กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

รพ.สต.บ้านดอนศาลา

นางโสภา นภานิวัติกุล 089598536 ผอ.รพ.สต.บ้านดอนศาลา ผู้ประสานงาน

พื้นที่เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลาม.4,6,8,9 ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวน(คน)ผู้บริโภคที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

 

5.00
2 จำนวนของเกษตรกร (คน) ที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

 

20.00

ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นเนื่องจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เป็นปัญหาใหญ่และรุนแรงมากของสังคมไทย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสังคมไทยยังขาดความตระหนักร่วมกันอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะผลกระทบต่อเกษตรกรและประชาชนทั่วไป สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ คือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
เขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา เป็นพื้นที่หนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ นา , สวนยางพารา สวนผลไม้ และปลูกผักสวนครัว ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงขึ้น
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่ ม.4,6,8,9 ต.มะกอกเหนือ จึงได้จัดทำโครงการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกรขึ้น เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ ม.4,6,8,9 ต.มะกอกเหนือ ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใด เพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้บริโภคมีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

จำนวนผู้บริโภคที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)

5.00 3.00
2 เพื่อลดปัญหาเกษตรกรมีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

จำนวนของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย (คน)

20.00 15.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/01/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมคณะทำงานโครงการ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่รพ.สต. และประสานอสม.แกนนำในแต่ละหมู่บ้าน จำนวน 10 คน

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมคณะทำงานโครงการ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่รพ.สต. และประสานอสม.แกนนำในแต่ละหมู่บ้าน จำนวน 10 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานโครงการเพื่อกำหนดรูปแบบกิจกรรมในการดำเนินโครงการและค้นหากลุ่มเป้าหมาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 9 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการและรูปแบบการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.ชี้แจงโครงการแก่กลุ่มเสี่ยงเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
2.ชี้แจงโครงการแก่กลุ่มเสี่ยงเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์แจกใบเชิญเข้าร่วมกิจกรรมโดยเลือกกลุ่มเสี่ยงเกษตรกรทั้ง 4 หมู่บ้าน โดยเลือกรายที่มีการใช้สารเคมี ยาฆ่าหญ้า ในไร่หรือนา เป็นต้นและชี้แจงรายละเอียดแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 19 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการตามจำนวนที่วางไว้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 3.ตรวจหาสารเคมีแก่เกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
3.ตรวจหาสารเคมีแก่เกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมตรวจหาสารเคมีแก่เกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี จากกลุ่มเสี่ยงที่รับสมัครไว้ จำนวน 50 คน 1.ค่าจัดทำไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการฯ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1.2 x 2.8 เมตร เป็นเงิน 500 บาท
2.ชุดตรวจสารเคมีในเลือด ประกอบด้วย
- ถาดดินน้ำมัน จำนวน 2 อัน อันละ 150 บาท เป็นเงิน 300 บาท
- แผ่นสไลด์จำนวน 2 กล่อง กล่องละ 175 บาทเป็นเงิน 350 บาท
- Cap tube จำนวน 2 กล่อง กล่องละ 130 บาท เป็นเงิน 260 บาท - กระดาษตรวจ จำนวน 2 ชุด ชุดละ 100ชุดตรวจ เป็นเงิน 2,400 บาท
- สำลีแอลกอออล์ แผงละ 10 ก้อน จำนวน 10 แผง แผงละ 15 บาท เป็นเงิน 150 บาท
- สำลีจำนวน 20 ห่อ ห่อละ 10 บาท เป็นเงินจำนวน 200 บาท - เข็มเจาะปลายนิ้ว จำนวน 150 อัน อันละ 3.75 บาท เป็นเงิน 562.50 บาท
- กล่องเก็บอุปกรณ์จำนวน 1 กล่อง เป็นเงิน 150 บาท
3.เอกสารแผ่นพับให้ความรู้เกษตรกรผู้ใช้สารเคมีฯ จำนวน 50 ชุด ชุดละ 2 บาท เป็นเงิน 100 บาท 4.ค่าเอกสารแบบประเมินความพึงพอใจจำนวน 50 ใบ ชุดละ 1 บาท เป็นเงิน 50 บาท 5.ค่าเอกสารคัดกรองกลุ่มเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจำนวน 50 ชุด ชุดละ 1 บาท เป็นเงิน 50 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มีนาคม 2567 ถึง 11 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจหาสารเคมีร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5072.50

