กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดในสถานศึกษา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

งานป้องกันและควบคุมโรค กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์

นางพลอยไพลินอินทร์แก้ว ตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน

1. โรงเรียนสมัยศึกษา 2. โรงเรียนเสนาณรงค์วิทยา (กองทัพบกอุปถัมภ์) 3. โรงเรียนเทศบาล 1 (เมืองคอหงส์) 4. โรงเรียน บ้านคลองหวะ (ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง) 5. โรงเรียนทวีรัตน์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนที่มีความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด

 

0.00

สังคมไทยในปัจจุบันปัญหาในชุมชนที่สำคัญ คือ ปัญหายาเสพติด ที่ได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว เด็กและเยาวชนในวัยเรียนซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติในอนาคตมีความสุ่มเสี่ยงสูงที่จะติดยาเสพติด โดยเฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4,5 และ 6 ซึ่งเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ล่อแหลม อยากรู้อยากลอง ขาดความยั้งคิด ติดเพื่อน มีปัญหาในครอบครัว รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขาดการชี้แนะให้รู้ถึงพิษภัยยาเสพติด ความเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจสังคมตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีและค่านิยมต่างชาติได้หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย สิ่งเหล่านี้ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต เนื่องจากปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาเป็นเรื่องที่นักเรียนเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาและได้รับผลกระทบโดยตรง ดังนั้นการให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้และมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จะเป็นแนวทางให้เกิดการยอมรับและยึดถือปฏิบัติอีกทั้งเป็นแนวร่วมในการดำเนินงานง่ายต่อการขยายผลไปสู่นักเรียนทุกคน

งานป้องกันและควบคุมโรค ฝ่ายบริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ และเพื่อป้องกันเยาวชนที่อยู่ในสถานศึกษาไม่ให้ไปยุ่งหรือข้องเกี่ยวกับปัญหายาเสพติด จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อป้องกัน แก้ไขโดยเน้นการให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับยาเสพติด และส่งเสริมให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้ห่างไกลจากยาเสพติดและเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปลูกจิตสำนึกของนักเรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติด

นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 15/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด
  • อบรมให้ความรู้แกนนำนักเรียนของโรงเรียน ภายในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ 5 โรงเรียน ผู้เข้าร่วมทั้งหมด 50 คน แกนนำ 5 โรงเรียน
  1. โรงเรียนสมัยศึกษา จำนวน 10 คน
  2. โรงเรียนเสนาณรงค์วิทยา (กองทัพบกอุปถัมภ์) จำนวน 10 คน
  3. โรงเรียนเทศบาล 1 (เมืองคอหงส์) จำนวน 10 คน
  4. โรงเรียนบ้านคลองหวะ (ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง) จำนวน 10 คน
  5. โรงเรียนทวีรัตน์ จำนวน 10 คน

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม (ผู้เข้าร่วมและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง)
จำนวน 60 คน x 100 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง)
จำนวน 60 คน x 35 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 1 คน x 600 บาท x 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท
4. ค่าอุปกรณ์การอบรม ได้แก่ กระเป๋า สมุด ปากกา เป็นต้น
จำนวน 50 ชุด x 200 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
5. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 1 x 2 เมตร x 180 บาท เป็นเงิน 360 บาท
6. ค่าเกียรติบัตรพร้อมเคลือบ จำนวน 50 คน x 60 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
7. ค่าจัดทำเอกสารสรุปโครงการ เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28160.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,160.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
2. นักเรียนมีส่วนร่วมในการรณรงค์และเฝ้าระวังป้องกันมิให้มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดเข้ามาสู่โรงเรียน
3. เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้แก่ตนเอง และครอบครัว ตลอดจนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับสถานศึกษา และชุมชน


>