กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ปัญหาภาวะอุทกภัยพื้นที่ตำบลตะลุโบะ ประจำปีงบประมาณ2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต. ตะลุโบะ

ตำบลตะลุโบะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่ได้มีสถานการณ์ฝนตกหนักและเกิดภาวะอุทกภัยน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนในหลายพื้นโดยเฉพาะจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตลอดจนพื้นที่จังหวัดสงขลาบางส่วนนั้น ทั้งนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประสบภัยสามารถเขียนโครงการด้านสุขภาพขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากภัยพิบัติน้ำท่วมตลอดจนโครงการป้องกันและแก้ปัญหาโรคหรือสุขภาพที่เกิดขึ้นภายหลังจากน้ำลดแล้วจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่หรือ กองทุนสุขภาพตำบลตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 ข้อ 10(5) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์
ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลตะลุโบะ มีความตระหนักในปัญหาสุขภาพที่จะตามมาจากน้ำท่วมครั้งนี้ คือ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินอาหาร น้ำกัดเท้า โรคตาแดง โรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก ภาวะซึมเศร้า ปัญหาความเครียด และปัญหาด้านอื่นๆ เป็นต้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้องดำเนินโครงการแก้ปัญหาภาวะอุทกภัยพื้นที่ตำบลตะลุโบะ ประจำปีงบประมาณ2567 เพื่อช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์น้ำท่วมให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้สูงอายุ คนพิการ เด็กและสตรีมีครรภ์ผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง ผู้ป่วยเรื้อรัง รวมถึงประชาชนกลุ่มอื่นๆที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยครั้งนี้ให้ได้รับการช่วยเหลือและดูแลในสถานการณ์น้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม

สามารถลดปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม

0.00
2 เพื่อให้ผู้ประสบภัยพิบัติได้รับการดูแล ด้านสุขภาพหลังภาวะอุทกภัย

ร้อยละ 80 ของผู้ประสบภัยพิบัติ ได้รับการดูแลสุขภาพหลังภาวะอุทกภัย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 530
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/12/2023

กำหนดเสร็จ 31/01/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการสำรวจผลกระทบจากอุทกภัยและการบรรเทาปัญหาสุขภาพจากอุทกภัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการสำรวจผลกระทบจากอุทกภัยและการบรรเทาปัญหาสุขภาพจากอุทกภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเวชภัณฑ์ยาแก้ปัญหาโรคน้ำกัดเท้าและการเจ็บป่วยของประชาชน จำนวน 530 ชุด  ชุดละ 150.-บาท          ประกอบด้วย
  1. ยาใช้ภายนอกสำหรับโรคผิวหนัง
  2. ยาลดไข้  บรรเทาอาการปวด
  3. ยารับประทานสำหรับอาการแพ้หรือคัน
  4. ยาใช้ภายนอกสำหรับแผลสด
  5. สำลี
  6. พลาสเตอร์ใส
  7. ผ้าก๊อซ รวมเป็นเงิน 79,500.-บาท (เจ็ดหมื่นเก้าพันห้าร้อยบาทถ้วน )                                                   หมายเหตุ  ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่าย
ระยะเวลาดำเนินงาน
28 ธันวาคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
79500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการฟื้นฟูสภาพบ้านเรือนและสถานที่น้ำท่วม ป้องกันการระบาดของโรคภายหลังน้ำท่วม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการฟื้นฟูสภาพบ้านเรือนและสถานที่น้ำท่วม ป้องกันการระบาดของโรคภายหลังน้ำท่วม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์
  2. ลงพื้นที่ทำความสะอาดเพื่อฟื้นฟูสภาพบ้านเรือนและสถานที่น้ำท่วม ป้องกันการระบาดของโรค
ระยะเวลาดำเนินงาน
28 ธันวาคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 79,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>