กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยในโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปี 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยในโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาโลย

1.น.ส.ไซนุงสาเมาะ
2.น.ส.นาซีล๊ะดาโอะ
3.นางนูรฮายาตีมาหม๊ะ
4.น.ส.ปือเสาะสือแม็ง
5.นายสมานวาโยะ

ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบาโลย ตำบลบาโลยอำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยที่ไม่สมารถควบคุมได้ เช่นกรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น ความอ้วน , ความเครียด , ขาดการออกกำลังกาย , การบริโภคอาหารไม่ถูกส่วน การดื่มสุรา สูบบุหรี่ ถ้าหากประชาชนไม่มีการควบคุมปัจจัยดังกล่าว ร่วมกับการมีอายุที่มากขึ้น คือ ๓๕ ปีขึ้นไป ย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงได้ซึ่งเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวแล้วจำเป็น ต้องรับประทานยาตลอดชีวิต หรือถ้าหากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น จากผลการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโลย ในปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ซึ่งจะเห็นว่ากลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในประชากร อายุ ๓๕ ปีขึ้นไป มีจำนวนค่อนข้างมากและเป็นปัญหาสำคัญในขณะนี้ ดังนั้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ รวมทั้ง สามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชน เพื่อป้องกัน โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโลย จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง ขึ้น เพื่อลดอัตราป่วยโรค เบาหวานและความดันโลหิตสูง ในกลุ่มประชากรอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและสามารถพึ่งพาตนเองได้

 

0.00
2 เพื่อสร้างแกนนำในการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในชุมชน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 45
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มแกนนำ ที่เป็น อสม. ตำบลบาโลย 25

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้แกนนำ กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 100 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้แกนนำ กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆ ละ 60 บาทเป็นเงิน6,000บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ30 บาท เป็นเงิน6,000บาท
  3. ค่าป้ายโครงการฯ (ไวนิล) ขนาด 1x3 เมตร เป็นเงิน 750บาท
  4. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน ๆละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน3,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16350.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน โดย อสม. 25 คน และตัวแทนกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง 15 คน รวม 40 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน โดย อสม. 25 คน และตัวแทนกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง 15 คน รวม 40 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 2,400บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆ ละ 2 ครั้งๆคนละ 30 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยในโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรค สามารถประเมินและแก้ไขภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้
2 แกนนำประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยในโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีการขยายผลแก่สมาชิกกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
3 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลตนเอง
4 อัตราการตรวจพบโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงของประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไปลดลง


>