กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมสาวไทยแก้มแดง มีลูกเพื่อชาติ โดย อสม.รพ.สต.บ้านลำชิง ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

นางโรสิต้า เส็นเหม๊าะ
นางขยาย มณีรัตน์
นางเจือ ดำแก้ว
นางสาวกาญจนา หมวดพรมทอง
นางสาวสุวลักษณ์ ยวงใย

หมู่ที่ 1,2,5,8

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธ์ุ ที่มีภาวะซีด

 

13.00

หลักการและเหตุ
หญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นประชากรกลุ่มหนึ่งที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง เนื่องจากมีการสูญเสียธาตุเหล็กไปกับประจำเดือน ประมาณ 12.5-15 มิลลิกรัมต่อเดือน หรือเฉลี่ยวันละ 0.4-0.5 มิลลิกรัม ซึ่งปกติร่างกายจะสูญเสียธาตุเหล็กจากการขับถ่ายวันละ 0.5-1.0 มิลลิกรัม และยังมีการสูญเสียธาตุเหล็กออกไปทางปัสสาวะ ผิวหนัง บาลแผล และการบริจาคโลหิต นอกจากนี้พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องทำให้ ร่างกายได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ได้รับการคัดกรองภาวะซีดก่อนตั้งครรภ์ มีความรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจาง และสามารถป้องกันเพื่อลดภาวะโลหิตจางเมื่อตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ในคลินิกฝากครรภ์ปี 2564 - 2566 มี ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกคิดเป็นร้อยละ ร้อยละ15.88, 21.42 และ10.00(เป้าหมายน้อยกว่าร้อยละ13)ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายหากหญิงวัยเจริญพันธุ์ขาดธาตุเหล็กในระยะก่อนตั้งครรภ์ จะส่งผลเมื่อตั้งครรภ์ ต่อการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและสมองของทารกในครรภ์ มีพัฒนาการด้านร่างกายล่าช้า ดังนั้นเพื่อลดภาวะซีดในขณะตั้งครรภ์ควรมีการป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดธาตุเหล็กในวงกว้างให้ครอบคลุมกลุ่มหญิงวัย เจริญพันธุ์โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีโอกาสตั้งครรภ์ ในการนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำชิง ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสาวไทยแก้มแดง มีลูกเพื่อชาติ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำชิง ปี 2567
เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์เพื่อรณรงค์กลุ่มที่มีความพร้อมที่จะมีบุตรหรือกลุ่มที่ยังไม่พร้อมที่จะมีบุตรให้ได้รับการส่งเสริมการมีบุตรอย่างมีคุณภาพ เพื่อการเกิดมาอย่างมีคุณภาพและจะช่วยลดภาวะพิการแต่กำเนิดของทารกลงได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. หญิงวัยเจริญพันธุ์กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะซีด
  1. หญิงวัยเจริญพันธุ์กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะซีด
13.00 13.00
2 2. หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีดได้รับการส่งต่อ
  1. หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีดได้รับการส่งต่อ
100.00 100.00
3 3. ลดอัตราการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก
  1. ลดอัตราการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก
13.00 13.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 13
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.เตรียมลงดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
1.เตรียมลงดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ติดต่อประสานงานกับ อสม.แจ้งกลุ่มเป้าหมายและให้หนังสือเชิญเข้าร่วมโครงการนัดวัน เวลา นัดหมายในหมู่บ้าน

1.2เตรียมด้านอัตรากำลัง ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพประจำรพ.สต/อสม.หน้าที่เจาะเลือด,ให้ความรู้,แจ้งผลฮีมาโตคริต

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเป้าหมายได้รับหนังสือเข้าร่วมโครงการ

2.ทีมสหวิชาชีพร่วมทำแผนดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการโดยพยาบาลวิชาชีพ

2.2ให้ความรู้เรื่องภาวะซีดในวัยเจริญพันธุ์ โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้

  • ค่าป้ายไวนิลโครงการจำนวน 1 ผืน 1.2เมตร X 2.4เมตร เป็นเงิน 500 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 100 คนๆละ 30 บาท รวมเป็นเงิน 3,000 บาท

  • ค่าแผ่นพับให้ความรู้จำนวน 100 แผ่นๆละ 2 บาท รวมเป็นเงิน 200 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากรฝึกอบรม จำนวน 3ชั่วโมงๆละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนได้ความรู้เรื่องภาวะซีดในวัยเจริญพันธ์ุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามผลเลือดประเมินภาวะซีดของผู้เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามผลเลือดประเมินภาวะซีดของผู้เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 เจาะเลือด โดย อสม.เชี่ยวชาญ/อสม.ในเขตรับผิดชอบ โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้

  • ค่าแผ่นสตริป 2 กล่อง กล่องละ 200 ชิ้น รวมเป็นเงิน 15,200 บาท

  • เข็มเจาะปลายนิ้ว ACCU-CHEK SAFE-T-PRO UNO แบบใช้แล้วทิ้ง 100 ชิ้นจำนวน 3 กล่อง กล่องละ1,100 บาทรวมเป็นเงิน 3,300 บาท

3.2 ดูค่าฮีมาโตคริสและอ่านผล โดยพยาบาลวิชาชีพ

3.3 บอกผลเลือดรายกลุ่มโดยพยาบาลวิชาชีพ

3.4 จัดแยกกลุ่มซีด /กลุ่มเฝ้าระวัง/กลุ่มปกติ

3.5 เจาะเลือดคนไข้ที่มีภาวะซีด ติดตามครั้งที่1 ครั้งที่2 และครั้งที่3

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,000.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงวัยเจริญพันธุ์กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะซีด
2. หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีดได้รับการส่งต่อ
3. ลดอัตราการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก


>