กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังสุขภาพเกษตรกรประจำปี ๒๕๖๗

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกำแพง

ศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง

๑. นางสาวรสนา หนูวงศ์ ผู้ประสานงานคนที่ ๑ เบอร์โทร ๐๘๓ -๖๕๙๙๖๔๐
๒. นางสาวณัฐสิมา เส็มสัน ผู้ประสานงานคนที่ ๒ เบอร์โทร๐๘๑ -๔๗๘๕๙๙๓
๓. นางจุรีพร มานะกล้า
๔. นางสาวจิรัฐติกาล เจ๊ะสา
๕. นางสาวฟาดีลา บิลังโหลด

๘ ชุมชนในเขตเทศบาล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัจจุบันปัญหาสุขภาพของประชาชนคนไทยเพิ่มทวีขึ้น เห็นได้จากสถิติของผู้ป่วยที่มารับบริหารรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และอัตราการป่วยจากโรคไม่ติดต่อเพิ่มสูงขึ้น โรงพยาบาลจึงต้องเพิ่มขนาดของโรงพยาบาล เพื่อรองรับผู้ที่มารับบริการ ซึ่งเป็นภาระที

 

0.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้และตระหนักถึงพิษภัยจากสารเคมีตกค้างและนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

๑.เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องพิษภัยจากสารเคมีตกค้างและการป้องกันตนเองร้อยละ ๘๐

0.00
2 เพื่อตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร

เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดร้อยละ ๑๐๐

0.00
3 เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มที่ผลเลือดผิดปกติได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยสมุนไพรไทย

เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการที่ผลเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรับยาสมุนไพรล้างสารเคมีร้อยละ ๑๐๐

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 240
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจเกษตรกรในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
สำรวจเกษตรกรในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.๑ สำรวจจำนวนเกษตรกรผู้ปลูกผักในพื้นที่โดยอาสาสมัครสาธารณสุข ๑.๒ คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 มกราคม 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้และจัดตั้งแกนนำเกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และจัดตั้งแกนนำเกษตรกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม ๒.๑ ทำแบบประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ( นบก๑-๕๖) ๒.๒ ให้ความรู้เรื่องพิษภัยจากสารเคมีตกค้าง,การป้องกันตนเองเมื่อใช้สารเคมี และการใช้เกษตรอินทรีย์ ๒.๓ การปฏิบัติตัวเมื่อพบสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดและการใช้สมุนไพรล้างพิษ ๒.๔ สอน / สาธิตการทำชาชงสมุนไพร
๒.๕ จัดตั้งแกนนำเกษตรกรในแต่ละชุมชน งบประมาณ ๑.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน ๘๕ คนๆละ๑ มื้อๆละ ๖๕ บาท เป็นเงิน ๕,๕๒๕ บาท
๒.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน ๘๕ คนๆละ๒ มื้อๆละ ๒๕ เป็นเงิน ๔,๒๕๐ บาท ๓.ค่าตอบแทนวิทยากร ๖ ชม.ๆละ ๓๐๐ บาทเป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท ๔.ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด ๑.๕x๓ เมตร จำนวน ๑ ผืน เป็นเงิน ๖๗๕ บาท ๕.ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ ๕.๑ ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม ( กระเป๋า สมุด ปากกา ) จำนวน ๘๐ คนๆละ ๓๕ บาท เป็นเงิน ๒,๘๐๐ บาท ๕.๒.ค่าจัดทำแบบบันทึกสุขภาพเกษตรกรจำนวน ๘๐ เล่มๆละ ๓๐ บาท เป็นเงิน ๒,๔๐๐ บาท ๖.ค่าอุปกรณ์และสมุนไพรในการทำชารางจืด ๖.๑ ค่าใบรางจืด ๑,๐๐๐ บาท ๖.๒ ค่าวัสดุ / อุปกรณ์ในการทำชารางจืด ๒,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๒๐,๔๕๐ บาท ตารางการอบรม ๐๘.๓๐ – ๐๘.๔๕ น. ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรม
๐๘.๔๕–๐๙.๐๐น. ชี้แจงวัตถุประสงค์และประวัติความเป็นมาของโครงการ
๐๙.๐๐ –๑๐.๓๐ น. พิษภัยและการป้องกันสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด
๑๐.๓๐ – ๑๐.๔๐ น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
๑๐.๔๐ – ๑๒.๑๐ น. การป้องกันตนเองเมื่อใช้สารเคมี/การใช้เกษตรอินทรีย์
๑๒.๑๐ – ๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. การใช้สมุนไพรแก้พิษเบื้องต้น /การทำชาชงรางจืด
๑๔.๐๐ – ๑๔.๑๕ น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
๑๔.๑๕ –๑๖.๑๕ น. ให้บริการรักษาพยาบาลด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
๑๖.๑๕ – ๑๖.๓๐ น. ตอบข้อซักถามต่างๆ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20450.00