กิจกรรมที่ 4 แจ้งผลการตรวจพร้อมคำแนะนำที่ถูกต้องของการดูแลสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
แจ้งผลการตรวจพร้อมคำแนะนำที่ถูกต้องของการดูแลสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แจ้งผลการตรวจพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพและจ่ายยาสมุนไพรรางจืดในรายที่มีผลการตรวจสุขภาพอยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัย และแจ้งผลการตรวจผักในพื้นที่ หมู่ที่ 4 ,6,8,9 9. ต.มะกอกเหนือ รวมทั้งแนะนำให้กลุ่มเป้าหมายปลูกผักไว้รับประทานเองในครัวเรือน โดยเน้นย้ำให้ปลูกผักแบบไม่ใช้สารเคมี ให้บริโภคและแจ้งนัดมาตรวจเลือดอีกครั้งหลังรับประทานผักปลูกเองในรายที่เสี่ยง

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายที่มีระดับผลการตรวจสารเคมีในเลือดอยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัยได้รับรางจืดทุกราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ตรวจหาสารเคมีปนเปื้อนในผักที่จำหน่ายในร้านค้าในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านดอนศาลา

ชื่อกิจกรรม
ตรวจหาสารเคมีปนเปื้อนในผักที่จำหน่ายในร้านค้าในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านดอนศาลา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจหาสารเคมีปนเปื้อนในผักที่จำหน่ายในร้านค้าในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านดอนศาลา โดยลงพื้นที่ชี้แจงทำความเข้าใจกับทางร้านค้าในพื้นที่และเก็บตัวอย่างผักที่จำหน่ายในร้านมาตรวจสอบ โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
1. ชุดทดสอบหายาฆ่าแมลงพร้อมอุปกรณ์ จำนวน 2 ชุด ชุดละ 1,926บาท รวมเป็นเงินจำนวน 3,852 บาท
2. ขวดสำหรับใสตัวอย่าง จำนวน 30ใบ ใบละ 5 บาท เป็นเงินจำนวน150 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 12 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผักที่จำหน่ายในร้านค้าในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลาได้รับการตรวจ ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4002.00

กิจกรรมที่ 6 ตรวจหาสารเคมีแก่เกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี ครั้งที่ 2 และประเมินผลสุขภาพรอบที่ 2

ชื่อกิจกรรม
ตรวจหาสารเคมีแก่เกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี ครั้งที่ 2 และประเมินผลสุขภาพรอบที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมตรวจหาสารเคมีแก่เกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี ครั้งที่ 2 ในรายที่มีผลการเจาะหาสารเคมีในเลือดในระดับที่ไม่ปลอดภัย ครั้งที่ 1 โดยทีมสุขภาพจาก รพ.สต.บ้านดอนศาลา ซึ่งทางทีมสุขภาพเน้นย้ำเรื่องการปลูกผักไว้บริโภคในครัวเรือนโดยไม่ใช้สารเคมีร่วมด้วย

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 เมษายน 2567 ถึง 26 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,074.50 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เกษตรกร (กลุ่มเสี่ยง) มีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีในเกษตรกรที่ถูกต้องและปลอดภัย
2.เกษตรกรในชุมชนได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด
3.ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา
4.ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ทราบถึงพิษภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
5.ประชากรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการบำบัดรักษาที่ถูกต้องและสามารถป้องกันตนเองในการป้องกันไม่ให้สารเคมีเข้าสู่ร่างกายจนเป็นอันตราย


>