กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการเเปรงฟันในโรงเรียนสตูลศานติศึกษา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

โรงเรียนสตูลศานติศึกษา

1.นางพัณณิตา เอ็มดู ผู้ประสานงานคนที่ 1 (0942817669)
2.นางสาวอัญชนา พ่อเหตุ ผู้ประสานงานคนที่ 2 (0924849636)
3.นายอดุลย์ มะมิง
4.นางสาวมูรชีดา สาหลัง
5.นางสาวยุมอะ มันตุเตะ

โรงเรียนสตูลศานติศึกษา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคฟันผุเป็นปัญหาที่เด่นชัดในกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยและกำลังพัฒนา เมื่อไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที โรคจะลุกลามและสูญเสียฟันในที่สุด ส่งผลต่อพัฒนาการ สุขภาพ การสบฟัน และการเรียน ประเทศไทยเฉลี่ยเด็กอายุ ๑๒ ปี และ ๑๕ ปี ปวดฟันจนขาดเรียน ในขณะที่วัยผู้ใหญ่มีปัญหาเรื่องฟันผุและ
ปริทันต์อักเสบ รวมทั้งความเสื่อมถอยจากการมีอายุยืน เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและการงานอาชีพ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงวัยแม้จะมีระบบประกันสุขภาพภาครัฐ แต่ยังมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเข้าถึงบริการทั้งจากการจัดบริการและด้านประชาชน นอกจากนี้ในทัศนะของสังคมไทยรวมทั้งทันตบุคลากรและบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ค่าบริการรักษาโรคในช่องปากและการฟื้นฟูสภาพยังมีราคาแพง เป็นอุปสรรคสำหรับการใช้บริการภาคเอกชนเมื่อภาครัฐไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้
ด้วยความเจริญทางด้านเทคโนโลยีความทันสมัยทำให้ผู้เรียนในยุคนี้เป็นผู้เรียนที่ติดกับการบริโภคนิยมทั้งทางด้านวัตถุ สิ่งของ อาหารผู้เรียนส่วนมากมักบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์เช่นขนมขบเคี้ยว ทอฟฟี่ ช็อคโกแลต ขนมหวานต่าง ๆ การที่ผู้เรียนทานอาหารเหล่านี้เข้าไปจะทำให้ผู้เรียนมีปัญหาเรื่องฟันผุ ซึ่งปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับเด็กช่วงประถมเป็นส่วนมาก การที่จะปลูกฝังให้ผู้เรียนรักการแปรงฟันนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น สิ่งที่จะช่วยให้ปัญหาฟันผุลดน้อยลง การที่เด็กจะปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอนั้นต้องมีแรงจูงใจ หรือการกระทำร่วมกันเป็นกลุ่ม
จากการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนในโรงเรียนสตูลศานติศึกษาพบว่านักเรียนมีฟันเเท้ผุจำนวน 85 คนคิดเป็นร้อยละ 10.76 เหงือกอักเสบจำนวน 53 คน คิดเป็นร้อยละ6.71

ดังนั้นทางโรงเรียนได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาโรคฟันผุจึงได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมการเเปรงฟัน ” ขึ้นใน โรงเรียนสตูลศานติศึกษา โดยเริ่มจากกลุ่มอนุบาลตลอดจนประถมศึกษา การทำให้ผู้เรียนรักการแปรงฟันได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆจะเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักดูแลสุขภาพของตัวเองเพื่อเป็นการลดปัญหาสุขภาพในช่องปากของผู้เรียนให้มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น และเป็นการส่งเสริมสุขภาพช่องปากของผู้เรียนให้เหมาะสมถูกต้องตามวัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพฟันที่ดีและลดปัญหาการเกิดโรคฟันผุ
  1. ร้อยละ 80 นักเรียนมีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพฟันเพิ่มขึ้น
  2. ร้อยละ 80 นักเรียนมีสุขภาพฟันที่ดีเเละฟันไม่ผุ
10.76 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1,071
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจง สร้างเเกนนำ อสม.น้อย

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจง สร้างเเกนนำ อสม.น้อย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สร้างนักเรียนชั้นป.5 เป็น อสม.น้อยในโรงเรียน เพื่อควบคุมดูแลการแปรงฟันและอื่นเกี่ยวกับสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียน (คัดเลือกมาเป็นเเกนนำ อสม.น้อย)
  2. ประชุม ชี้แจงแบ่งหน้าที่ ให้แก่คณะทำงาน อสม.น้อย

กลุ่มเป้าหมาย
- นักเรียนชั้นป.5 จำนวน136 คน

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจสุขภาพฟัน

ชื่อกิจกรรม
สำรวจสุขภาพฟัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สำรวจสุขภาพฟันนักเรียนเบื้องต้น โดยอสม.น้อยและคุณครู
  2. แบบบันทึกการตรวจสุขภาพฟัน
  3. สำรวจสุขภาพฟันที่มีปัญหา จากทีมผู้เชี่ยวชาญจาก โรงพยาบาลละงู

