กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาขยาด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต รพ.สต.บ้านสะพานข่อย ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาขยาด

(นางสาวจีรันดา เสนพริก พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ)โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะพานข่อย

เขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านสะพานข่อย (ม.7 ม.8ม.10ม.11 และ ม.12 ตำบลนาขยาด)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

 

0.80
2 ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

 

14.09
3 ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

 

15.90
4 อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จต่อแสนประชากร

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การฆ่าตัวตัวตายเป็นปัญหาสาธารณสุขและเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญ เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ทำให้โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่มีความรุนแรงและเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อตนเอง ครอบครัวและสังคมโรคซึมเศร้าเป็นปัจจัยสำคัญของการฆ่าตัวตาย จากการประมาณการขององค์การอนามัยโลกพบว่า ใน 1 ปี จะมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่า 1 ล้านคน และติด 10 อันดับแรกของสาเหตุการตายของประชากรโลกสำหรับประเทศไทยมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จคิดเป็นจำนวนคน 4,000 คน/ปีส่วนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะพานข่อย ปีงบประมาณ 2566 พบว่ามีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จจำนวน 2 คน คิดเป็น 82.56 ต่อแสนประชากร พบว่าการเข้าถึงการบริการโรคซึมเศร้ามีน้อย และการคัดกรองโรคซึมเศร้าบางครั้งไม่ได้รับความร่วมมือโดยการให้ข้อมูลที่เป็นจริงแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ส่วนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า พบว่าผู้ป่วยหรือญาติจะมารับยาในช่วงที่มีอาการ เมื่อมีอาการดีขึ้นก็จะไม่มาตามนัดขาดการรักษาต่อเนื่องส่งผลให้ผู้ป่วยขาดยาและผู้ป่วยโรคจิตเวชมีอาการทางจิตกำเริบซ้ำซึ่่งจากการศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จนั้น พบว่ามีผลการศึกษาทางวิชาการรายงานไว้ว่า "การป้องกันโรคซึมเศร้าที่ได้ผลคือ Early detection และให้การช่วยเหลือทันทีตั้งแต่เริ่มมีอาการโดยมีเครื่องมือประเมินที่ง่ายและมีความไวในการประเมิน ใช้ง่ายเหมาะสมสำหรับใช้ในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)แกนนำชุมชนหรือประชาชนทั่วไปก็สามารถนำมาใช้ในการประเมินตนเองได้ด้วยตนเอง" เครื่องมือที่กล่าวถึงเรียกว่า แบบประเมินคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่มีความคิดฆ่าตัวตายหรือ 2Q Plus ของกรมสุขภาพจิต ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะพานข่อย จึงจัดทำโครงการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตรพ.สต.บ้านสะพานข่อย ปีงบประมาณ 2567 ให้ประชาชนในพื้นที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตรวมถึงกลไกการขับเคลื่อนการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายที่ต้องอาศัยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาได้แก่การเฝ้าระวังสัญญาณเตือนภัยการฆ่าตัวตาย 10 ประการการคัดกรองซึมเศร้าแนวทางการดูแลส่งต่อการสร้างวัคซีนใจ รวมทั้งการให้คำปรึกษาอย่างง่ายเพื่อช่วยยับยั้งความคิดฆ่าตัวตายและให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที

82.56

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

0.80 0.50
2 เพื่อลดผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60  ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

14.09 10.00
3 เพื่อลดผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

15.90 10.00
4 เพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จต่อแสนประชากร

อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จต่อแสนประชากร

82.56 8.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 600
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมสร้างความรอบรู้แก่"แกนนำเชี่ยวชาญสุขภาพจิต”

