กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมและป้องกันโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านดอนศาลา ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา

ผู้ประสานงาน นางโสภานภานิวัติกุล 0895985363 ผอ.รพ.สต.บ้านดอนศาลา

ม.4,ม.6,ม.8,ม.9 ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคเบาหวาน

 

12.28

ปัจจุบันมีประชาชนเป็นจำนวนมากที่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคอันเกิดจากพฤติกรรมซึ่งเกิดจากปัญหาหลายด้านที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพเช่น ด้านเศรษฐกิจสังคม ค่านิยมและการขาดความรู้ปัญหาเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ประชาชนมองข้ามในเรื่องสุขภาพและโรคที่ตามมาเนื่องจากการดำเนินชีวิตในแต่ละวันล้วนมีการแข่งขันมากขึ้นทำให้เกิดช่องว่างในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องสุขภาพและโรคต่างๆที่สามารถป้องกันได้
สำหรับจังหวัดพัทลุง สถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงจากข้อมูล HDC มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ เพิ่มขึ้นทุกปี โดย ในปีงบประมาณ 2561 - 2565 จังหวัดพัทลุง มีอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 853.18 , 1,136.36, 712.50 782.08 และ 346.19 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ และจากสถิติการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ของประชากรกลุ่มอายุ 3๕ ปีขึ้นไปในเขตรับผิดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลามีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ ในปี 2561 -2565ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 119 คน , 103 คน ,132 คน ,174 คน และ 108 คน ในปี 2565 โดยในปีงบประมาณ 2565ที่ผ่านมาได้ทำการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 3๕ ปีขึ้นไปพบอัตรากลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบ จำนวน 108 คน ได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้านจำนวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ85.18จำนวนที่ถูกวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน14 คน คิดเป็นร้อยละ 13.46 จากสถิติการเกิดโรคดังกล่าว การแก้ไขปัญหาของโรคความดันโลหิตสูงต้องมีการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วย แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อเกิดเป็นโรคแล้วจึงเป็นทางเลือกที่ดี การป้องกันและควบคุมโรคซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคลครอบครัวและชุมชน
จังหวัดพัทลุงมีอัตราตายของผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 0.12 ต่อแสนประชาการอำเภอควนขนุนมีอัตราตาย
ร้อยละ 0.14 ต่อแสนประชากร ตำบลมะกอกเหนือมีอัตราตาย 0.22 ต่อแสนประชากร (ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง) และ มีแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นทุกๆปี จากสถิติตั้งแต่ 2552 – 2565 ความชุกของผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังนี้ 5.483, 5.481 , 5.492,5.216 ต่อแสนประชากร ตามลำดับจากสถิติการเกิดโรคเบาหวานของประชากรกลุ่มอายุ 3๕ ปีขึ้นไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา จังหวัดพัทลุงปี ๒๕65คัดกรองโรคเบาหวานกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปดำเนินการคัดกรอง จำนวน 1,125 คนคิดเป็นร้อยละ 96.80 พบ ปกติ จำนวน872 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00 พบว่า กลุ่มแฝง/เสี่ยง จำนวน 206 คน คิดเป็นร้อยละ 18.90 และกลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 1.01 และพบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ในปี 2562 - 2565 จำนวน674.72 , 427.50 , 148.51,544.55 ตามลำดับ อัตราต่อแสนประชากร (ข้อมูล HDC สสจ.พัทลุง) การที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประเทศชาติสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนมีสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วย แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อเกิดเป็นโรคแล้วจึงเป็นทางเลือกที่ดี การป้องกันและควบคุมโรคซึ่งสามารถกระทำได้ทั้งการส่งเสริมสุขภาพด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคลครอบครัวและชุมชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงหาแนวทางปรับความคิด แนวปฏิบัติให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เกิดความตระหนัก ร่วมกันดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง โดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อความยั่งยืนต่อไปในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใน กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ และมีความตระหนัก ต่อการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม เฝ้าระวังไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเกิดโรคดังกล่าวและโรคแทรกซ้อนที่ตามมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

12.28 10.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

16.70 14.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (CVA) ลดลง

22.00 20.00
4 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย  ลดลง

22.00 20.00
5 เพื่อเพิ่มผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี

ร้อยละผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี

49.78 50.00
6 เพื่อเพิ่มผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี

ร้อยละผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี

49.78 50.00
7 เพื่อเพิ่มผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี

ร้อยละผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี

49.78 50.00
8 เพื่อเพิ่มผู้ป่วยที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี

ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี

45.68 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,300
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานโครงการจำนวน 6 คน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานโครงการจำนวน 6 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานโครงการจำนวน 6 คน เพื่อชี้แจงโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มกราคม 2567 ถึง 15 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ประชุมคณะทำงาน และได้แผนการทำงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนหรือ ส่งเสริมการมารับบริการ คัดกรองของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนหรือ ส่งเสริมการมารับบริการ คัดกรองของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนหรือ ส่งเสริมการมารับบริการ คัดกรองของประชาชนกลุ่มเป้าหมายโดยทีมสุขภาพของ รพ.สต.บ้านดอนศาลา
1.ค่าแถบตรวจระดับน้ำตาลในเลือดพร้อมเข็มเจาะ จำนวน 15กล่อง ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท 2.ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะโรคกลุ่ม Metabotic จำนวน 1,500 แผ่น (หน้า-หลัง) x 1 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
3. สำลีก้อนชุปแอลกอฮอล์สำเร็จรูป แผงละ 10 ก้อน จำนวน 240 แผง แผง ละ 15 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท 4.สำลีแห้งฆ่าเชื้อ 250 ห่อ ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต : ประชาชนได้รับการคัดกรองไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ผลลัพธ์ : กลุ่มเป้าหมายรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองและสามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22600.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองมีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกลุ่มเป้าหมายที่เข้าโครงการและมีข้อมูลพฤติกรรมเสี่ยงโดยจัดกิจกรรมให้ความรู้ที่ รพ.สต.บ้านดอนศาลา

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต : กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 40 ได้รับการติดตาม ผลลัพธ์ : ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงหลังจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมติดตามการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มเดิมในเขตรับผิดชอบ จำนวน 158 คน ได้รับการติดตามรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ป่วยได้รับยาและกินยาอย่างต่อเนื่องทุกราย และไม่เกิดโรคแทรกซ้อนรายใหม่

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต : ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน ผลลัพธ์ :1.ผู้ป่วยได้รับยาและกินยาอย่างต่อเนื่องทุกราย 2.ไม่เกิดโรคแทรกซ้อนรายใหม่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน โดยการ ตรวจตา ไต เท้า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน โดยการ ตรวจตา ไต เท้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มเดิมในเขตรับผิดชอบ จำนวน158คน ได้เข้ากลุ่มเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน โดยการ ตรวจตา ไต เท้าโดยทีมสุขภาพ รพ.สต.บ้านดอนศาลา

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต : ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนทางเท้า ผลลัพธ์ : ไม่เกิดภาวะแทรก ซ้อนรายใหม่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 คัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนหรือส่งเสริมการมารับบริการคัดกรองของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนหรือส่งเสริมการมารับบริการคัดกรองของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,300 คน ได้รับการคัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนโดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต.และ อสม.ลงพื้นที่ไปคัดกรองในแต่ละหมู่บ้าน โดยดำเนินการทุกเดือนจนสิ้นสุดโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต : ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรอง ร้อยละ 90 ผลลัพธ์ : กลุ่มเป้าหมายรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองและสามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านในกลุ่มสงสัยป่วย/ส่งต่อเพื่อการวินิจฉัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านในกลุ่มสงสัยป่วย/ส่งต่อเพื่อการวินิจฉัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเสี่ยงที่มีระดับความดันโลหิต กลุ่มสงสัยเป็นโรคได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านโดย อสม.ในเขตที่รับผิดชอบ โดยดำเนินการติดตามทุกเดือนจนกว่าสิ้นสุดการดำเนินการ ถ้าพบความผิดปกติต่อเนื่องส่งต่อเพื่อรับการวินิจฉัยจากแพทย์ทุกราย โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
- เครื่องวัดความดันโลหิต(ดิจิตัล) คัฟใหญ่ จำนวน 2 เครื่อง ๆ ละ 3,500 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต : ร้อยละ 60 ของกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน
ผลลัพธ์ : กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการติดตามวัดความดันที่บ้านแล้วส่งต่อเพื่อการวินิจฉัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมติดตามการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มเดิม จำนวน 281 คน โดยทางทีมสุขภาพ รพ.สต.บ้านดอนศาลา จะติดตามประเมินผู้ป่วยทุกรายให้ได้รับการติดตามรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
- เครี่องตรวจวัดความเค็ม จำนวน 5 เครื่อง x 1,200 บาทเป็นเงิน 6,000 บาท เพื่อลงพื้นที่สุ่มตรวจความเค็มในอาหารที่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงบริโภคในครัวเรือน หากพบความผิดปกติในผู้ป่วยรายใด ทางทีมสุขภาพจะเข้มงวดและให้คำแนะนำทั้งผู้ป่วยและผู้ประกอบอาหารให้ผู้ป่วยที่บ้านทราบถึงโทษและสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญถึงการประกอบอาหารที่ลดเค็ม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต : ร้อยละ100 ของผู้ป่วยได้รับการติดตาม ผลลัพธ์ : 1.ผู้ป่วยได้การสุ่มตรวจอาหารที่บริโภคในครัวเรือนและได้รับคำแนะนำเรื่องการบริโภคอาหารเพื่อลดการบริโภคอาหาร หวาน มัน เค็ม ไม่เกิดโรคแทรกซ้อนรายใหม่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,600.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่
2.ลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
3.ลดอัตราการตายด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง


>