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียน ทั้งหมด จำนวน 1071 คน จำนวน 27 ห้องเรียน

งบประมาณ

  • เเบบบันทึกการเเปรงฟัน จำนวน 27 เล่ม เล่มละ 30 บาท เป็นเงิน 810 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
810.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้นักเรียนเรื่องสุขภาพในช่องปาก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้นักเรียนเรื่องสุขภาพในช่องปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1- 6 เรื่องสุขภาพช่องปากในวัยเรียน

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียน ชั้น ป.1 - ป.6 จำนวน 790 คน

งบประมาณ

  • ค่าวิทยากร 1 คน x 600 บาท x 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารว่างจำนวน 790 คน x 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 19,750 บาท
  • ค่าไวนิลขนาด 2.0 ม. x 3.0 ม. x 250 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าเอกสารประกอบการอบรม 790 ชุด x 15 บาทเป็นเงิน 11,850 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 34,900 บาท

กำหนดการ

12.00 – 13.00น. ลงทะเบียน/เปิดโครงการ และทำแบบทดสอบ

13.00 – 14.00น. ให้ความรู้เรื่องโรคที่พบบ่อยในช่องปาก ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก

14.00 -16.00 น. ฝึกทักษะการแปรงฟัน และการใช้อุปกรณ์ดูแลช่องปาก

16.00 - 16.30 น. การตรวจสุขภาพช่องปาก หมายเหตุ 14.30 - 14.45 รับประทานอาหารว่าง

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34900.00

กิจกรรมที่ 4 ฝึกทักษะการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตามช่วงวัย

ชื่อกิจกรรม
ฝึกทักษะการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตามช่วงวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ฝึกทักษะการแปรงฟันโดยการสาธิตการแปรงฟัน โดย อสม.น้อยและคณะครูผู้ดูแล
  2. นักเรียนทุกชั้นเเปรงฟันหลังรับประทานอาหารเที่ยงทุกคน โดยมีเเกนนำ อสม.น้อยควบคุมดูเเล จดบันทึกการเเปรงฟันในทุกวัน

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนทั้งหมด 1071 คน

งบประมาณ

ค่าอุปกรณ์สำหรับฝึกทักษะการแปรงฟัน

  • ค่ายาสีฟันหลอดใหญ่ ห้องละ1หลอด จำนวน 40 ห้อง x 50 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,000 บาท

  • โมเดลเเปรงใหญ่ , ชุดฟันปลอมใหญ่ 1 ชุด รวมเป็นเงิน 1,700 บาท

  • เเบบบันทึกการเเปรงฟัน (กระดาษ 2 รีม 2x 150=300 บาท) รวมเป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 5 ส่งรักษาต่อโรงพยาบาล

ชื่อกิจกรรม
ส่งรักษาต่อโรงพยาบาล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • สำรวจสุขภาพช่องปากประจำเดือน ทุกๆ 1 เดือนเป็นเวลา 3 เดือนหลังจากการทำกิจกรรม ตรวจสรุปบันทึกการแปรงฟันโดย อสม.น้อย

  • กรณีที่มีฟันกรามเเท้ผุ ต้องส่งต่อโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียน จำนวน 1071 คนคนที่ฟันมีปัญหา

งบประมาณ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 ประเมินผลและถอดบทเรียนจากกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลและถอดบทเรียนจากกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินผลและ ถอดบทเรียน ร่วมกันโดยใช้แบบบันทึกการแปรงฟันมาถอดบทเรียน สรุปหาข้อปัญหา วิธีแก้ไขและดำเนินการต่อไป หลังจากจบสิ้นโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย
- นักเรียน แกนนำอสม.น้อย จำนวน 136 คน
- คูณครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 5 คน

งบประมาณ

  • กระดาษบรู๊ฟ จำนวน 50 แผ่น คิดเป็นเงิน 300 บาท

  • ปากกาเมจิก จำนวน 2 แพ็ค แพ็คละ 120 บาท คิดเป็นเงิน 240 บาท

วัน/เวลารายการผู้รับผิดชอบ วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 1 ของเดือน คัดเลือกแกนนำ อสม. น้อย นางพัณณิตา เอ็มดู นางสาวอัญชนา พ่อเหตุ วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือน อบรมให้ความรู้แกนนำ อสม.น้อย+แจกแบบบันทึกการแปรงฟัน นางพัณณิตา เอ็มดู นางสาวอัญชนา พ่อเหตุ วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ให้แกนนำ อสม.น้อย ออกมารายงานผล นางพัณณิตา เอ็มดู นางสาวอัญชนา พ่อเหตุ

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
540.00

กิจกรรมที่ 7 รายงานผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

รายละเอียดกิจกรรม

  • จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

  • จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,250.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพฟันที่ดี
2. เพื่อลดปัญหาการเกิดโรคฟันผุ


>