กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกายในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง

ชมรมรักษ์สุขภาพ ตำบลจะโหนง

1. นางปรารถนา เขียวสุวรรณ

2. นายอนุพงษ์ทองฤทธิ์

3. นางมารีเย๊าะหวังน๊ะ

4. นางสุกัญญา เอียดวารี

5. นางหรอปิหย๊ะศิริภานนท์

6. นางพยอม จันทรักษ์

11 หมู่บ้านของตำบลจะโหนง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

70.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

51.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

70.00
4 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

 

35.00
5 ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัดเป็นประจำ (มากกว่า 5 วันต่อสัปดาห์)

 

68.00
6 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

37.00

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนที่มีการแข่งขัน สร้างความมั่นคงให้กับครอบครัว มีการนิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขจึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น มีความรีบเร่งในการทำงาน มีการบริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีกาารเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ขาดการออกกำกลังกาย มีความเครียดมากขึ้น ส่งผลให้ประชาชนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่นการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ การจัดกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม การมีสุขภาพจิตที่ดี ดังนั้น ทางชมรมขยับกายด้วยไลบน์แดนซ์จึงได้จัดการโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและกาารออกกำลังกายในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักให้กับประชาชนในพื้นที่ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานหันกลับมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดอัตราการเกิดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานรายใหม่ในพื้นที่ ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาให้กับประเทศ และเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและประเทศอีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

70.00 62.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

70.00 62.00
3 เพื่อเพิ่มคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

35.00 40.00
4 เพื่อลดคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด เป็นประจำ (มากกว่า 5 วันต่อสัปดาห์)

ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัดเป็นประจำ (มากกว่า 5 วันต่อสัปดาห์)

68.00 65.00
5 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

51.00 60.00
6 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

37.00 45.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ 5
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง 5

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการและรับสมัครสมาชิก

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการและรับสมัครสมาชิก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการติดไว้ที่หมู่บ้าน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายของหมู่บ้าน และจัดทำใบสมัคร

  • ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด1*2.5 เมตร จำนวน 6 แผ่นๆละ 375 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 10 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2250.00

กิจกรรมที่ 2 อบบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
อบบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 35 คน คณะทำงาน 4 คน วิทยากร 1 คน

  • เชิญวิทยากรผู้ชำนาญการด้านโภชนาการมาให้ความรู้แก่สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการและมีการสาธิตการทำอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
  • ตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ (ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง คำนวณค่าดัชนีมวลกาย วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว)
  • จัดตั้งไลน์กลุ่มโครงการ

โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้

  1. ค่าตอบแทนวิทยาการบรรยายเรื่องการทำและการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชาการ จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  2. ค่าตัวอย่างเครื่องปรุงที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ( น้ำปลา น้ำมันหอย ซอสถั่วเหลือง โลโซเดียม น้ำมัน เกลือ น้ำตาลหญ้าหวาน ผงปรุงรส) เป็นเงิน 800 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  4. ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักแบบมีที่วัดมวลไขมัน จำนวน 1 เครื่องๆละ 1,190 บาท
  5. ค่าอุปกรณ์วัดความเค็มในอาหาร จำนวน 1 เครื่องๆละ 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
19 เมษายน 2567 ถึง 19 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการและสามารถนำกลับไปปฏิบัติได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6290.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 35 คน คณะทำงาน 4 คน วิทยากร 1 คน - เชิญวิทยากรผู้ชำนาญการด้านการออกกำลังกายมาให้ความรู้แก่สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ ตามความเหมาะสม เช่น การออกกำลังกายด้วยเสียงเพลง การบอดี้เวท การแกว่งแขน และเทคนิคต่างๆในการออกกำลังกายไม่ให้เกิดการบาดเจ็บ

โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้

  1. ค่าตอบแทนวิทยาการบรรยายเรื่องการออกกำลังกาย จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
26 เมษายน 2567 ถึง 26 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมและสามารถนำกลับไปปฏิบัติได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2800.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามประเมินผลเรื่องการบริโภคอาหาร

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลเรื่องการบริโภคอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามประเมินผลการบริโภคอาหารของสมาชิก โดยการเยี่ยมบ้านสมาชิก เดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน โดยการตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้กับสมาชิก และการนำอุปกรณ์ ตรวจวัดความเค็ม ไปประเมินอาหารที่สมาชิกรับประทาน โดยกิจกรรมนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สมาชิกสามารถปรุงอาหารรสชาดเค็มอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น มีสุขภาพที่ดีขึ้น โดยวัดจากค่าน้ำหนัก ดัชนีมวลกาย รอบเอว ความดันโลหิต และค่าน้ำตาลในเลือด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามการออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
ติดตามการออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามการออกกำลังกายของสมาชิก อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที และส่งเสริมให้เกิดกลุ่มออกการออกกำลังกายขึ้นในชุมชน อย่างน้อย 4 แห่ง โดยกิจกรรมนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สมาชิกมีกาารออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 สรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เล่มสรุปผลการดำเนินโครงการ จำนวน 2 เล่ม

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,340.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน สนใจเข้าร่วมโครงการ และสามารถปรับเปลี่่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกายไปในทางที่ดีขึ้น ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ


>