กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ “ผู้สูงวัยสุขภาพดี ชีวียืนยาว”

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

ชมรมไทเก๊กจังหวัดสตูล(เทศบาลเมืองสตูล)

นางอัญชลี บินตำมะหงง ประธาน 0817487886
นางอรพรรณ วิชญาวรนันท์ รองประธาน 0814798479
นางอนงค์ รัตนวงค์
นางสาวอารี ยุทธการกำธร
นางสาวดวงจันทร์ วีระวานิช

ลานจอดรถเทศบาลเมืองสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนสมาชิกผู้สูงอายุในชมรมไทเก๊ก (คน)

 

141.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายด้วยไทเก๊ก(คน)

 

35.00

จากผลการสำรวจสุขภาพผู้สูงอายุไทย โดยกรมอนามัยร่วมกับโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ พบว่าผู้สูงอายุไทยมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ มีสุขภาพแข็งแรงน้อยลง ส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคข้อเสื่อมเป็นต้นทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดมรสมองแตก ตีบ ตัน โรคไตเรื้อรัง ส่งผลให้เกิดภาวะติดบ้าน ติดเตียง ความพิการโรคซึมเศร้า ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง อุบัติการณ์ดังกล่าวทีเพิ่มมากขึ้นและมีความรุนแรงมากขึ้นเมื่ออายุเพิ่มสูงขึ้นการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาวะในผู้สูงอายุเบื้องต้น ควรเน้นที่การปฏิบัติตัว การดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ด้วยการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ถูกต้องส่งเสริมการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การพักผ่อนที่เพียงพอ การดูแลสุขภาพช่องปาก และมีสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุสุขภาพดี
ดังนั้นชมรมไทเก๊กจังหวัดสตูล (เทศบาลเมืองสตูล) มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด141 คนกิจกรรมในชมรมมุ่งเน้นเสริมสร้างสุขภาพของสมาชิก โดยการส่งเสริมการออกกำลังกายยามเช้าแบบไทเก๊กมีเวลาแลกเปลี่ยนพูดคุยการดูแลตัวเองในกลุ่มวัยเดียวกันโดยมุุ่งหวังให้สมาชิกมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ร่างกายสดชื่นแจ่มใส สุขภาพจิตดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายยามเช้า

จัดกิจกรรมเล่นไทเก๊กอย่างต่อเนื่อง สัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 6 วัน

6.00 6.00
2 ส่งเสริมผู้สูงอายุต้นแบบสุขภาพดี

คัดเลือกผู้สูงอายุต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพ อย่างน้อย 3 คน

0.00 3.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 35
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยไทเก๊กในผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยไทเก๊กในผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมทางกายด้วยการเล่นไทเก๊ก การยืดเส้นและลีลาศ เวลา 05.30 - 07.00 น สัปดาห์ละ 6 วัน จำนวน 60 วันตามหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายผู้นำเต้น ครั้งละ 1 ชั่วโมงๆ คนละ300 บาท สัปดาห์ละไม่เกิน 3 ครั้ง รวมแล้วไม่เกินเดือนละ3,600 บาท รายชื่อสมาชิกชมรมตามเอกสารแนบท้าย
งบประมาณ
- ค่าตอบแทนครูนำออกกำลังกาย ครั้งละ 300 บาท จำนวน 6 เดือนๆละ 3,600 บาท เป็นเงิน 21,600 บาท
- ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1 เมตร * 3 เมตรตร.ม.ละ 150 บาท เป็นเงิน450 บาท
- ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แผ่นเพลงปลั๊กพ่วงยาว เป็นเงิน 800บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กุมภาพันธ์ 2024 ถึง 30 กันยายน 2024
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีกิจกรรมไทเก๊ก ยืดเหยียด สัปดาห์ละ 6 วัน ต่อเนื่อง เป็นระยะเวลา 6 เดือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22850.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะกรรมการชมรมและคัดเลือกผู้สูงอายุต้นแบบสุขภาพดี

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการชมรมและคัดเลือกผู้สูงอายุต้นแบบสุขภาพดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมผู้คุยคณะกรรมการชมรมจำนวน 13 คน
  2. คัดเลือกผู้สูงอายุต้นแบบการดูแลสุขภาพ จำนวน อย่างน้อย 3 คน
  3. สรุปผลการดำเนินโครงการ
    งบประมาณ

- การสรุปผลการดำเนินงานโครงการ เข้าเล่ม ถ่ายเอกสารสรุปผลการดำเนินโครงการ จำนวน 2 เล่มๆละ 250 บาทเป็นเงิน500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2024 ถึง 31 สิงหาคม 2024
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินโครงการ จำนวน 2 เล่ม
คัดเลือกผู้สูงอายุต้นแบบพฤติกรรมสุขภาพที่ดี อย่างน้อย 3 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,350.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันได้
2.ผู้สูงอายุสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างมีความสุขและผ่อนคลาย
3.ผู้สูงอายุมีความสามัคคีเกิดการรวมกลุ่ม


>