กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลสมหวัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลสมหวัง

ชมรมอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านหวัง

1. นายบุญเสริม สงแทน
2. นายประคอง ขาวขำ
3. นางกาญจนา ดำชื่น
4. นางวีระวุธ หอชู
5. นางปรีดา พรหมกลาง

หมู่ที่ 3 ,หมู่ที่ 4 ตำบลสมหวัง อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ โดยในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมาก และบางรายมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจากรายงานทางระบาดวิทยาย้อนหลัง ๕ ปี ในเขตพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหวัง พบว่า ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๖ มีอัตราป่วยด้วย โรคไข้เลือดออก ๖๓๒.๔๖, ๒๑๗.๓๙ ๐,๐ และ ๕๓.๙๗ ต่อแสนประชากร ตามลำดับโดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งจะเห็นได้ว่าเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหวัง ในปี ๒๕๖๒ มีอัตราป่วยสูงที่สุด ทั้งนี้พบว่าโรคติดต่ออื่นๆที่เกิดขึ้นบ่อยในชุมชน และต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง จึงความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค และปัจจัยสำคัญในการควบคุมและป้องกันโรคในชุมชนที่มีประสิทธิภาพ คือ การได้รับความรู้อย่างทั่วถึง การจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน ซึ่งการจัดการเพื่อให้เกิดความยั่งยืนนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการ และชุมชนในการดำเนินงาน รวมทั้งสร้างความตระหนักและมีการดำเนินงานในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อในชุมชนต่อไป จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในชุมชน จะต้องดำเนินการจากต้นเหตุ คือ ชุมชนมีส่วนร่วมในการการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันการเกิดโรค ชมรมอาสาสมัครประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหวัง จึงมีแนวคิดที่จะดำเนินงานเพื่อควบคุมและป้องกันโรคติดต่อในชุมชนให้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน และ ทุกหมู่บ้าน จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน ปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ทั้งนี้เพื่อสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนในชุมชนและเพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

20.00
2 ประชาชนได้รับความรู้ในการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อในชุมชน

 

50.00
3 ความชุกของลูกน้ำยุงลาย (ค่า CI HI) ซึ่งเป็นสาเหตุการป่วยของโรคไข้เลือดออก

 

20.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ในการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ประชาชนได้รับความรู้ในการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคติดต่อ ร้อยละ 90 ของครัวเรือนทั้งหมด

50.00 90.00
2 เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย (ค่า CI HI) ซึ่งเป็นสาเหตุการป่วยของโรคไข้เลือดออก

ความชุกของลูกน้ำยุงลาย ค่า CI = 0 ,HI ≤ 10

10.00 9.00
3 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกินเกณฑ์ตามกำหนด

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกินค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี

20.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,564
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้แก่ประชาชนในเขตรับผิดชอบ ร่วมกับการประชุมหมู่บ้านทั้งสองหมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ประชาชนได้รับความรู้ในการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อในชุมชน ร้อยละ 90 ของครัวเรือนทั้งหมด -ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โรคติดต่อในชุมชน โรงเรียน - ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออก จำนวน 3 ป้าย X300 บาท = 900 บ. เป็นเงิน 900บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีป้ายประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อในพื้นที่ - ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออก จำนวน 3 ป้าย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
900.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมรณรงค์ Big Cieaning Day

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ Big Cieaning Day
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์ Big Cieaning Day ในโรงเรียนและชุมชน -ค่าน้ำดื่มในกิจกรรมรณรงค์การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี และกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน 2 หมู่บ้าน X2 ครั้ง x 500 บาท เป็นเงิน1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีกิจกรรมรณรงค์ Big Cieaning Day ในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 4 ตรวจประเมินลูกน้ำยุงลาย HI ,CI

ชื่อกิจกรรม
ตรวจประเมินลูกน้ำยุงลาย HI ,CI
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจประเมินลูกน้ำยุงลาย HI ,CI ทุกสัปดาห์ โดย อสม. -ค่าสารกำจัดลูกน้ำยุงลาย บรรจุถังละ 1,250 ซอง (ซองชา) ราคา ถังละ 7,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ความชุกของลูกน้ำยุงลาย (ค่า CI HI) ลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 5 พ่นหมอกควันป้องกันการเกิดโรคในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
พ่นหมอกควันป้องกันการเกิดโรคในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.พ่นหมอกควันป้องกันการเกิดโรคในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเปิดเทอม จำนวน 3 แห่ง (2 ครั้ง) มีค่าใช้จ่าย - ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่พ่นหมอกควัน จำนวน 3 แห่งๆละ 2 ครั้งละ 200 บาท จำนวน 2 เทอม เป็นเงิน2,400 บาท - ค่ารองเท้าบูทยาวกันน้ำ จำนวน 5 คู่ คู่ละ 270 บาท เป็นเงิน 1,350 บาท 2.พ่นหมอกควันกรณีเกิดโรคในชุมชน เพื่อป้องกันการระบาดของโรค - ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่พ่นหมอกควัน จำนวน 10 รายๆละ 200 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท -ยาทากันยุงในครัวเรือน ขนาด 8 มล.ราคาซองละ 8 บาท จำนวน 100 ซอง เป็นเงิน 800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 28 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนได้รับการพ่นหมอกควันป้องกันการเกิดโรคเปิดเทอม จำนวน 3 แห่ง (2 ครั้ง) -บ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและรัศมี100เมตรได้รับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนได้รับความรู้ในการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อในชุมชน
2.ความชุกของลูกน้ำยุงลาย (ค่า CI HI) ไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด
3.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง


>