวะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12300.00

กิจกรรมที่ 2 2. ประเมินภาวะสุขภาพและพฤติกรรม จัดกิจกรรมสรรหาบุคคลต้นแบบพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
2. ประเมินภาวะสุขภาพและพฤติกรรม จัดกิจกรรมสรรหาบุคคลต้นแบบพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 . ประเมินภาวะสุขภาพและพฤติกรรมจัดกิจกรรมสรรหาบุคคลต้นแบบพฤติกรรมสุขภาพพร้อมมอบเกียรติบัตร
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ร่วมกิจกรรม80 คน x 30 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,400 บาท - ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ร่วมกิจกรรม จำนวน 80 คน x 60 บาทx 1 มื้อ เป็นเงิน 4,800 บาท
- ค่าวัสดุสำนักงานเป็นเงิน 1,000 บาท หมายเหตุสามารถถัวเฉลี่ยรายจ่ายในหมวดเดียวกันได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นต้นแบบด้านพฤติกรรมสุขภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติที่ถูกต้องในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
2. มีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นบุคคลต้นแบบด้านพฤติกรรมสุขภาพ


>