ชื่อกิจกรรม
อบรมสร้างความรอบรู้แก่"แกนนำเชี่ยวชาญสุขภาพจิต”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับงานสุขภาพจิตแก่แกนนำสุขภาพ ให้เป็น"แกนนำเชี่ยวชาญสุขภาพจิต"
1. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 x 2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 300. บาท
2. ค่าอาหารว่าง สำหรับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ผู้เกี่ยวข้อง,วิทยากร 5 คน และผู้เข้ารับการอบรม 50 คน รวมเป็น 55 คนx1มื้อx25บาท เป็นเงิน 1,375 บาท
3. ค่าสมนาคุณวิทยากร1 คน ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชม. เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต อสม./ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชเขต รพ.สต.บ้านสะพานข่อยได้รับอบรมพัฒนาศักยภาพ ให้เป็น “แกนนำเชี่ยวชาญสุขภาพจิต” จำนวน 50 คน
ผลลัพธ์ อสม./ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชมีความรู้เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต ให้คำปรึกษาและหลักการพยาบาลทางจิตเบื้องต้นได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3475.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนารูปแบบและแนวทางการดูแลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต

ชื่อกิจกรรม
ประชุมร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนารูปแบบและแนวทางการดูแลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ร่วมประชุมร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนารูปแบบและแนวทางการดูแลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในสถานบริการในพื้นที่

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.เกิดการประชุมร่วมกันผู้นำชุมชน/อบต./ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชในเขตรพสต.บ้านสะพานข่อย
ผลลัพธ์ 1.มีรูปแบบและแนวทางการดูแลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในสถานบริการในพื้นที่อย่างชัดเจน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 คัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย(depress and Suicide Screening test : DS8) ในกลุ่มเป้าหมายโดยคัดกรองภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย ด้วยคำถาม 2Q,9Q และ 8Q โดยเจ้าหน้าที่และ
แกนนำเชียวชาญสุขภาพจิต" - ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรองโรคซึมเศร้าและประเมินการฆ่าตัวตาย
1.คำถาม 2Q จำนวน 600 แผ่น แผ่นละ 50 สตางค์ เป็นเงิน 300บาท
2.คำถาม 9Q จำนวน 40 แผ่น แผ่นละ 50 สตางค์ เป็นเงิน 20 บาท
3.คำถาม 8Qจำนวน 40 แผ่น แผ่นละ 50 สตางค์ เป็นเงิน 20 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้ามากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80 ผลลัพธ์ 1.ผู้ที่มีภาวะความเสี่ยงซึมเศร้าได้รับการรักษาต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
340.00

กิจกรรมที่ 4 เยี่ยมบ้านผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมบ้านผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจ้าหน้าที่เยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะซึมเศร้า
- ติดตามประเมิน 9Q 8Q และวางแผนส่งต่อเพื่อพบแพทย์/ปรึกษาแพทย์
- ให้ความรู้กับญาติ คนใกล้ตัว เรื่อง 10 สัญญาณเตือนภัยในการฆ่าตัวตายและสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้
งบประมาณ๑.ค่าจัดทำป้าย 10 สัญญาณเตือนภัยในการฆ่าตัวตายฟังด้วยหัวใจให้ได้ยิน ในวันที่เขายังมีลมหายใจอยู่” ขนาด 1.5X2 ม.พร้อมโครงติดตั้ง ราคา 750 บาท จำนวน 5 ป้าย รวมเป็นเงิน 3,750 บาท
2.ป้ายไวนิลโรลอัพขนาดไม่น้อยกว่า 60 X 160 ซม.พร้อมขาตั้ง จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.ผู้ที่มีความเสี่ยงและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
ผลลัพธ์ 1.ผู้ที่มีความเสี่ยงและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้รับการรักษาอย่าต่อเนื่อง อัตราการฆ่าตัวตายในพื้นที่ลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,565.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.แกนนำด้านสุขภาพจิตมีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย
2.มีรูปแบบและแนวทางการดูแลผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตและการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย
3.ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วยแบคัดกรอง 2Q Plus
4.อัตราการฆ่าตัวตายไม่เกิน 8 ต่อแสนประชากร


>