กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม.อบต.ตุยง

ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

7,104.00

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย มักระบาดในช่วงหน้าฝนโดยมีพาหะของโรคคือยุงลาย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กวัยเรียนช่วงอายุ 10 - 14 ปี บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ พื้นที่ตำบลตุยงเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง จำนวน 8 หมู่บ้าน จากข้อมูล 3 ปีย้อนหลังพบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกดังนี้ คือ พ.ศ.2564 จำนวน 6 ราย และ พ.ศ.2565 จำนวน 4 คน และปี 2566 จำนวน 7 ราย ปัจจุบันได้เกิดโรคระบาดรุนแรงยิ่งขึ้น ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลตุยงได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกจึงต้องมีการกระตุ้นให้ชุมชน โรงเรียนได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคด้วยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและกำจัดลูกน้ำยุงลายเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนตระหนักถึงอันตรายของยุงลายและโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ 100 ของชุมชน ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักถึงอันตรายของยุงลายและโรคไข้เลือดออก

8.00 8.00
2 เพื่อลดอัตราการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

อัตราการการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลงจากปีที่ผ่านมาหรือเท่ากับศูนย์

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 7,014
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเครือข่ายสุขภาพ (ชี้แจงแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออก การจัดการขยะในครัวเรือน การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมของครัวเรือนและชุมชน)    งบประมาณ
    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน x 35 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
  2. เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานและสามารถนำไปเผยแพร่ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ต่อไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1400.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและชุมชน

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ประชาสัมพันธ์รณรงค์โรคไข้เลือดออก    งบประมาณ
   - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 160 คน x 35 บาท  เป็นเงิน 5,600 บาท    - ไวนิลประชาสัมพันธ์เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก(ขนาด 120 x 240 cm) จำนวน 1 ผืน  เป็นเงิน   720 บาท
   - โฟมบอร์ดพร้อมไม้ รณรงค์เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก ขนาด A3 จำนวน 12 อันๆละ 150 บาท  เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เครือข่ายสุขภาพพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมในการรณรงค์
  2. สิ่งแวดล้อมครัวเรือน ชุมชน ดีขึ้น ไม่มีแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8120.00

กิจกรรมที่ 3 กำจัดยุงตัวอันตราย

ชื่อกิจกรรม
กำจัดยุงตัวอันตราย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมพ่นหมอกควัน พ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวแก่ ในศาสนสถาน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และชุมชน
   งบประมาณ    - ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ยุงลายถูกกำจัด พาหะนำโรคในพื้นที่น้อยลงหรือไม่มี
  2. ลดอัตราการระบาดของโรคไข้เลือดออก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1200.00

กิจกรรมที่ 4 ประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินผลโครงการ (รับรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกจากศูนย์ระบาดอำเภอหนองจิกดำเนินการควบคุมป้องกันโรค สรุปโครงการ)     งบประมาณ
    - ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เกิดการปฏิบัติงานที่เป็นทีม เครือข่ายในพื้นที่ มีการแจ้งรายงานผู้ป่วยจากศูนย์ระบาด บูรณาการร่วมในการสอบสวนโรค และการควบคุมโรค อย่างเป็นระบบร่วมกันระหว่างสาธารณสุขและท้องถิ่น
  2. มีรายงานสรุปเป็นรูปเล่มรายงานคณะกรรมการกองทุนฯ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,720.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ
1. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการและหน้าที่รับผิดชอบ
2. ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. ประชุมชี้แจงแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออกและการจัดการขยะในครัวเรือน และการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ชุมชน
4. จัดเตรียมสื่อประชาสัมพันธ์การเฝ้าระวัง ควบคุมโรคไข้เลือดออก การจัดการขยะที่เป็นแหล่งเพาะพันธ์พาหะนำโรค
5. พ่นหมอกควันหรือกำจัดยุงลายกรณีมีผู้ป่วยเกิดขึ้นในพื้นที่เพื่อควบคุมโรค
6. ประเมินผลการดำเนินงานและ สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถลดอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนและนักเรียนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตุยง
2. ชุมชนและโรงเรียน ร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาและควบคุมโรคไข้เลือดออก
3. ผู้นำชุมชน/ประชาชน/นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องไข้เลือดออกตลอดจนตระหนักถึงภัยไข้เลือดออก
4. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนเพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชนและโรงเรียน
5. ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ


>