กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมการดูแลผู้พิการประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ

ตำบลกะลุวออำเภอเมืองนราธิวาสจังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ดูแลหรือญาติสามารถให้การดูแลผู้พิการได้(คน)

 

336.00

การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชนถือเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการอย่างยั่งยืนโดยมีญาติหรือผู้ดูแลและคนในชุมชนมีส่วนร่วม เนื่องจากความพิการส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทำให้ผู้พิการไม่สามารถดำรงชีวิตได้เทียบเท่าคนปกติไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการทางการแพทย์ทำให้ขาดการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างต่อเนื่องและเหมาะสมมีผลต่อคุณภาพชีวิตที่ลดลงรวมไปถึงการเป็นภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล
จากผลการดำเนินงานผู้พิการที่ผ่านมาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลในพื้นที่ตำบลกะลุวอ ทำให้ทราบถึงปัญหาของผู้พิการในการเข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพและขาดการรับทราบข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทำให้ผู้พิการขาดโอกาสรับการฟื้นฟูสภาพร่างกายให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันและช่วยเหลือตัวเองได้ดีอีกทั้งยังพบว่าผู้พิการบางรายมีศักยภาพในการประกอบอาชีพการให้ข้อมูลข่าวสารมีความรู้ในสิทธิที่ผู้พิการพึงได้รับและยังสามารถให้คำแนะนำในการฟื้นฟูสภาพร่างกายได้ดี
ดังนั้นกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านโคกศิลาจึงได้จัดทำโครงการอบรมการดูแลผู้พิการ ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อการพัฒนาระบบฟื้นฟูบริการทางการแพทย์ให้ผู้รับบริการเข้าถึงบริการของรัฐอย่างทั่วถึงเน้นการส่งเสริมให้คนพิการมีการรวมกลุ่มผู้พิการช่วยเหลือกันเองในกุล่มและมีความรู้ในสิทธิที่พึงได้ในคนพิการและเพื่อการมีศักยภาพในการปฏิบัติงานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการอย่างต่อเนื่องทั้งผู้พิการรายเดิมที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและผู้พิการที่ยังไม่เคยได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้พิการในตำบลกะลุวออย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้พิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยตนเอง หรือญาติ หรือผู้ดูแลผู้พิการอย่างต่อเนื่อง

ผู้พิการมีการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยตนเองหรือญาติ หรือผู้ดูแล

60.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้พิการและลดภาระของญาติอย่างต่อเนื่อง

ผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

60.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้พิการหรือญาติ หรือผู้ดูแลมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิของผู้พิการที่พึงจะได้รับ

ผู้พิการ ญาติ หรือผู้ดูแลมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิของผู้พิการ

70.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 336
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมการดูแลผู้พิการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมการดูแลผู้พิการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดการดำเนินงานโครงการ : ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้ เรื่องการดูเเลผู้พิการ ให้แก่ ผู้พิการหรือผู้ดูเเล จำนวน 336 คนในพื้นที่ตำบลกะลุวออำเภอเมืองนราธิวาสจังหวัดนราธิวาสโดยจัดโครงการทั้งหมด8วันๆละ 1หมู่บ้าน งบประมาณ 1.ค่าอาหารกลางวันผู้พิการหรือผู้ดูแล จำนวน 336 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 20,160 บาท 2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มผู้พิการหรือผู้ดูแล จำนวน 336 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 8,400 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 8 วันๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 14,400 บาท 4.ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตรๆละ 250 บาท เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output) 1. ผู้พิการสามารถดูเเลตนเอง มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดภาระของญาติหรือผู้ดูเเล เข้าถึงสิทธิของตนเองได้ 2. ญาติหรือผู้ดูเเลสามารถดูเเลผู้พิการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลลัพธ์ (Outcome) ผู้พิการ ญาติหรือผู้ดูเเล เข้าร่วมโครงการจำนวน 336 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
43710.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสาธิตการออกกำลังกายเเละการการดูเเลผู้พิการเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสาธิตการออกกำลังกายเเละการการดูเเลผู้พิการเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม : ดำเนินการสาธิตการออกกำลังกายสำหรับผู้พิการเบื้องต้น ที่ผู้พิการสามารถทำได้ด้วยตนเอง งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มผู้พิการหรือผู้ดูแล จำนวน 336 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 8,400 บาท 2.ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 8 วันๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 14,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output) : ผู้พิการ ญาติหรือผู้ดูเเลสามารถออกกำลังกายเเละการดูเเลตนเองที่เหมาะสม ผลลัพธ์ (Outcome) ผู้พิการ ญาติหรือผู้ดูเเล เข้าร่วมโครงการจำนวน 336 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 66,510.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้พิการสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยตนเองหรือญาติหรือผู้ดูแลผู้พิการได้อย่างต่อเนื่อง
2. ผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้พิการลดภาระของญาติและผู้ดูแล
3. ผู้พิการ ญาติหรือผู้ดูแลมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิของผู้พิการที่พึงจะได้รับ


>