กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ศูนย์ตาดีกาบางปลาหมอ ปี 67

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมตาดีกาหมู่ที่ 8บ้านบางปลาหมอ

1. นายสะอารี มะตีเยาะ (086-9609134)
2. นายดือราซ ยุนุ (088-3461726)
3. นางสาวซีตีคอรีเยาะ มูฮิ (098-7397661)
4. น.ส.นูรียะห์โต๊ะหัด (061-3417073)
5. นางเสาเดาะ ตาเละ (080-1371806)

ศูนย์ตาดีกา หมู่ที่ 8 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

100.00

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในระดับชุมชนและประเทศ เนื่องจากความรุนแรงของอัตราการตายและการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อ ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ ดังนั้นการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมป้องกันเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคดังนี้
เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก และเพื่อรณรงค์สร้างการรับรู้ให้เยาวชน นักเรียน เกิดความตระหนักในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ศูนย์ตาดีกา และชุมชน ทางรมรมตาดีกา หมู่ที่ 8 บ้านบางปลาหมอ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันละควบคุมไข้เลือดออกในศูนย์ตาดีกา ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์สร้างการรับรู้ให้นักเรียนมีความตระหนักในการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

ร้อยละร้อยของนักเรียนมีความรู้ในการเฝ้าระวัง ควบคุมโรคไข้เลือดออก

60.00 60.00
2 เพื่อให้นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีส่วนร่วมในการทำลายเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

ร้อยละร้อยของนักเรียนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีส่วนร่วมในการทำลายเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

60.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน - ประชุมผู้ปกครอง เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่เพื่อชี้แจงโครงการ งบประมาณ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x 35 บาท เป็นเงิน2,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เครือข่ายสุขภาพมีความเข้าใจในการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
  • ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหา
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2100.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ เรื่อง “การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก”แก่นักเรียนจำนวน 60 คน เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ ทัศนคติ และนำไปสู่การปฏิบัติ นำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้แก่บุคคลรอบข้าง ผู้ปกครองต่อยอดต่อไป เพื่อให้ชุมชนได้มีความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการปรับภูมิทัศน์ สิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกบริเวณบ้านให้น่าอยู่ ไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธ์ของพาหะนำโรคไข้เลือดออก งบประมาณ
   - ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่่ม จำนวน 60 คน x 60 บาท   เป็นเงิน 3,600 บาท    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x 35 บาท x 2 มื้อ   เป็นเงิน  4,200 บาท    - ค่าวิทยากรจำนวน  4 ชม. x 600 บาท  เป็นเงิน  2,400 บาท
   - ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ 1 ผืน   เป็นเงิน   720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ที่ดีขึ้น
  2. กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ให้แก่คนรอบข้าง เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง และเพื่อน ได้
  3. ชุมชนมีความตระหนักเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10920.00

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมจิตอาสาสร้างสุขภาพรณรงค์/เฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ งบประมาณ - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ และอื่นๆ(วัสดุเครื่องเขียน กระดาษแข็ง สี สื่อไวนิล ป้ายรณรงค์ ฯลฯ)เป็นเงิน 3,980 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ชุมชนมีความตระหนักและร่วมกันป้องกันโรคไข้เลือดออก
  2. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกน้อยลงหรือเท่ากับศูนย์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3980.00

กิจกรรมที่ 4 ประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินกิจกรรมต่างๆในแต่ละกิจกรรม สรุปผลการดำเนินงาน จัดทำรูปเล่มรายงานส่งคณะกรรมการกองทุนฯ    งบประมาณ        - ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีรายงานสรุปเป็นรูปเล่มรายงานผลการดำเนินงานตั้งแต่ต้นจนจบ ส่งคณะกรรมการกองทุนฯ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,000.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ
1. ประชุมผู้ปกครอง เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่
2. อบรมให้ความรู้ เรื่อง “การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก”
3. ส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสา รณรงค์การเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก
4. สรุปและประเมินผลโครงการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความตระหนักในการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
2. นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีส่วนร่วมในการทำลายเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
3. นักเรียนและประชาชน สามารถนำความรู้ในการเฝ้าระวัง ควบคุมโรคไข้เลือดออกได้
4. ลดการแพร่ระบาดของโรค
5. สิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านและชุมชนดีขึ้น ชุมชนน่าอยู่


>