กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดย อสม.รพ.สต.บ้านลำพด ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขรพ.สต.บ้านลำพด

1.นางสาวเรวดีศรีผล
2.นายถวิล อินทโน
3.นางดวงนภา เพ็ชรมุณี
4.นางสาวหัทยา พาหุพันโต
5.นางศรีสุดา ประยูรเต็ม

ดำเนินการในพื้นที่เขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านลำพดจำนวน 4 หมู่บ้าน หมู่ที่3,4,6,7 ตำบลคลองทราย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ ๕ –๑๔ ปีแต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้
ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องจึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
พื้นที่ ม.3,4,6,และม.7 ในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.บ้านลำพด ตำบลคลองทรายเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคในปีที่ผ่านมา การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม - กันยายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่ง
พอดี และนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและศาสนสถาน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ชมรมอสม.รพ.สต.บ้านลำพด จึงได้จัดทำโครงการ “รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ2567" ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์ การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน วัด โรงเรียนตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลังความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

อัตราป่วยไข้เลือดออกลดลงจากปี 2566

0.00 1.00
2 2.เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่เป็นพาหนะนำโรค

ค่าHI CI ลดลงและไม่เกิน 10

10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กำนัน ผญ.ผช.ผญ.4 หมู่ 33
คุรครูอนามัย รร. 3
อสม. 58

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้โรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้โรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าวิทยากรชม.ละ600x 2 ชม. 1200 บาท

2.ค่าจ้างทำป้ายไวนิล จำนวน 2 รายการ

2.1 ป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 2.5 x 2.4 เมตร จำนวน 1ผืนราคา 600 บาท

2.2 ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 4 ผืนราคา 2000บาท

3.ค่าเอกสารให้ความรู้ (ผู้เข้าอบรม) จำนวน 94 ชุดๆ ละ 50 บาท ราคา 4700 บาท

4.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ30 บาท x 94คน x 1 วัน2,820บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนและกลุ่มเป้าหมายตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก และให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมอบรมการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก เกินร้อยละ80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11320.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมป้องกัน ธนาคารปลาหางนกยูงกินลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมป้องกัน ธนาคารปลาหางนกยูงกินลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าพันธุ์ปลาหางนกยูง ราคาตัวละ 5 บาท จำนวน 1000 ตัว ราคา 5000 บาท

2.อ่างเลี้ยงปลาแบบพลาสติก ขนาด 64 x 32 cm. จำนวน 20 ใบ ใบละ140 บาท ราคา 2800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ส่งผลให้ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลงในแต่ละหมู่
    2.ค่าHI CI ไม่เกินร้อยละ 10
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,120.00 บาท

หมายเหตุ :
**สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ**

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เกิดโรคลดลง
2.ประชาชนให้ความร่วมมือในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ จนสามารถลดความชุกลูกน้ำยุงลาย ค่าHI CIไม่เกินร้อยละ10


>