กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาระบบบูรณาการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน รพ.สต.บ้านฝาละมี ปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบบูรณาการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน รพ.สต.บ้านฝาละมี ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

รพ.สต.บ้านฝาละมี

เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมีได้แก่ หมู่ที่ 1และหมู่ที่ 10ตำบลฝาละมีอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

35.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

40.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

15.00
4 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

6.00

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ด้วยพบว่าอัตราชุกของโรคเหล่านี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะโรคดบาหวานโรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมององค์การอนามัยโลก (WHO)รายงานว่า ในปี 2552 ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีจำนวน 108 ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 422 ล้านคน ในปี 2557 มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน 1.5 ล้านคน นอกจากนี้ ยังพบว่าประชากรทั่วโลกที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.7 เป็นร้อยละ 8.5 หรือเมื่อเปรียบเทียบแล้ว พบว่า ปัจจุบันประชากรวัยผู้ใหญ่ 1 ใน 11 คนป่วยเป็นโรคเบาหวาน จากการกำเนินงานเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในปีงบประมาณ 2566 พบว่า จังหวัดพัทลุง มีอัตราตายของผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 3.95 อำเภอปกพะยูน มีอัตราตาย ร้อยละ 4.39 และ มีแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นทุกๆปี จากสถิติตั้งแต่ 2561 – 2566ความชุกของผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังนี้ 4.615, 5.158, 5.483, 5.481 ต่อแสนประชากร ตามลำดับเนื่องมาจากปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามภาวะสุขภาพเช่นพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่อาจทำให้เกิดความเครียด ภาวะโภชนาการเกินการขาดการออกกำลังกายจากสถิติการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของ รพ.สต.บ้านฝาละมีพบว่า ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ยังไม่เป็นเบาหวานจำนวน 1,615 คนได้รับการคัดกรองเจาะน้ำตาลปลายนิ้วจำนวน 1,521 คนคิดเป็นร้อยละ 94.18เป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 537 คนพบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 0.94ในส่วนของผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีจำนวน 87 คนคิดเป็นร้อยละ 49.15สำหรับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง พบว่า ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,396 คนได้รับการคัดกรอง จำนวน 1,305 คนคิดเป็นร้อยละ 93.48เป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 537 คนพบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 6 คนคิดเป็นร้อยละ 7.32ในส่วนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีจำนวน 322 คน คิดเป็นร้อยละ 79.51 เพื่อให้การดำเนินงานการป้องกันและควบคุมจัดการงานโรคไม่ติดต่อเรื่อรัง NCDsเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เราต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายสุขภาพรวมทั้งประชาชนเพื่อพัฒนาระบบบูรณาการการป้องกันและควบคุมจัดการโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดผู้ป่วยรายใหม่ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรครวมทั้งการลดอัตราตายจากภาวะแทรกซ้อนของโรคอีกด้วย
ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมีจึงจัดทำโครงการพัฒนาระบบบูรณาการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน รพ.สต.บ้านฝาละมี ปีงบประมาณ 2567 ขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปและผู้ป่วยมีความตระหนักและสร้างความรอบรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ 2สเพื่อให้ประชาชนสามารถป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

35.00 30.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

40.00 30.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

15.00 10.00
4 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

6.00 4.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 320
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,650
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มเป้าหมายในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มเป้าหมายในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.คัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป
งบประมาณ 1.จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล แสดงภาวะการตเต้นของหัวใจได้ แบบอัตโนมัติจำนวน 3 เครื่องๆ ละ 4,500 บาท เป็นเงิน 13,500 บาท

2.ค่าเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 3 เครื่อง เครื่องละ 2,650 บาท เป็นเงิน 7,950 บาท ( หมายเหตุ แถบตรวจน้ำตาล ขอสนับสนุนจาก รพ.ปากพะยูน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากกว่าร้อยละ90
ผลลัพธ์ 1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายรับรู้สถานะสุขภาพของตนเองและสามารถดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้เหมาะสม
2.ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากการคัดกรองน้อยกว่าร้อยละ 2 และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากการคัดกรองน้อยกว่าร้อยละ5

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21450.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสร้างกระแสในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสร้างกระแสในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.ประชาสัมพันธ์รณรงค์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
2.จัดกิจกรรมสร้างกระแสการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักษ์สุขภาพโดยการออกกำลังกายแอโรบิค หรือบาสโลบไลน์เด้นท

3.ตรวจุขภาพกลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมรักสุขภาพสร้างกระแสในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักษ์สุขภาพโดยการรณรงค์การออกกำลังกายและตรวจสุขภาพครั้งที่ 1 เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมรักสุขภาพ

งบประมาณ
1.ค่าอาหารว่าง สำหรับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ผู้เกี่ยวข้อง,วิทยากร 5 คน และผู้เข้ารับการอบรม 50 คน รวมเป็น 55 คน x1มื้อ x25บาท เป็นเงิน 1,375 บาท
2.ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 1ชม. จำนวน 2 คนเป็นเงิน 1,200บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจำนวน 50 คน

