กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก โดย อสม.รพ.สต.บ้านลำชิง ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

นางโรสิต้า เส็นเหม๊าะ
นางขยาย มณีรัตน์
นางเจือ ดำแก้ว
นางสาวกาญจนา หมวดพรมทอง
นางสาวสุวลักษณ์ ยวงใย

หมู่ที่ 1,2,8,5

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกสัปดาห์โดยค่าHI CI แต่ละเดือนไม่เกิน 10

 

10.00
2 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 50จากปี 2566หรือไม่มีผู้ป่วยรายใหม่

 

8.00

โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาที่สำคัญของการสาธารณสุขระดับประเทศ เนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราการตายและการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ชุมชน และสังคม ตามลำดับ แต่เดิมระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออก จะพบในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 5 - 9ปี แต่ในปัจจุบันสามารถพบได้ทุกกลุ่มอายุ ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการรณรงค์เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 และดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้ อปท.ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2557 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 ข้อ7 กำหนดโครงการนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ7(1) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ โดยเน้นเรื่องการป้องกันโรคให้แก่ประชาชนทั่วไป อย่างไรก็ตามสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกยังคงมีการระบาดทุกปี
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกอำเภอนาทวี นับตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2566 ถึงวันที่6 ธันวาคม 2566สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนาทวีได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวนทั้งสิ้น 165 รายไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต นับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขอีกโรคหนึ่งในเขตอำเภอนาทวี
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกตำบลคลองทราย ปี 2566 พบผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออก 10 ราย ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำชิง ได้มีการกิจกรรมรณรงค์ในพื้นที่ เชิงรุก เพื่อให้ผลการดำเนินกิจกรรมเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ลดจำนวนผู้ป่วยได้จริงในพื้นที่และลดความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก จึงเห็นควรจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อรองรับและดำเนินกิจกรรมควบคุมโรคในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกสัปดาห์โดยค่าHI CI ไม่เกิน 10

ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกสัปดาห์โดยค่าHI CI ไม่เกิน 10

10.00 10.00
2 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 50 จากปี2566 หรือไม่มีผู้ป่วยรายใหม่

ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจำนวน 2 รายจาก 3 ปีย้อนหลัง หรือไม่มีผู้ป่วยรายใหม่

8.00 4.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รวบรวมข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
รวบรวมข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง สำหรับนำเสนอเพื่อจัดทำโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ ข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก การป้องกันและการควบคุมโรคไข้เลือดออก แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก การป้องกันและการควบคุมโรคไข้เลือดออก แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนมื้อละ 30 บาท จำนวน 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 3,000 บาท

  • ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาทรวมเป็นเงิน 1,800 บาท

  • ค่าวัสดุเอกสารให้ความรู้ชุดๆละ 50 บาท จำนวน 100 คน เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีความตระหนัก และร่วมมือในการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ค่า HI CI ลดลงในแต่ละเดือน ไม่เกิน 10
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9800.00

กิจกรรมที่ 3 สำรวจ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
สำรวจ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 1.2x2.4 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 500 บาท

  • ค่าทรายฟอสเฟส สำหรับกิจกรรมรณรงค์ทำลายลูกน้ำยุงลาย จำนวน 1 ถัง ขนาด 25 กิโลกรัม รวมเป็นเงิน 3,200 บาท

  • ค่าเสปรย์กำจัดยุงกระป๋อง(300 มล.) จำนวน 40 แพ็ค X 75 บาท เป็นเงิน 3,000บาท

  • โลชั่นทากันยุงแบบซอง(8มล.x24) จำนวน 40 แพ็ค X 145 บาท เป็นเงิน 5,800บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชน มีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างทันท่วงที

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12500.00

กิจกรรมที่ 4 มอบประกาศนียบัตร

ชื่อกิจกรรม
มอบประกาศนียบัตร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • มอบประกาศนียบัตร จำนวน 100 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนที่เข้าร่วมอบรมได้รับประกาศนียบัตรการอบรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,800.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความตระหนัก และร่วมมือในการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ค่า HI CI ลดลงในแต่ละเดือน ไม่เกิน 10
2. จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ50
3. ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างทันท่วงที


>