กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพ กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ ปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพ กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

กองสาธารณสุขและสิ่่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปากนํ้า

1. นายอนุเทพ อัลมาตร์
2. นายตรา เหมโคกน้อย
3. นายปรีชา ปันดีกา
4. นายเอกนรินทร์ ลัดเลีย
5. นายณรงค์ ปากบารา

พื้นที่ตำบลปากนํ้า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
ด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูลได้ดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เพื่อสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุข ในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสภาพสำหรับประชาชน ทุกคนมาอย่างต่อเนื่องและตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ2561ข้อ 10 (5) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ได้อีกทั้งในปีงบประมาณ 2567
เเละตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๖๓ข้อ๑๐/๑เพื่อประโยชน์ ในการป้องกันและเเก้ไขปัญหากรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ เเละคณะกรรมการกองทุนไม่อาจอนุมัติค่าใช้จ่ายตามข้อ ๑๐ ได้ทันต่อสถานการณ์ ให้ประธานกรรมการตามข้อ ๑๒ มีอำนาจอนุมัติโครงการหรือกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสาธาณสุขกรณีเกิดโรคระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อได้ตามความจำเป็น นี้ยังพบว่ามีการระบาดของโรคไข้เลือดออก อยู่ ยังคงต้องเฝ้าระวังและควบคุมโรคอย่างเข้มแข็ง
กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ได้เห็นถึงความสำคัญของการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพ และภัยพิบัติที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการ 10 (5) ร้อยละ 15 เปอร์เซ็น เป็นเงิน 117,242 บาท เพื่อที่จะจัดทำโครงการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพ กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ เเละเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพประชาชนในระหว่างเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ

ร้อยละ 85 ของประชาชนในพื้นที่ได้รับการส่งเสริมคุณภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล และฟื้นฟู  สมรรถภาพระหว่างและหลังเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ ตามความจำเป็นและเหมาะสม

85.00 100.00
2 เพื่อให้การช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานอื่นๆ ในการดูแลสุขภาพประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติได้ทันสถานการณ์และทั่วถึง

ร้อยละ 85 ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติได้รับการช่วยเหลือ บรรเทาปัญหาความเดือนร้อน สนับสนุนการดำเนินงานอื่นๆ ในการดูแลสุขภาพได้อย่างทันสถานการณ์

85.00 100.00
3 เพื่อลดอัตราป่วย ภาวะแทรกซ้อนและผลกระทบจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติ

อัตราการป่วยด้วยโรคและภัยสุขภาพลดลง

85.00 100.00
4 เพื่อแก้ปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

ร้อยละ100 ของการสามารถลดปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นและบรรเทาประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 12/12/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพ กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ

ชื่อกิจกรรม
ควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพ กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพ กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1กิจกรรมย่อยการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและดำเนินการแก้ไข กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ

1.1.1 สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและดำเนินการแก้ไข กรณีเกิดโรคระบาด

เช่น โรคไข้เลือดออก, โรคชิคุนกุนยา, โรคมือ เท้า ปากอุจจาระร่วงเฉียบพลัน มาลาเรีย ไข้หวัดนก โรคพิษสุนัขบ้า โรคโควิด-19 (COVID-19)ฯลฯ

1.1.2 สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและดำเนินการแก้ไข กรณีเกิดภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม หมอกควัน ฯลฯ

วัสดุ/อุปกรณ์ ในการป้องกันควบคุมโรคหรือภัยพิบัติ

-ค่าตอบแทน สำหรับเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของ อปท. ที่ได้รับการแต่งตั้ง

-ค่าอาหารกลางวัน และเครื่องดื่ม

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม

-ค่าตอบแทนค่าวิทยากร

-ค่าใช้สอย เช่น ค่าเช่าสถานที่ เครื่องเสียง เป็นต้น

-ค่าพาหนะหรือชดเชยนํ้ามันเชื้อเพลิง

-ค่าจ้างเหมา(พ่นยุง)

-ค่าตอบแทนนอกเวลา

-ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์

-ค่าครุภัณฑ์ทางการแพทย์

-ค่าวัสดุเครื่องแต่งกาย

-ค่าป้ายประชาสัมพันธ์

-ค่าสื่อประชาสัมพันธ์

-ค่าวัสดุอื่นๆที่จำเป็น

รวมเป็นเงิน 100,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 ธันวาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติได้รับการช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีตามความจำเป็นและเหมาะสม

2.สามารถแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติฉุกเฉิน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
100000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติได้รับการช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
2. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาลและฟื้นฟูสมรรถภาพกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติตามความจำเป็นและเหมาะสม
3. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานอื่นๆ ในการดูแลสุขภาพประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติตามความจำเป็นและเหมาะสม
4. สามารถแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติฉุกเฉิน


>