กิจกรรมที่ 3 ๓. การเจาะเลือดเกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
๓. การเจาะเลือดเกษตรกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๓.๑.การตรวจหาสารพิษตกค้างในเลือดจำนวน ๒ ครั้ง (ห่างกัน ๔- ๖ เดือน) ๓.๒ แจ้งผลการตรวจหาสารพิษตกค้างในกระแสเลือด ๓.๓ เปรียบเทียบผลการเจาะเลือดหารสารเคมีตกค้างและแจ้งกลุ่มเป้าหมายทราบผล ๓.๔ ให้ความรู้ คำแนะนำรายกลุ่ม / รายบุคคล ๓.๕ ให้การรักษาด้วยสมุนไพร (รางจืด ) ในกลุ่มที่มีผลเลือดอยู่ในเกณฑ์ไม่ปลอดภัย ๓.๖ การสุ่มตรวจหาสารเคมีตกค้างในผักจำนวน ๒ครั้งๆ ละ ๘๐ ตัวอย่าง ( รวม ๑๖๐ ตัวอย่าง) งบประมาณ ๑.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับเกษตรกร จำนวน ๒๔๐ คนๆละ ๒๕ บาทจำนวน ๒ ครั้งเป็นเงิน ๑๒,๐๐๐ บาท ๒.ค่าวัสดุ / อุปกรณ์ในการเจาะเลือด ๒.๑ เข็มเจาะเลือดเกษตรกร ๓ กล่องๆละ ๑,๑๐๐ บาท เป็นเงิน ๓,๓๐๐ บาท ๒.๒ ค่า tube ใส่เลือด ๕ ขวดๆ ละ ๑๐๐ บาท เป็นเงิน ๕๐๐ บาท ๒.๓ ค่ากระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส จำนวน ๕ ขวดๆ ละ ๘๐๐ บาท เป็นเงิน ๔,๐๐๐ บาท ๒.๔ ค่าแอลกอฮอล์ ๗๐ % จำนวน ๔ ขวดๆ ละ ๕๐ บาทเป็นเงิน ๒๐๐บาท ๒.๕ ค่าชุดตรวจหายาฆ่าแมลงในผัก จำนวน ๑๖ ชุดๆ ๘๐๐ บาท (๑ชุดมี ๑๐ ตัวอย่าง) เป็นเงิน ๑๒,๘๐๐ ๒.๖ ค่ายาแคปซูลรางจืดจำนวน ๕๐ กล่องๆละ ๑๕๐ บาท เป็นเงิน ๗,๕๐๐ รวมเป็นเงิน ๔๐,๓๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40300.00

กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๔.๑จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน ๒ครั้ง ๔.๒จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ งบประมาณ - ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน ๓ เล่มๆละ ๒๕๐ บาท เป็นเงิน ๗๕๐ บาท รวมเป็นเงิน ๗๕๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 61,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. เกษตรกรมีความรู้และตระหนักถึงพิษภัยจากสารเคมีตกค้างและนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
๒.เกษตรกรในชุมชนได้รับการตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด
๓.เกษตรกลุ่มที่ผลเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยสมุนไพร
๔.เกิดแหล่งผลิต แหล่งจำหน่ายอาหารปลอดภัยในชุมชนอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม


>