กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ห่างไกลพลัดตกหกล้ม 2567 ศูนย์สุขภาพชุมชนศรีพิมาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

ศูนย์สุขภาพชุมชนศรีพิมาน

1.นางนูรดีนี หมีดเส็น 0869662250
2.นางสุรางคณา กองบก
3.นส.ฟารีซา เจะมะ

10 ชุมชน ตำบลพิมาน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 มีผู้สูงอายุเสี่ยงต่อภาวะหกล้ม(คน)

 

84.00

ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aging Society) อย่างสมบูรณ์ จากความเสื่อมของร่างกายและโรคเรื้อรังต่างๆในผู้สูงอายุ ส่งผลให้ร่างกายไม่แข็งแรงและการทรงตัวได้ไม่ดีพอ จึงทำให้เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มได้ง่ายกว่าวัยอื่นๆ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปจะมีแนวโน้มหกล้ม ร้อยละ 28-35 ต่อปีและจะเพิ่มเป็นร้อยละ 32-42 เมื่อก้าวเข้าสู่ปีที่ 70 เป็นต้นไป สามารถสรุปได้ว่าความเสี่ยงของการหกล้มจะยิ่งมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือมีโรคประจำตัว เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือมีปัญหาเรื่องการทรงตัว บางรายอาจ มีแค่อาการบาดเจ็บเล็กน้อยหลังหกล้ม แต่บางรายกลับเกิดการบาดเจ็บรุนแรง เช่น กระดูกหัก ภาวะเลือดคั่งในสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต และรุนแรงที่สุด คือ เสียชีวิต ผลกระทบของการพลัดตกหกล้มส่งผลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ผลกระทบต่อจิตใจทำให้เกิดการกลัวต่อการหกล้ม สูญเสียความมั่นใจในการทำกิจกรรม ผลกระทบด้านเศรษฐกิจต้องเสียค่ารักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพเป็นเวลานาน และการดูแลที่ต่อเนื่อง ตลอดจนส่งผลต่อการขาดรายได้ของสมาชิกในครอบครัวที่ต้องมาดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้ม
จากรายงานการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล ปี 2566 พบว่า ศูนย์สุขภาพชุมชนศรีพิมาน มีผู้สูงอายุเสี่ยงต่อภาวะหกล้ม จำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 4.42 ศูนย์สุขภาพชุมชนศรีพิมาน ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ห่างไกลพลัดตกหกล้ม ศูนย์สุขภาพชุมชนศรีพิมาน ปี 2567” ขึ้น เพื่อให้ อสม./ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการเกิดภาวะพลัดตกหกล้ม และสามารถดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองได้ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม./ผู้ดูแล และผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงพลัดตกหกล้ม มีความรู้ ความเข้าใจ และเข้าร่วมกิจกรรมอบรมได้

ร้อยละ 95 ของ อสม./ผู้ดูแล/ผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงพลัดตกหกล้ม เข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

95.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีความผิดปกติจากการคัดกรองได้รับการส่งต่อและรักษาที่ถูกต้อง

ผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้รับการรักษาและส่งต่อคลินิกโรงพยาบาลสตูล ร้อยละ 100

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ร้อยละ 90ของกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการคัดกรอง 80

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการแก่ อสม./ผู้ดูแล และผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการแก่ อสม./ผู้ดูแล และผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
1. สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชน
2. คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ และประเมินปัญหาสุขภาพ/ความเสี่ยง
3. วิเคราะห์ความเสี่ยงจากการคัดกรอง แยกกลุ่มเสี่ยงภาวะพลัดตกหกล้ม
4. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ อสม./ผู้ดูแล และผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม จำนวน 80 คน
งบประมาณ
1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมง x 300 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน x 70 บาท x 1 วัน เป็นเงิน 5,600 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 80 คน x 30 บาท x 1 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท
4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม ได้แก่
- เอกสารคู่มือ/แบบคัดกรอง/แผ่นพับ/สื่อความรู้/ เป็นเงิน 2,000 บาท
- ปากกาด้ามละ 5 บาท x 80 ด้าม เป็นเงิน 400 บาท รวมเป็นเงิน 2,400 บาท
กำหนดการอบรม
08.30 - 09.00 น.ลงทะเบียน
09.00 - 09.30 น.พิธีเปิด
09.30 - 10.30 น.สรีรวิทยากับการเปลี่ยนแปลงในผู้สุงอายุ แพทย์จาก รพ.สตูล
10.30 - 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
10.45 - 11.45 น. การป้องกันการพลัดตกหกล้ม วิทยากร นักกายภาพบำบัด รพ.สตูล
11.45 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม
13.00 - 15.00 น. การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม./ผู้ดูแล และผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันการพลัดตกหกล้ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11600.00

กิจกรรมที่ 2 การเยี่ยมติดตามผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม

ชื่อกิจกรรม
การเยี่ยมติดตามผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่ผิดปกติโดย อสม./หมอครอบครัว
  2. ผู้สูงอายุที่ผิดปกติได้รับการรักษาและส่งต่อคลินิกผู้สูงอายุ รพ.สตูล
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุที่ผิดปกติได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ประเมินผล/สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผล/สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.สรุปผลการดำเนินกิจกรรม
2.รวบรวมเอกสารสรุปผลการดำเนินงาน จำนวน 2 เล่มๆละ 250 บาทเป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลโครงการฉบับสมบูรณ์ จำนวน 2 เล่ม พร้อมบันทึกในเว็บไซด์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,100.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อสม./ผู้ดูแล และผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติตัวในการป้องกันการพลัดตกหกล้มได้ถูกต้อง
2.ผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการพลัดตกหกล้มได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง


>