กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดาโต๊ะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการใช้ยาอย่างมีสติ ลดอันตรายต่อชีวิต

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดาโต๊ะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาโต๊ะ

ตำบลดาโต๊ะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุสมผลของคนในชุมชน เป็นปัญหาที่มีความชับซ้อนและมีปัจจัยที่เข้ามาส่วนเกี่ยวข้องหลายส่วนทั้งจากตัวผู้ใช้ยาเอง ผู้สั่งใช้ยา ตลอดจนการควบคุมตามกฎหมาย ดังนันการดำเนินการจึงต้องใช้มาตรการที่หลากหลายทั้งความร่วมมือของหลายภาคส่วน หลายระดับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาโต๊ะ มีหมู่บ้านรับผิดชอบทั้งหมด 5 หมู่บ้าน มีร้านค้าร้านชำทั้งหมด ๒๑ ร้าน และจากการสำรวจร้านค้า พบว่ามีร้านค้าร้านชำที่นำยาที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้านมาขายให้แก่คนในชุมชนและจากการสอบถามผู้ประกอบการเกี่ยวกับพิษภัยของยาปรากฏว่า ไม่มีความรู้และไม่ทราบถึงผลข้างเคียงที่ตามมา จากการดำเนินงานเกี่ยวกับงานคุ้มครองผู้บริโภคตลอดมา ได้เพียงให้คำแนะนำ และจากการเยี่ยมบ้านยังพบว่ายังมีผู้ป่วยบางรายใช้ยาปฏิชีวนะไม่ถูกต้อง จากสภาพปัญหาดังกล่าว จึงคิดหาแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้การขับเคลื่อนกิจกรรมการส่งเสริมการใช้ยาในชุมชนมีความชัดเจนและสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาโต๊ะจึงได้จัดทำโครงการใช้ยาอย่างมีสติ ลดอันตรายต่อชีวิต ประจำปี 2567 เพื่อให้สอดคองกับนโยบายของสำนักคณะกรรมการอาหารและยาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานและเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนซึ่งครอบคลุมประเด็นการใช้ยาปฏิชีวนะ ยาชุดและยาสเตียรอยด์ โดยไม่จำเป็นเพื่อให้คนในชุมชนมีการพัฒนาการจัดยาการเรื่องยาให้สมเหตุสมผลและปลอดภัยในระยะยาวต่อไป

ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาโต๊ะจึงได้จัดทำโครงการใช้ยาอย่างมีสติ ลดอันตรายต่อชีวิต ทั้งนี้เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของชาวบ้านในชุมชน เพื่อให้ชุมชนปลอดภัยจากการใช้ยาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และความเข้าใจในการใช้ยาอย่างปลอดภัย

ประชาชนมีความรู้และความเข้าใจในการใช้ยาอย่างปลอดภัย

60.00 80.00
2 เพื่อให้ประชาชนลดการใช้ยาสเตียรอยด์ ยาชุดและยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น

ประชาชนลดการใช้ยาสเตียรอยด์ ยาชุดและยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น

60.00 80.00
3 เพื่อให้ประชาชนร่วมกันเฝ้าระวังและตรวจสอบแหล่งขายยาในชุมชน โรคและภัยสุขภาพในพื้นที่

ประชาชนร่วมกันเฝ้าระวังและตรวจสอบแหล่งขายยาในชุมชน โรคและภัยสุขภาพในพื้นที่

60.00 80.00
4 เพื่อสร้างเครือข่ายการดำเนินงาน การใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยเน้นการใช้ยาอย่างปลอดภัยใน ยาปฏิชีวนะและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มียา เสียรอยด์โดยใช้ตำบลเป็นพื้นฐาน

เครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจและใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยเน้นการใช้ยาอย่างปลอดภัยใน ยาปฏิชีวนะและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มียา เสียรอยด์

60.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงอสม.

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงอสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงอสม.ตำบลดาโต๊ะ เรื่องโครงการ และคืนข้อมูลปัญหาจากการเยี่ยมบ้าน ให้แก่อสม.ตำบลดาโต๊ะ รับทราบ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 35 คน ๆละ 30 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1050

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1050.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจร้านค้าในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
สำรวจร้านค้าในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อสม.และเจ้าหน้าที่รพ.สต.ดาโต๊ะ ร่วมกันสำรวจร้านค้าในชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ร้านค้าสามารถขายได้/และผลิตภัณฑ์ที่ห้ามขาย ห้ามจำหน่าย ตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคในกลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการร้านค้า ร้านชำ อสม.และแกนนำกลุ่มแม่บ้านในชุมชนตำบลดาโต๊ะ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3600 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คนๆละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3600 บาท -ค่าวิทยากร จำนวน 6ชมๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3600 บาท -ค่าป้ายโครงการ ขนาด กว่าง2 ยาว 3 เมตร เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11550.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตาม สรุปผลโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้ในการใช้ยาปฏิชีวนะได้อย่างถูกต้อง
2.ผู้ประกอบการมีความรู้ ความตระหนัก ในการนำยาที่ร้านชำสามารถจำหน่ายได้


>