กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองจิก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร่วมใจ คัดแยกขยะ เพื่อลดโรค โดยกรรมการธนาคารขยะชุมชนย่านมัสยิด ปี67

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองจิก

กรรมการธนาคารขยะชุมชนย่านมัสยิด

1.นางปะยีซะ บาสาลาฮา
2.นางกัลโซม ดือราแม
3.นางสุมานะ เบ็ญนาวาฟ
4.นางฮามีดะ แวยายอ
5.นางสาวรอฮานิง เปาะมะ

ชุมชนย่านมัสยิด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

 

82.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

 

53.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

43.00

จากสถานการณ์ปัจจุบันปัญหาขยะนับได้ว่าเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดในด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการก่อให้เกิดมลพิษส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นเนื่องจากการเพิ่มของจำนวนประชากร การเจริญเติบโตและพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคม และเทคโนโลยี ตลอดจนพฤติกรรมการอุปโภคและการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ขยะในชุมชนมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของขยะอันตรายในชุมชน อาทิ เช่น ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ ภาชนะบรรจุน้ำยาทำความสะอาด กระป๋องสี และยาฆ่าแมลง แบตเตอรี่ เป็นต้น ปัจจุบันขยะอันตรายจากชุมชนที่เกิดขึ้น ยังขาดระบบการคัดแยกออกจากขยะมูลฝอยรวม และการจัดการขยะอันตรายที่ดี ขยะอันตรายเป็นขยะที่มีพิษอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น หลอดไฟ แบตเตอรี่รถยนต์/มือถือ ถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปรย์/ยาฆ่าแมลง ภาชนะใส่น้ำมันเครื่อง ยารักษาโรคที่เสื่อมสภาพ น้ำยาขัดเงา สีทาบ้าน ของเสียของเหลือใช้ที่เสื่อมสภาพ และภาชนะบรรจุจากผลิตภัณฑ์ในบ้านเรือน ที่มีหรือปนเปื้อนด้วยสารอันตรายประเภทต่างๆ สารพิษ สารกัดกร่อน สารไวไฟ เป็นต้น หากถูกทิ้งปะปนไปกับขยะมูลฝอยทั่วไปและทำให้เกิดปัญหากับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การทิ้งลงพื้นดิน ทิ้งรวมกับขยะมูลฝอยทั่วไป ทิ้งลงท่อระบายน้ำหรือเผา จะทำให้เราได้รับสารอันตรายเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางตรง และทางอ้อม โดยสารพิษที่มีอยู่ในของเสียอันตรายจะแพร่กระจายและสะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมและห่วงโซ่อาหารจนในที่สุดกลับมาสู่ตัวเราได้

จากโครงการธนาคารขยะชุมชนย่านมัสยิดในปีที่ผ่านมา พบว่าการดำเนินโครงการได้รับการตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี กลุ่มเป้าหมายมีการให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมเป็นอย่างดี คณะกรรมการธนาคารขยะชุมชนย่านมัสยิด จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้จัดโครงการร่วมใจ คัดแยกขยะ เพื่อลดโรค โดยกรรมการธนาคารขยะชุมชนย่านมัสยิด ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

82.00 70.00
2 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

53.00 57.00
3 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

43.00 51.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการธนาคารขยะชุมชนย่านมัสยิด เพื่อปรึกษาหารือการจัดกิจกรรมในโครงการฯ

ค่าอาหารว่าง 30 บาท x 5 คน = 150 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 เมษายน 2567 ถึง 18 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กรรมการธนาคารขยะทุกคน มีความรู้ในการจัดทำโครงการฯ และเสนอขออนุมัติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
150.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมสมาชิกเพื่อให้มีความรู้ในการคัดแยกขยะ

ชื่อกิจกรรม
อบรมสมาชิกเพื่อให้มีความรู้ในการคัดแยกขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมสมาชิก จำนวน 50 คน

-ค่าอาหาร 70 บาท x 50 คน เป็นเงิน 3,500 บาท

-ค่าอาหารว่าง 35 บาท x 50 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท

-ค่าวิทยากร 1 คน x 600 บาท x 6 ชม. เป็นเงิน 3,600 บาท

-ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 4,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มีนาคม 2567 ถึง 6 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ชาวบ้านมีความรู้ในการคัดแยกขยะ

2.ชาวบ้านมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถทำถังขยะเปียกได้

  1. ชาวบ้านดำเนินการซื้อขายขยะ (recycle) และเก็บรวมรวมขยะอันตรายส่ง อปท. ทุกเดือน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14700.00

กิจกรรมที่ 3 ซื้อขายขยะ (recycle)

ชื่อกิจกรรม
ซื้อขายขยะ (recycle)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีการซื้อขายขยะของสมาชิก ณ ชุมชนย่านมัสยิด เดือนละ 1 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มีนาคม 2567 ถึง 18 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถรวบรวมปริมาณขยะ (recycle) ในแต่ละเดือน เพื่อรายงานยอดต่อเจ้าหน้าที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 จัดเก็บรวบรวมขยะอันตรายจากชุมชนย่านมัสยิด

ชื่อกิจกรรม
จัดเก็บรวบรวมขยะอันตรายจากชุมชนย่านมัสยิด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คณะกรรมการธนาคารขยะชุมชนย่านมัสยิด รวบรวมมูลฝอยอันตราย ส่งให้เจ้าหน้าที่เทศบาล  เดือนละ 1 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 มีนาคม 2567 ถึง 19 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถรวบรวมปริมาณขยะอันตราย ในแต่ละเดือน ส่งให้เจ้าหน้าที่เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามและประเมิณผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมิณผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการธนาคารขยะเพื่อสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

ค่าอาหารว่าง 30 บาท x 5 คน = 150 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กันยายน 2567 ถึง 25 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถสรุปผลการดำเนินงานโครงการเป็นรูปเล่มส่งในกับกองทุนต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในชุมชนย่านมัสยิด มีความรู้ ความเข้าใจในการคัดแยกขยะ

2.ปริมาณขยะในชุมชนมีจำนวนลดลง

3.ชุมชนมีรายได้เพิ่มจากการซื้อขายขยะ


>