กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรปลอดภัย : ทางเลือก ทางรอด ผู้ผลิตและผู้บริโภค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

งานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองคอหงส์

นายรวี ไกรมุ่ย ตำแหน่ง นักวิชาการเกษตรชำนาญการ

ตำบลคอหงส์ อำเภิหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของชุมชนมีความรู้เรื่องสารปนเปื้อนในอาหาร

 

10.00

พืชผักเป็นพืชอาหารที่นิยมนำมาใช้รับประทานกันมากเนื่องจากมีคุณค่าทางอาหาร ทั้งวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูง แต่ค่านิยมในการบริโภคผักนั้น มักจะเลือกบริโภคผักที่สวยงามไม่มีร่องรอยการทำลายของหนอนและแมลงศัตรูพืช จึงทำให้เกษตรกรที่ปลูกผัก จะต้องใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงฉีดพ่นในปริมาณที่มาก เพื่อให้ได้ผักที่สวยงามตามความต้องการของตลาด เมื่อผู้ซื้อนำมาบริโภคแล้วอาจได้รับอันตรายจากสารพิษที่ตกค้างอยู่ในพืชผักนั้นได้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว เกษตรกรจึงควรหันมา ทำการปลูกผักปลอกภัยจากสารพิษ โดยนำเอา วิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชหลายวิธีมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เป็นการทดแทนหรือลดปริมาณการใช้สารเคมีให้น้อยลง เพื่อความปลอดภัยของเกษตรกร ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม

เทศบาลเมืองคอหงส์เปิดพื้นที่สร้างตลาดชุมชน ส่งเสริมให้มีตลาดเกษตรปลอดภัย เพื่อให้มีตลาดที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรนำพืช ผัก ผลไม้ และผลผลิตทางการเกษตรที่ตนเองปลูกมาขายให้ผู้บริโภคโดยตรง เสนอขายผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและความปลอดภัย เกิดการแลกเปลี่ยนพุดคุยระหว่างเกษตรกรผู้ผลิต และผู้บริโภค สร้างความมั่นใจด้านตลาดให้เกษตรกร และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคถึงแหล่งที่มาของสินค้า ภายใต้แนวคิด "ให้พืช ผัก ผลไม้ปลูกที่ไหน ได้รับประทานที่นั่น" เกิดเป็นตลาดชุมชนจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ หลาดชุมชนเมืองคอหงส์ บริเวณพื้นที่ริมคลอง ร.6 (แยกซอยร่วมธรรม) และหลาดสายเตราะบ้านในไร่ พื้นที่ชุมชนบ้านในไร่ ซอย 13 ถนนปุณณกัณฑ์ มีเกษตรกรที่ผลิตพืซอาหารในพื้นที่เข้าร่วมจำหน่ายสินค้าในตลาดชุมชน จำนวนทั้งสิ้น 40 ร้านค้า ดังนั้น การยกระดับคุณภาพ มาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อเข้าร่วมจำหน่ายสินค้าในตลาดชุมชน จำนวนทั้งสิ้นสร้างความสามารถในการแข่งขัน ผลักดันให้ภาคการเกษตรสามารถสร้างมูลค่าด้วยตัวสินค้าเอง โดยการพัฒนาสินค้าเกษตรความเป็นอัตลักษณ์ ส่งเสริมและพัฒนาผลผลิตให้มีความปลอดภัยทั้งกระบวนการผลิต และผลผลิต พร้มีตกค้างในผลผลิตการเกษตร ซึ่งเป็นการคัดกรองคุณภาพความปลอดภัยของผลผลิต เพื่อให้กับผู้บริโภค และเป็นการทวนสอบกระบวนการผลิต เพื่อสร้างความตระหนักให้กับเกษตรกรในการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องเพื่อให้ได้ ผลผลิตที่มีความปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมให้ความรู้ เรื่อง การผลิตผักปลอดภัย ให้แก่กลุ่มเกษตรกรที่ผลิตพืชอาหารมาจำหน่ายในตลาดเกษตรปลอดภัย

ร้อยละ 50 ของผู้เข้าร่วมโครงการฯมีความรู้เรื่องสารปนเปื้อนในอาหารเพิ่มขึ้น

0.00
2 เพื่อช่วยลดปัญหาการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลง

ร้อยละ 50 ของครัวเรือน มีการนำองค์ความรู้ไปปฏิบัติในพื้นที่ทำการเกษตรของตัวเอง สามารถผลิตพืชผักปลอดภัย สร้างการบริโภคที่ปลอดภัย และมีสุขภาพที่ดีเพิ่มขึ้น

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการผลิตพืชอาหารปลอดภัย และมีการแบ่งปันองค์ความรู้ระหว่างประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์

ประชาชนที่มาใช้บริการตลาดเกษตรปลอดภัยมีความพึงพอใจในระดับดีมากไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 15/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่องการผลิตพืชอาหารปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่องการผลิตพืชอาหารปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่องการผลิตพืชอาหารปลอดภัย โดย คณะวิทยากร ที่มีความรู้และมีประสบการณ์

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 35 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
2. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 2.4 x 4.5 เมตร x 180 บาท เป็นเงิน 1,944 บาท
3. ค่าวัสดุ-อุปกรณ์สาธิต จำนวน 2 ชุด x 5,000 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
4. ค่าเอกสารใบความรู้ จำนวน 100 ชุด x 50 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
5. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24044.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจสอบสารพิษตกค้างในผัก-ผลไม้ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจสอบสารพิษตกค้างในผัก-ผลไม้ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ดำเนินการตรวจการปนเปื้อนของสารเคมีที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าชุดตรวจสิบสารพิษตกค้างในผัก-ผลไม้ จำนวน 40 ชุด x 1,200 บาท เป็นเงิน 48,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
48000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมมอบป้ายรับรองร้านผักคุณภาพปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมมอบป้ายรับรองร้านผักคุณภาพปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • มอบป้ายรับรองร้านผักคุณภาพปลอดภัย เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของตลาดและผู้จำหน่ายผักคุณภาพปลอดภัย

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าป้ายรับรองร้านค้าผักคุณภาพปลอดภัย จำนวน 40 ป้าย x 100 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 76,044.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกษตรผู้จำหน่ายพืชอาหารที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำองค์ความรู้ไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง เกิดผลผลิตทางการเกษตรที่มีความปลอดภัยทั้งกระบวนการผลิต และผลผลิต ยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร
2. ประชาชนสามารถผลิตพืชอาหารปลอดภัยที่ส่งผลให้สุขภาพดี ช่วยลดความเจ็บป่วยที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนจากสารตกค้างที่ใช้ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
3. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของตลาดชุมชน และผู้จำหน่ายผักคุณภาพปลอดภัย สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค


>