กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังความเสี่ยงของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมี หมู่่ที่ 11ตำบลหารเทา

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังความเสี่ยงของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมี หมู่่ที่ 11ตำบลหารเทา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

ชมรม อสม. หมู่่ที่ 11ตำบลหารเทา

1. นางสมจิตร บัวศรี
2. นางนิชาพัชร์ มุสิกรัตน์
3. นางกัญญาพัณณ์ ขวัญมุณี
4. นางศุภรานันท์ คงทรัพย์
5. นส.ยุภาวดี ชุมผอม

หมู่่ที่ 11ตำบลหารเทา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

35.00
2 ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

 

20.00
3 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

 

35.00

ประชากรในเขตรับผิดชอบ หมู่ที่ 11ตำบลหารเทาส่วนใหญ่มีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบูท ป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้นยกตัวอย่างเช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น หมู่ที่ 11 ตำบลหารเทา เป็นพื้นที่ ที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำสวนยางพาราทำนา และทำสวนปาล์ม ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงอยู่ จากข้อมูลดังกล่าวแสดงว่าเกษตรกรในตำบลหารเทา ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้น ชมรมอสม. หมู่ที่ 11 ตำบลหารเทาจึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรใน หมู่บ้าน จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังความเสี่ยงของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมี ประจำปี 2567 ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

35.00 40.00
2 เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์

ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

20.00 30.00
3 เพื่อลดประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

35.00 25.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมค้นหากลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมค้นหากลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมชี้แจงโครงการในที่ประชุมประจำเดือน อสม. เพื่อค้นหากลุ่มเป้าหมาย
-ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต -ได้กลุ่มเป้าหมายตามที่กำหนด
ผลลัพธ์ -กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเฝ้าระวังการสัมผัสสารเคมีตกค้าง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวังการสัมผัสสารเคมีตกค้าง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2 ครั้ง
-ให้ความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากสารเคมีในชีวิตประจำวัน
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าจ้างเหมาเจาะเลือดหาสารเคมีจำนวน 50 คน คนละ 50 บาท จำนวน 2 ครั้งเป็นเงิน 5,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม รวมผู้จัด จำนวน 55 คน จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 2,750 บาท
3.ค่าสมนาคุณวิทยากรชั่วโมงละ 600 บาทจำนวน 3 ชั่วโมง จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต -ผู้เข้าร่วมได้รับการคัดกรองตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด และได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากสารเคมีตกค้าง
ผลลัพธ์ -ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้่ไปปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงของการมีสารเคมีตกค้างได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11350.00

กิจกรรมที่ 3 จัดให้มีแหล่งเข้าถึงปุ๋ยอินทรีย์ในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดให้มีแหล่งเข้าถึงปุ๋ยอินทรีย์ในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้การจัดทำปุ๋ยอินทรีย์50 คน
ค่าวัสดุในการจัดทำปุ๋ย3000 บาท
ค่าสมนาคุณวิทยากร3 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1800 บาท
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.กลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมเรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์  50 คน
ผลลัพธ์ 1.มีแหล่งเรียนรู้ปุ๋ยอินทรีย์ในชุมชน 1 แห่ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6050.00

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกผักกินเอง

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกผักกินเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.สนับสนุนพันธุ์ผักให้เกษตรกร จำนวน 2000 บาท
2.ประกวดบ้านสุขภาพพอเพียงค่าของขวัญรางวัล3000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต เกษตรกรที่ร่วมโครงการได้รับพันธ์ผักทุกคน
ผลลัพธ์ กลุ่มเกษตรกรที่ร่วมโครงการ ได้บริโภคผักปลอดภัย ได้บ้านต้นแบบ ครอบครัวพอเพียง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีตกค้างในเลือดของประชาชนทั่วไปกลุ่มเสี่ยง
2.ประชาชนมีทักษะและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเกิดโรคจากสารเคมี
3.ประชาชนได้รับการบริโภคผักปลอดภัย


>