ผลลัพธ์ 1.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนการออกกำลังกายที่เหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2575.00

กิจกรรมที่ 3 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก3 อ. 2 ส.ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก3 อ. 2 ส.ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.อบรมให้ความรู้เรื่องโรค อาหารและการออกกำลังกายในกลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

งบประมาณ
1.ค่าอาหารว่าง สำหรับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ผู้เกี่ยวข้อง,วิทยากร5คนและผู้เข้ารับการอบรม 50 คน รวมเป็น 55 คน x1มื้อ x25บาท เป็นเงิน 1,375 บาท
2.ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3ชม. เป็นเงิน 1,800บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเข้ารับการอบรมจำนวน 50 คน
ผลลัพธ์ 1.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3175.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามเจาะ FBS กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเจาะ FBS กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1ติดตามเจาะ FBS กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ค่าDTX >100mg%
งบประมาณ -ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต กลุ่มเสี่ยงและสงสัยเป็นโรค เบาหวาน จากการคัดกรองได้รับการติดตามเจาะFBSมากกว่าร้อยละ80

ผลลัพธ์ กลุ่มเสี่ยงและสงสัยเป็นโรค เบาหวานรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองมีภาวะสุขภาพดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน กลุ่มเสี่ยง/สงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน กลุ่มเสี่ยง/สงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน กลุ่มแฝง/เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง (SBP=120-139 mmHg. หรือ DBP = 80-89 mmHg.) หลังได้รับการคัดกรองภายใน 180 วัน
งบประมาณ -ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.กลุ่มเสี่ยงและสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงจากการคัดกรองได้รับการติดตามวัดความดันที่บ้านมากกว่าร้อยละ80
ผลลัพธ์ กลุ่มเสี่ยงและสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมีภาวะสุขภาพดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 อบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานและตรวจประเมินภาวะแทรกซ้อน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานและตรวจประเมินภาวะแทรกซ้อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.อบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวาน

2.ตรวจประเมินสุขภาพช่องปากและเท้าพร้อมให้ฝึกปฏิบัติตาม
งบประมาณ

1.ค่าอาหารว่าง สำหรับเจ้าหน้าที่รพ.สต.ผู้เกี่ยวข้อง, วิทยากร 5 คนและผู้เข้ารับการอบรม 70คน จำนวน 2รุ่น รวมเป็น75คนx1มื้อx25บาทx2รุ่น เป็นเงิน 3,750 บาท
2.ค่าสมนาคุณวิทยากร 2 คน ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชม. จำนวน 2 รุ่น เป็นเงิน 7,200 บาท (ลักษณะฐานการเรียนรู้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.ผู้ป่วยเบาหวานเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านฝาละมีจำนวน 176 คน 2.ผู้ป่วยเบาหวานเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านฝาละมีได้ รับการตรวจประเมินเท้า มากกว่าร้อยละ80 3.ผู้ป่วยเบาหวานเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านฝาละมี ได้รับการตรวจประเมินช่องปากพร้อมฝึกปฏิบัติโดยทันตบุคลากรมากกว่าร้อยละ 80
ผลลัพธ์ 1.สามารถลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10950.00

กิจกรรมที่ 7 ติดตามสุขภาพกลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานกิจกรรมรักษ์สุขภาพครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
ติดตามสุขภาพกลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานกิจกรรมรักษ์สุขภาพครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.ติดตามสุขภาพกลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมรักษ์ สุขภาพครั้งที่ 2 หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม งบประมาณ
1.ค่าอาหารว่าง สำหรับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ผู้เกี่ยวข้อง,วิทยากร 5 คน และผู้เข้ารับการอบรม 50 คน รวมเป็น 55 คน x1มื้อ x25บ าท เป็นเงิน 1,375 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการตรวจสุขภาพ ครั้งที่ 2  จำนวน 50 คน  คิดเป็นร้อยละ 100
ผลลัพธ์ 1.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1375.00

กิจกรรมที่ 8 สื่อสารความเสี่ยง ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

ชื่อกิจกรรม
สื่อสารความเสี่ยง ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.ประชาสัมพันธ์สื่อสารความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง
2.ประเมิน CVD risk ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

3.ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีความเสี่ยง CVD risk ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นและติดตามเยี่ยมบ้านจนมีพยาธิสภาพดีขึ้น
งบประมาณ 1.ป้ายประชาสัมพันธ์แบบถือพลาสวู๊ด ขนาดไม่น้อยกว่า 80 X 50 ซมราคาป้ายละ 350 บาท จำนวน 5 ป้าย เป็นเงิน 1,750 บาท

2.ป้ายไวนิลโรลอัพขนาดไม่น้อยกว่า 60 X 160 ซม.พร้อมขาตั้ง จำนวน 1 ชุดเป็นเงิน 1,200บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้รับการประเมินความเสี่ยง CVD มากกว่า  ร้อยละ90
  ผลลัพธ์ 1.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความเสี่ยงCVD riskลดลง ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,475.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ร้อยละของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 95
2.ร้อยละประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความเสี่ยงโรคเบาหวานลดลง
3.ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
4.ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีไม่น้อยกว่าร้อยละ 75


>