กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

สุขกาย สุขใจ สูงวัยมีสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. นายทวีปจิรรัตนโสภา ประธานกรรมการ
2. นายวิชัยเพิ่มหรรษา รองประธาน
3. นางชุลีศรีพระจันทร์กรรมการ
4. นางพิมพรรณ เต็งมีศรี กรรมการ
5. นางสิริเพ็ญ จันทร์แดง กรรมการ

ในเขตเทศบาลเมืองเบตง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันสังคมไทยกําลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรครั้งสําคัญซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ประชากรโลกคือการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นผลมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์และการวางแผนครอบครัวที่ผ่านมา ทำให้อัตราการเกิดและอัตราการตายของประชากรลดลงอย่างต่อเนื่อง ประชากรที่อยู่ในวัยสูงอายุจึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะที่ประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานมีแนวโน้มที่ลดลง ทำให้อายุเฉลี่ยของประชากรไทยนั้นสูงขึ้น อย่างไรก็ตามการก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์มากขึ้นเรื่อยๆนั้น ไม่ได้หมายความว่าผู้สูงอายุในประเทศไทยจะมีสุขภาพหรือมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเสมอไป เพราะพบว่าปัญหาภาวะทุพพลภาพและภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุก็เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน
คุณภาพชีวิต ซึ่งหมายถึงการมีสุขภาพอนามัยที่ดี ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ (สุนทรียะแห่งชีวิต) นั้นเป็นเป้าหมายหลักของมนุษย์ในทุกๆ ช่วงวัย โดยแต่ละช่วงชีวิตนั้นก็มีความต้องการ และวิธีการส่งเสริมที่แตกต่างกันออกไป ผู้สูงอายุก็เช่นกัน มีการแบ่งมิติของความสุขในผู้สูงอายุออกเป็น 5 มิติ ได้แก่ สุขสบาย ซึ่งเน้นเรื่องสุขภาพร่างกาย การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ สุขสนุก เป็นความสามารถของผู้สูงอายุในการเลือกวิถีชีวิตที่รื่นรมย์ด้วยการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดอารมณ์เป็นสุข จิตใจสดชื่นแจ่มใส สุขสง่า เน้นความเข้าใจในความเป็นไปในชีวิต ความมีคุณค่าในตนเอง มีมุมมองและความรู้สึกต่อตนเองและผู้อื่นอย่างเห็นอกเห็นใจ ไม่ซึมเศร้า ไม่ท้อแท้ สุขสว่าง เป็นความสามารถด้านความจำ ความเข้าใจความคิดแบบนามธรรม การสื่อสาร การใช้เหตุผล และการวางแผนแก้ไขปัญหา สุขสงบ เป็นการรับรู้เข้าใจความรู้สึกของตนเอง รู้จักควบคุมอารมณ์และสามารถจัดการกับภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งความสามารถในการควบคุมความต้องการจากแรงกระตุ้นได้อย่างเหมาะสม สามารถผ่อนคลายให้เกิดความสุขกับตัวเองได้
สถานการณ์ของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองเบตง ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 พบว่า ผู้สูงอายุในพื้นที่ มีคุณภาพชีวิตและภาวะสุขภาพที่แตกต่างกันในแต่ละคน มีทั้งผู้สูงอายุที่ติดเตียง ติดบ้าน และติดสังคม จากการสำรวจพบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองเบตงรวมทั้งสิ้นประมาณ 4,959 คน คิดเป็นร้อยละ 19 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาลเมืองเบตง ซึ่งถือเป็นจำนวนที่ค่อนข้างมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนในพื้นที่ต้องร่วมมือร่วมใจ ผสานทุนทางสังคม มีนโยบายและกิจกรรมในการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุให้ครอบคลุมมากที่สุด มีกิจกรรมทางสังคมที่หลากหลาย เพียงพอ เหมาะสมกับความสนใจและวัฒนธรรม เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เลือกตามความสะดวกและความสนใจของตนเอง โครงการผู้สูงอายุ “สุขกาย สุขใจ สูงวัยมีสุข” นั้น เป็นหนึ่งในโครงการเพื่อผู้สูงอายุที่จัดเป็นประจำมาอย่างต่อเนื่องในเขตเทศบาลเมืองเบตง จากการดำเนินกิจกรรมในปีที่ผ่านมาพบว่าผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม จากเดิมที่เคยเป็นผู้สูงอายุติดบ้านหรือไม่เคยออกมาสู่สังคม สามารถออกมาทำกิจกรรมนอกบ้านได้มากขึ้น ลดการเกิดภาวะพึ่งพิง กระตือรือร้น มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ มีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง ยิ้มแย้มแจ่มใส สุขภาพกายและสุขภาพจิตดี ช่วยชะลอความเสื่อมในการทำหน้าที่ของร่างกาย ออกมาเป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมมากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีสุขภาวะที่ดีอยู่เสมอ
โครงการ “สุขกาย สุขใจ สูงวัยมีสุข” จึงเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ทั้งทางด้านร่างกาย สังคม อารมณ์และจิตใจ ซึ่งเน้นความเข้าใจธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงของความสูงวัย การดูแลสุขภาพ การมีกิจกรรมง่ายๆ ในชีวิตประจำวันที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีวิถีชีวิตที่สุขกาย สบายใจ เพื่อพัฒนาผู้สูงอายุในเทศบาลเมืองเบตง ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีความสุข มีสมรรถภาพร่างกายแข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะผู้สูงอายุนั้นเต็มไปด้วยความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในชีวิต ควรค่าแก่การเคารพยกย่อง เป็นแหล่งของภูมิปัญญาอันทรงคุณค่า เป็นร่มโพธิ์ ร่มไทรของลูกหลาน และเป็นพลังเบื้องหลังที่สำคัญของสังคม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ มีทักษะ และปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

 

0.00
2 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุปฏิบัติตนตามหลักการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เฝ้าระวังภาวะสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ และอบรมให้ความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ และอบรมให้ความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากร
    600 บาท x 12 ชั่วโมง                        เป็นเงิน  7,200 บาท
  2. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 2.00 x 3.00 เมตร                      เป็นเงิน  1,500  บาท
  3. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำโครงการ กระดาษA4  1 รีม = 180 บาท / สมุดโน้ต 80 เล่ม  = 800 บาท  เป็นเงิน  1,780  บาท ปากกาลูกลื่น 80 ด้าม = 800 บาท
  4. ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการ ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการ              เป็นเงิน  300   บาท
  5. ค่าอาหารกลางวัน
    75 บาท x 80 คน x 1 มื้อ x 4 ครั้ง              เป็นเงิน  24,000 บาท
  6. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาท x 80 คน x 2 มื้อ x 4 ครั้ง              เป็นเงิน  22,400  บาท
  7. ค่าวัสดุประกอบการจัดกิจกรรมนันทนาการ            เป็นเงิน  4,250   บาท ชุดบิงโก 10 ชุด            1,500 บาท ชุดโยนโบว์ลิ่ง 5 ชุด        1,250 บาท ชุดเกมหมากฮอส 5 ชุด    900   บาท เกม OX  ไวท์บอร์ด+ปากกา   600   บาท
  8. ค่าอุปกรณ์ประกอบการอบรม                      เป็นเงิน  3,200   บาท ผ้าขาวม้าผืนเล็ก 80 ผืนๆละ 40 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ เจตคติ ทักษะและปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
  2. ผู้สูงอายุปฏิบัติตนตามหลักการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
64630.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 64,630.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>